แปลบทที่ 8การกำหนดโครงสร้างคณะทำงานเพื่อความสำเร็จ(ต่อ)


แปลบทที่ 8การกำหนดโครงสร้างคณะทำงานเพื่อความสำเร็จ(ต่อ)

ใบงานที่  27

การกำหนดบทบาทของทีมงานสนาม

จงเติมนิยามสำหรับประเด็นเรื่องต่อไปนี้

ประเด็นเรื่องที่นิยาม

นิยามหรือคำบรรยาย

1.       วัตถุประสงค์

 

 

 

 

 

2.       อำนาจหน้าที่

 

 

 

 

 

3.       ขั้นตอนการดำเนินการ

 

 

 

 

 

4.       เกณฑ์ที่สำนักงานกลางใช้วัดประสิทธิภาพของ

 

       โรงเรียน

 

 

 

5.       ความคาดหวังที่สำนักงานกลางมีต่อการบริหาร

 

       จัดการที่ใช้ที่ตั้งเป็นฐาน

 

 

 

6.       การตัดสินใจในเรื่องงบประมาณ  คณะทำงาน

 

       กิจกรรมการเรียนการสอน

 

 

 

7.   โครงการต่าง ๆ ที่กำลังมีการดำเนินการอย่าง

 

       ต่อเนื่องทั่วทั้งเขตพื้นที่

 

 

 

8.   กลุ่มอื่น ๆ ที่ให้คำปรึกษาและตัดสินใจ

 

 

Larry J.Reynolds. Successful Site-Based Management: A Practical Guide, rev.ed. Copyright © 1997

by Corwin Press, Inc.Reprinted with permission.

ขนาดของกลุ่ม  ( Group )

 

             ขนาดของกลุ่มมีอิทธิพลหรือผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการเพิ่มจุดแข็งให้มากที่สุดและขจัดจุดอ่อนให้เหลือน้อยที่สุด  โดยทั่วไปแล้ว   ยิ่งกลุ่มมีขนาดใหญ่เท่าใดกลุ่มก็จะยิ่งมีข่าวสารข้อมูลและความรู้มากเท่านั้น   และกลุ่มใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีการสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มเล็ก ๆ อย่างไรก็ตามยิ่งกลุ่มมีขนาดใหญ่เพียงใดก็จะยิ่งไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงนั้น   ยิ่งไปกว่านั้น  ขณะที่กลุ่มมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น  ก็จะยิ่งมีแนวโน้มที่กลุ่มนั้นจะถูกครอบงำโดยคนเพียงไม่กี่คนมากขึ้นเท่านั้น

                นักการศึกษามักจะชักจูงให้ขยายขนาดของกลุ่มออกไปมากเกินความจำเป็น  การมีส่วนร่วม ( participation )  และความรู้สึกเป็นเจ้าของ ( ownership )  คือเป้าหมาย  โรงเรียนมักจะพยายามเพิ่มตัวแทนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (  stakeholder )  ในโรงเรียนมัธยมเอกชน ( public  school )  โรงเรียนตามหลักเกณฑ์แล้ว  ตัวแทนในกลุ่ม 1  คนจะเป็นคณะทำงานที่ดี  ถ้าตัวแทน 2  คนจะต้องดีถึงสองเท่า  จากวิธีคิดหาเหตุผลแบบประชาธิปไตย  สำหรับการบริหารจัดการแบบยึดที่ตั้งเป็นฐานจะลืมเสียไม่ได้

                เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องขนาดของกลุ่ม  ควรจะมีการกำหนดเป้าหมายของการบริหารจัดการโดยยึดที่ตั้งเป็นฐานให้กระจ่างชัด  เนื่องจากหน้าที่ของทีมงานนั้นเป็นศูนย์รวมแห่งความสำเร็จ  มุ่งเน้นไปที่ภารกิจการวางแผนกลยุทธ์ ( strategic )   การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)  (shared vision)   และวางแผนพัฒนาปรับเปลี่ยนโปรแกรมการเรียนการสอน   ซึ่งเราเชื่อว่ากลุ่มที่มีขนาดเล็กจะทำได้ดีกว่า  ขนาดของกลุ่มที่เหมาะสมควรจะเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกไม่เกิน 8 10 คน  การที่กลุ่มหนึ่ง ๆ จะกำหนดตัวสมาชิกโดยรวมเอาผู้บริหารฯ  คณะครู  ผู้ปกครอง  ( และนักเรียนระดับมัธยมศึกษา )  เข้ามาอยู่ในกลุ่มนั้นขนาดของกลุ่มก็จะมีจำนวนถึง  10  คนอย่างรวดเร็ว   อย่าลืมข้อสำคัญคณะทำงานสามารถขัดแย้งแสดงความคิดเห็นได้  แสวงหาผู้มีส่วนร่วมและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของสมาชิกในองค์การ  มันคือบทบาทที่แสดงออกมาของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการระดมสมองไม่ควรจำกัดสมาชิกในคณะทำงาน ( ต้องให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น )  เปิดโอกาสให้คณะกรรมการเฉพาะกิจ ( ad  hoc  committees )  มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

                เหตุผลประการที่สองในการจำกัดขนาดของกลุ่มก็คือ  จำนวนของคณะกรรมการที่มีอยู่จริงๆในทุกวันนี้เป็นครูทั้งหมด  มักจะพบว่าครูมีสิ่งจำเป็นหรือสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้วเป็นสมาชิกคณะกรรมการหลายอย่างต้องการเวลาที่เป็นส่วนตัว  ทำหน้าที่หลักคือจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่แล้ว

                เหตุผลอื่นๆสำหรับการจำกัดขนาดของกลุ่มก็คือ  การให้คำมั่นสัญญากับคณะทีมงานจะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ  เหตุผลนี้ส่งเสริมให้ครูต้องเสียเวลาหรือต้องเพิ่มเวลาให้กับคณะทำงาน  วิธีจัดการเช่นนี้เป็นข้อพิสูจน์ความถูกต้องที่สำคัญของคณะทำงาน ( เป็นผู้มีความรับผิดชอบหรือไม่ ) เมื่อพิจารณาแล้วมันเป็นบทบาทที่ถูกต้องของครู  ครูควรจะตัดเวลาสอนออกบ้างเพื่อไปเสริมความรับผิดชอบต่อคณะทำงาน ( site  team ) ครูต้องมีบทบาทความสามารถเกินกว่าคำจำกัดความของคำว่า ครู   ครูควรจะได้รับเงินชดเชยเพิ่ม  ( ทำเหมือนโค้ชทีมนักกีฬาที่เขาจะได้เงินชดเชย )  อย่างไรก็ตามขนาดของกลุ่มที่ใหญ่  จำนวนสมาชิกที่เป็นครูมากในคณะทำงานจะเป็นทางเลือกที่น้อยเป็นไปได้ยาก

                เหตุผลประการสุดท้ายสำหรับกลุ่มขนาดเล็กคือง่ายต่อการเริ่มต้นแบบช้าๆ  มันง่ายต่อการนัดประชุมและสร้างสัมพันธภาพจะเป็นไปได้โดยง่าย  จุดแข็งของการทำงานแบบยึดที่ตั้ง  ต้องพัฒนาคนทำงานสู่ความสำเร็จ

 

ความหลากหลายของกลุ่ม  ( Group  Diversity )

 

                องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการที่จะเพิ่มจุดแข็งของกลุ่มให้มากขึ้นก็คือการที่กลุ่มจะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกของกลุ่มแสดงออกซึ่งศักยภาพอันหลากหลายในเรื่องแนวความคิดความรู้  และทักษะอย่างกว้างขวาง  เนื่องจากคณะทำงานมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์   ซึ่งจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)   และโครงการการศึกษาและบริการที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน  จุดอ่อนที่หลากหลายจะได้รับทราบจากชุมชน  ผู้ปกครอง  นักเรียนและคณะครู  ช่วยกันสอดส่องดูแลความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของการบริหารจัดการแบบยึดที่ตั้งเป็นฐาน

 

 เกณฑ์การคัดเลือกสมาชิกกลุ่ม ( Criteria  for  Selecting  Members )

 

               ลักษณะเฉพาะของสถานศึกษาเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของสมาชิกภายในกลุ่ม รวมไปถึงประวัติความเป็นมา  ปัญหาอุปสรรค  ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องแต่เดิมมา  รายละเอียดกับการทำงานเป็นกลุ่ม  อิทธิพลและอำนาจทั้งเป็นกลุ่มและตัวบุคคลเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญทั้งหมด  อย่างไรก็ตามมีการรวมมาตรฐาน  3  อย่างประกอบด้วยเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ทั้ง 3 อย่างนี้คือความมั่นคงไปด้วย  เป้าหมายและบอกวิธีปฎิบัติ

                ประการแรก  สมาชิกของกลุ่มที่จะได้รับซึ่งการคัดเลือกจะต้องมีศักยภาพที่จะรับบทบาทหน้าที่ผู้นำได้   บทบาทของคณะทำงานโดยยึดที่ตั้งคือการมีภาวะผู้นำ   สันนิษฐานจากบทบาทที่ทำงานร่วมกับผู้อื่น  สมาชิกต้องมีคุณลักษณะที่แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ  นี่คือส่วนหนึ่งที่อภิปรายถึงผู้บริหารสถานศึกษา    คุณลักษณะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์  ความน่าเชื่อถือ  ความน่าไว้วางใจ และแรงบันดาลใจเป็นอย่างสูง   โดยพิจารณาจากพฤติกรรมในอดีตของเขา  บุคคลดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ผู้นำอยู่ในปัจจุบัน   เพียงแต่ขอให้เขามีบุคลิกภาพที่อาจเป็นได้  ผู้ที่เป็นสมาชิกคนอื่น ๆ ของกลุ่มเห็นว่ามีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำได้เท่านั้นก็พอ

                ประการที่สอง  ผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่อาจจะเป็นไปได้จะต้องมีความสนใจ  และความสามารถที่รับเอาจุดเน้นของโรงเรียน  เรื่องราวและข้อพิจารณาต่าง ๆ โดยภาพรวม  (big-picture view of issues and considerations)   ไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพได้   โดยที่บุคคลเช่นว่านี้จะต้องเป็นผู้ที่ มองไกล ใฝ่สูง ใจกว้าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะรับฟังความเห็นของผู้อื่น  เขาเหล่านี้คือผู้ปกครอง  คณะครูหรือนักเรียน  ไม่ได้หมายถึงให้สมาชิกมีความแตกต่างกันไม่เคยสนใจหรือไม่เคยทำมาก่อน  แต่มันหมายความว่าทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี   ด้วยเหตุนี้ผู้ที่สนใจแต่เรื่องเดียว  หรือมีจิตใจคับแคบจะต้องหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด

                ประการที่สาม  ผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่อาจจะเป็นไปได้จะต้องเป็นผู้ที่แสดงออกให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีความสนใจและความห่วงใยนักเรียนในนักเรียนทุกคน   ความสำเร็จของคณะทำงานและประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอน  การบริการของโรงเรียนโดยดูได้จากความสามารถของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จสูงสุด  มันเป็นการเลือกสมาชิกง่ายๆ  ผู้ที่ชอบนักเรียนมีความสุขที่ได้ใช้เวลาอยู่กับนักเรียน  คนเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเป็นห่วงการปฎิบัติกิจกรรมประจำวันกับนักเรียน  โดยเขาชอบพูดคุยถึงเด็กนักเรียนในเรื่องต่างๆ  มันเป็นข้อบังคับคณะทำงานต้องเห็นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง(Student centered)  ดูเหมือนจะมากกว่าผู้ใหญ่ (adult centered)      และสนับสนุน  ผู้เรียนในฐานะลูกค้า  (“student as customer”)  

 

สถานะที่แตกต่างกันของสมาชิก  ( Different  Status  of  Member )

                คุณลักษณะหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดผลผลิต  (productivity)  ของกลุ่มและความพึงพอใจของสมาชิกแต่ละคนก็คือ  สถานะหรือตำแหน่งที่แตกต่างของบรรดาสมาชิก  ถ้าหากทีมงานยึดที่ตั้งสะท้อนรูปแบบการปกครองแบบลำดับขั้นภายในองค์กร  (hierarchy)  ตามบทบาทปกติ  คณะทำงานก็คล้ายจะเป็นลำดับขั้นหรือสายงานการบังคับบัญชาจากบนลงล่างแบบดั้งเดิมในองค์กร  ทีมงานก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามแบบแผนเก่า ๆ  และถูกครอบงำโดยบุคคลที่มีสถานะหรือตำแหน่งที่เป็นทางการสูงสุดในกลุ่ม   เหตุการณ์เหล่านี้ขัดขวางความสามารถในการบริหารจัดการแบบยึดที่ตั้งเป็นฐาน  จึงควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการการตัดสินใจทั้งเขตพื้นที่การศึกษาและในแต่ละโรงเรียน  นี่คือวิธีการที่ต้องทำให้ปรากฏ  :

                ประการแรก    ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาอยู่  เหนือ  ครูและสมาชิกคณะทำงาน  และยิ่งผู้บริหารฯ  มีความประสงค์ที่จะควบคุมกลุ่ม  และให้กลุ่มปรับตัวตามที่ตนเองต้อง

หมายเลขบันทึก: 293289เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท