ทำไมพระพุทธเจ้าจึงเป็น CEO


เดินทางสายการตามหลักพุทธศาสนา และทำหน้าที่ที่เราต้องสวมหมวกหลายใบให้สมดุล ตลอดจนอย่ามองข้ามการบริหารจิต เพราะจะช่วยให้เรามีสมาธิและปัญญากับการจัดการในทุกสิ่ง

บันทึกการเรียนรู้
Topic 13:Lord Buddha as an excellent CEO for 26 centuries


แบ่งบันความรู้ โดย..ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบรูณ์  หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน มข.
เก็บออมความรู้โดย..เกศรา  แสนศิริทวีสุข                 นักศึกษา มข.สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน 2.1


      เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาผู้เขียนได้รับจดหมายทางอีเล็กโทรนิดที่ส่งต่อมาให้ที่ไม่ได้บอกแหล่งอ้างอิง เรื่องเหตุการณ์รอบตัวบ่อยครั้งที่ทำให้นึกน้อยใจในโชคชะตา  เพราะมันมักเลวร้ายกว่าที่ควร เช่น ขับรถมาเป็นสิบปีไม่เคยชนอะไร แต่พอถูกขอร้องให้ถอยรถเพื่อนออกจากซอยไม่ถึง 30 เมตร กลับชนเสาไฟฟ้าโครมใหญ่  หรือการเผอเรอลืม Notebook (ไม่ใช่สมุดจดบันทึก แต่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์) ไว้ที่โรงอาหารแห่งหนึ่งไม่ถึง 5 นาทีแล้วหาย(ทุกข์อันหลังนี้เกิดกับผู้เขียนเอง)  เหตุการณ์เลวร้ายเหมือนสวรรค์แกล้งนี้    มีโอกาสเกิดได้กับทุกคน จนมีผู้ตั้งเป็นกฎไว้ เรียกว่า กฎของเมอร์ฟี่ ความว่า ถ้ามันเคยผิดพลาด มันก็จะผิดซ้ำอีก นอกจากนี้ ยังมีกฎอื่นๆ ที่อีกมากมาย เช่น กฎความเป็นไปได้ เช่น ขนมปังทาเนยที่พลัดตกพื้น จะเอาหน้าด้านที่มีเนยคว่ำลงเสมอ และโอกาสที่เนยตกเปื้อนพรม จะมีมากขึ้นเป็นสัดส่วนกับราคาของพรม กฎของเมธี เลขเด็ดที่เราไม่ซื้อ คือเลขที่จะออกงวดนั้น และหวยที่เราซื้อมักใกล้เคียงกับหวยที่ออก หากได้บวกลบคูณหารด้วยเลขอะไรสักตัว หรือกลับหน้ากลับหลัง แต่ถ้าเราซื้อเลขกลับ มันจะออกเลขตรง และถ้าเราซื้อทั้งสองแบบมันจะไม่ออกเลยเลยต้องรอลุ้นต่องวดต่อไป อย่างนี้ไม่รู้ว่าเป็นสุข หรือทุกข์ อาจจะสุขตอนลุ้นแล้วถูก แต่เป็นทุกข์เมื่อถูกเจ้ามือกิน ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสหลังมากกว่า    แล้วถ้าเจอทุกข์เยอะๆ หรือทางตันของชีวิต คนเราจะหาทางออกอย่างไร แล้วจะหันไปพึ่งใคร..ที่พึ่งทางใจที่เป็นทางเลือกหนึ่งของคนทั่วไปคือ การไปวัด เพื่อพึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  จนอาจกล่าวได้ว่า คนเรา(อาจจะไม่รวมถึงคนแก่) จะนึกถึงวัดเมื่อมีทุกข์มากกว่าเมื่อมีสุข  ซึ่งท่านอาจารย์ ปัตพงษ์      เกษสมบูรณ์ ได้ตั้งประเด็นคำถามหนึ่งที่น่าสนใจว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงเป็น CEO และครองใจคนได้มาจนถึง พุทธศักราชปัจจุบัน คำตอบที่ท่านอาจารย์นำมาแลกเปลี่ยน คือ น่าจะอยู่ที่ตัวสินค้าของพระพุทธเจ้า ที่เป็นองค์ความรู้ วิธีคิด ไม่ใช่ Material ซึ่งสินค้าพระพุทธเจ้าคือ สังสารวัฏ อริยสัจ 4 อนัตตา นิพพาน รูปและนาม โดยศาสนาพุทธสอนให้เรารับรู้ถึงการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เป็นสิ่งที่หลีกไม่พ้น คำตอบจากคำสอน รับได้ และช่วยคลายทุกข์ได้ เหมาะกับความต้องการของคนเรา  แล้วคุณหละคะได้นำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้กับชีวิตและการทำงานอย่างไรบ้าง   สุดท้ายมีข้อคิดมาฝากสำหรับคนทำงานและคนที่เรียนหนัก เหนื่อยนักก็พักบ้างนะคะ
                       หากเรา...จากไปในวันพรุ่งนี้ อีกไม่กี่วันองค์กรก็ต้องหาคนใหม่มาทำแทนได้ แต่ครอบครัวที่อยู่ข้างหลังอาจโศกเศร้าไปชั่วชีวิต ลองคิดดูว่าคุ้มไหม    หากเราจะทุ่มเทตัวเองให้กับสิ่งอื่นจนลืมนึกถึงครอบครัวที่จะอยู่กับเราอย่างไม่มีวันเกษียณ  คำว่า FAMILY  = Father And Mother I Love You   ให้เวลากับพ่อ-แม่ของคุณมากขึ้นยามท่านแก่ตัวลง รู้จักแบ่งเวลาให้กับงานและคนที่บ้านให้สมดุลกัน หากมีใครมาบอกให้จัดความสำคัญเสียใหม่ จงย้อนถามกลับไปว่าครอบครัวสำคัญน้อยกว่าหรือไร? ควรเดินทางสายการตามหลักพุทธศาสนา และทำหน้าที่ที่เราต้องสวมหมวกหลายใบให้สมดุล ตลอดจนอย่ามองข้ามการบริหารจิต เพราะจะช่วยให้เรามีสมาธิและปัญญากับการจัดการในทุกสิ่ง 
                                                                                      สำหรับคนทำงานทุกคน

หมายเลขบันทึก: 293381เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้ามีความสมดุลในชีวิตจิตก็จะสุขได้ด้วยใจไม่ต้องซื้อหา เป็นกำลังใจให้กันและกัน

ตามมาอ่านเห็นหัวข้อน่าสนใจดี

ขยันบันทึกจริงๆพี่ เอแล้วทำไมพระพุทธเจ้าเกิดมาแล้วเดินได้7 ก้าวหละครับ

หวังว่าพี่คงช่วยคลี่คลายปัญญาให้ผมได้ อย่างไงให้พี่เข้าไปตอบที่ web srrt.inf ก็ได้เห็นหายเงียบไปไม่ได้เข้าไปเยี่ยม webเลยเรียนหนักหรือครับแต่เห็นพี่กลับบ้านทุกอาทิตย์เลยอย่างไงก้เป็นกำลังใจพี่ให้เสมอ

จากน้องบาทเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท