แปลบทที่ 8การกำหนดโครงสร้างคณะทำงานเพื่อความสำเร็จ(ต่อ2)


แปลบทที่ 8การกำหนดโครงสร้างคณะทำงานเพื่อความสำเร็จ(ต่อ2)

สถานะที่แตกต่างกันของสมาชิก  ( Different  Status  of  Member )

                คุณลักษณะหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดผลผลิต  (productivity)  ของกลุ่มและความพึงพอใจของสมาชิกแต่ละคนก็คือ  สถานะหรือตำแหน่งที่แตกต่างของบรรดาสมาชิก  ถ้าหากทีมงานยึดที่ตั้งสะท้อนรูปแบบการปกครองแบบลำดับขั้นภายในองค์กร  (hierarchy)  ตามบทบาทปกติ  คณะทำงานก็คล้ายจะเป็นลำดับขั้นหรือสายงานการบังคับบัญชาจากบนลงล่างแบบดั้งเดิมในองค์กร  ทีมงานก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามแบบแผนเก่า ๆ  และถูกครอบงำโดยบุคคลที่มีสถานะหรือตำแหน่งที่เป็นทางการสูงสุดในกลุ่ม   เหตุการณ์เหล่านี้ขัดขวางความสามารถในการบริหารจัดการแบบยึดที่ตั้งเป็นฐาน  จึงควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการการตัดสินใจทั้งเขตพื้นที่การศึกษาและในแต่ละโรงเรียน  นี่คือวิธีการที่ต้องทำให้ปรากฏ  :

                ประการแรก    ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาอยู่  เหนือ  ครูและสมาชิกคณะทำงาน  และยิ่งผู้บริหารฯ  มีความประสงค์ที่จะควบคุมกลุ่ม  และให้กลุ่มปรับตัวตามที่ตนเองต้องการมากเท่าใด  กลุ่มก็ยิ่งจะถูกครอบงำโดยผู้บริหารฯ มากเท่านั้น   นี่คือเหตุผลข้อหนึ่งที่อยากเสนอแนะอย่างมากในความเป็นจริงผู้บริหารสถานศึกษาไม่สมควรอย่างยิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคณะทำงาน  ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทที่สะดวกต่อการสั่งการได้มากกว่า  แต่ปราศจากความรับผิดชอบต่อการประชุมเพื่อขับเคลื่อนงาน

                ประการที่สอง  บางโรงเรียนนิยมชมชอบการบริหารจัดการแบบยึดที่ตั้งเป็นฐาน  แต่ไม่กระตือรือร้นที่จะชักชวนพ่อแม่ผู้ปกครอง  และสมาชิกชุมชนมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกทีมงาน  โดยมีความเชื่อหรือทัศนคติว่าในเรื่องเกี่ยวกับนักเรียนและโครงการการศึกษาและบริการนั้นว่า   เราเป็นผู้เชี่ยวชาญ  ด้วยเหตุนี้  บ่อยครั้งผู้ปกครองจึงรู้สึกว่าตนไม่ได้รับการคาดหวังต้องการให้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือไม่ได้รับการมองเห็นคุณค่าอย่างแท้จริง   ดังนั้นจึงจะต้องมีการให้ความใส่ใจในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครองและสมาชิกอื่น ๆ  ในชุมชนให้มากเป็นพิเศษ

                ประการที่สาม  นักเรียนดูเหมือนว่าจะมีอำนาจน้อยที่สุด  หรือถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ท้ายสุดในโรงเรียน   ด้วยเหตุนี้  จึงควรที่จะให้การฝึกอบรมทักษะการเป็นผู้นำ  ตลอดจนทักษะการแก้ปัญหา  และทักษะการคิดอย่างเป็นระบบให้นักเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นสมาชิกคณะทำงาน  และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการดำเนินการเช่นว่านี้   จะทำให้แนวคิดที่มุ่งเน้น  ผู้เรียนเป็นสำคัญ   บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

                ประการที่สี่   ในบางเขตพื้นที่การศึกษา  โรงเรียน  คณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษา

( ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ) ได้เข้าไปเป็นสมาชิกทีมงานด้วย  สิ่งนี้พึงหลีกเหลี่ยงให้มากที่สุด   เพราะบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวแตกต่างจากบทบาทของสมาชิกทีมงานยึดที่ตั้งเป็นฐานเป็นอย่างมาก  ซึ่งเน้นที่ตั้งเป็นสำคัญ  (site central)  จึงเป็นการยากที่สมาชิกกลุ่มเช่นว่าจะดำเนินงานต่าง ๆ ตามบทบาทหน้าที่สองลักษณะนั้นในเวลาเดียวกัน   และการที่คณะกรรมการอำนวยการสถานศึกษาโดยทั่วไปมีแนวโน้มที่จะยึดถือปฏิบัติตามโครงสร้างการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินการตามสายงานการบังคับบัญชาแบบจากบนสู่ล่างอย่างเคร่งครัด  ก็อาจก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจ  และความเชื่อถือในหมู่สมาชิกอื่น ๆ  ของทีมงานที่ยึดที่ตั้งเป็นสำคัญตั้งแต่แรก   ยิ่งไปกว่านั้นว่า  สวมหมวกสองใบ   ในเวลาเดียวกัน  ก็จะเป็นการยากที่จะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากแต่ละบทบาทหน้าที่ต่างก็ต้องการการทุ่มเทเวลาให้อย่างเต็มที่

                สรุปแล้วก็คือ   ในการคัดเลือกสมาชิกทีมงานยึดที่ตั้งนั้น  ผู้บริหารสถานศึกษาหรือคณะกรรมการพิเศษ  จะต้องมีการหยิบยกเอาเรื่องตำแหน่งหน้าที่ที่มีอยู่เดิมของผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มขึ้นมาพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบด้วย  เนื่องจากสถานะหรือตำแหน่งที่เป็นทางการของสมาชิกกลุ่มนั้นจะส่งอิทธิพลต่อกลุ่มในอนาคต

 

บรรทัดฐานกลุ่ม  (Group Norms)

                นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะมีการตั้งบรรทัดฐานสำหรับสมาชิกทีมงาน  ซึ่งบรรทัดฐานดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ทำให้บรรดาสมาชิกของกลุ่มรู้อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรกเข้ามาเป็นสมาชิกว่ากลุ่มมีความคาดหวังการมีส่วนร่วม  ความคาดหวังเหล่านี้ทำให้สมาชิกมีสถานะที่แตกต่าง  บุคคลหรือกลุ่ม  เขาหรือเธอที่สามารถช่วยเหลือคณะทำงาน  จะต้องระบุแนวทางโดยสังเขปว่า  สมาชิกของกลุ่มที่มีสถานะและศักยภาพแตกต่างกันไปนั้นจะทำงานร่วมกันและสร้างความสำเร็จของกลุ่มตามบทบาทหน้าที่และความรู้ความสามารถของตนได้อย่างไร  อีกอย่างหนึ่งทีมที่มีอยู่ควรปรับปรุงตามคำบอกกล่าวตั้งแต่ทีแรก

                โดยพื้นฐานแล้ว  บรรทัดฐานกลุ่มส่วนหนึ่งคือการมีส่วนร่วม  พฤติกรรมเหล่านั้นคล้ายกับว่าเป็นของผู้บริหารสถานศึกษา  นั่นคือเชื่อว่าต้องเป็นนักพัฒนา    มีอธิบายเพิ่มเติมใน Chapter 7

(  ดูในหน้า 86 )  ต้องเป็นบรรทัดฐาน พิเศษสำหรับกลุ่ม  การมีส่วนร่วมได้จากประวัติบริบทของโรงเรียนและประวัติบุคลากร  สิ่งเหล่านี้ควรระบุและบอกให้รับทราบในตอนเริ่มต้น

 

การกำหนดภารกิจ ( Work  Setting )

 

              ประเด็นเรื่องสุดท้ายที่จะต้องนำมาพิจารณาเพื่อที่จะระบุให้แน่ชัดในระหว่างการฟอร์มทีมงานสนามก็คือเรื่องระยะเวลา สถานที่ และความถี่ของการประชุมทีมงาน  ในการนี้  จะต้องมีการย้ำเตือนผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มให้มีความตระหนักถึงหน้าที่รับผิดชอบของสมาชิกทุกคนที่จะต้องเดินทางมาประชุมให้ตรงเวลาเพื่อกำหนดภารกิจในวันเวลาที่กำหนด

 

สรุป ( Summary )

                ใบงานที่28  เป็นการเตรียมการวางแผนเพื่อกำหนดโครงสร้างและสมาชิกของทีมงาน  มันจะเป็นไปได้ถ้าทำใบงานที่ 27 และ 28ให้สมบูรณ์  สำหรับการเลือกสมาชิกของทีมงานนำองค์ประกอบหรือข้อพิจารณาต่าง ๆ มาประกอบการวางแผนดังกล่าวอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  จะต้องมีการพินิจพิจารณาถึงบทบาทหน้าที่ของทีมงาน   โครงสร้างของทีมงาน  และกระบวนการคัดเลือกสมาชิก  และหากเป็นไปได้   จะต้องนำทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของการตัดสินใจกลุ่ม  มาประกอบการพิจารณาด้วย

                นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวางแผนกลุ่มในอันที่จะต้องมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ชุมชนโรงเรียนทราบอยู่เสมอ   สมาชิกของกลุ่มอาจจะได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการวางแผน   ผู้บริหารสถานศึกษา   กลุ่มหรือคณะทำงานที่มีอยู่แล้ว   หรืออาจจะได้รับการคัดเลือกจากคณะครูและองค์กรอื่น ๆ ที่อยู่ในโรงเรียน   เป็นต้นว่า  สมาคมผู้ปกครอง  ซึ่งไม่ว่าจะมีการวางแผนจัดตั้งทีมงานสนามทีมใด   ก็จะต้องมีการแจ้งวัตถุประสงค์ของทีมงานสนามและเกณฑ์การคัดเลือกสมาชิกของทีมงานนั้นให้ทราบกันโดยทั่วไปอย่างชัดเจน   เพื่อให้กระบวนการคัดเลือกเป็นกระบวนการที่เปิดกว้างและโปร่งใส  มิเช่นนั้นแล้ว  จะส่งผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อถือในทีมงานเป็นอย่างมาก

 

 ใบงานที่  28

การนิยามโครงสร้างและสมาชิกภาพของทีมงานสนาม

จงระบุถึงการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาและเหตุผลสนับสนุนสำหรับแต่ละรายการ

 

<td style="border-right: #ece9d8; padding-right: 5.4pt; border-top: #ece9d8; padding-left: 5.4pt; padding-bottom: 0in; border-left: #ece9d8; width: 1.5in; padding-top: 0in; border-bottom: windowtex

รายการ

การตัดสินใจหรือแก้ปัญหา

 

เหตุผล

ขนาดของกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความหลากหลายของกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การคัดเลือกสมาชิก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สถานะของสมาชิก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรทัดฐานของกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การกำหนดภารกิจ

 

 

หมายเลขบันทึก: 293290เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท