กรณีศึกษาไทยคร๊าฟ


ทักษะการวิเคราะห์แบบ Stow

กรณีศึกษา  “ บริษัทไทยคร๊าฟ ”

 

 

ประเด็นคำถามจากกลุ่ม

 

1.             ทำไมไม่ตั้งหัวหน้างานของแต่ละฝ่าย

2.             ทำไมไม่ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้กับพนักงาน

3.             ทำไมไม่รับพนักงานเพิ่มให้เพียงพอต่อออร์เดอร์ที่เพิ่มขึ้น

 

เนื้อหาการวิเคราะห์

1.  แนะนำบริษัทและความเป็นมาของสถานการณ์

                บริษัท ไทยคร๊าฟ จำกัด  เป็นผู้ส่งออก  ( Exporter )  โดยสินค้าที่ไทยคร๊าฟส่งออกเป็นสินค้าหัตถกรรมที่ทำจากผ้า  เช่น  ผ้าปูโต๊ะ  ผ้ารองจาน  กระเป๋าใส่เครื่องสำอาง  กระเป๋าสตรี  ชุดคลุมอาบน้ำ  หมวกคลุมผม   ถุงมือจับของร้อน ฯลฯ  ก่อตั้งโดยคุณอภิรักษ์  เมื่อปี พ.ศ. 2535  ไทยคร๊าฟไม่ได้ผลิตสินค้าด้วยตนเอง  แต่ใช้วิธีว่าจ้างโรงงานในจังหวัดภาคเหนือให้ผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อที่บริษัทได้รับจากลูกค้า  ปัจจุบันไทยคร๊าฟมีลูกค้าประจำ 5 ราย   ซึ่งแต่ละรายทำธุระกิจกับไทยคร๊าฟอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน  และความสัมพันธ์โดยรวมกับลูกค้าทุกรายเป็นไปด้วยดี  ธุรกิจของไทยคร๊าฟดำเนินไปด้วยดี  คุณภาพที่ประณีตของสินค้าและการส่งมอบที่ตรงเวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจของไทยคร๊าฟ  โชคดีที่ไทยคร๊าฟได้โรงงานที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงเป็นพันธมิตรธุรกิจ 

                เริ่มแรกไทยคร๊าฟมีพนักงาน 3 คน  ไทยคร๊าฟได้รับพนักงานเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ  บริษัทฯ ใช้วิธีรับบุคคลที่พนักงานหรือคู่ค้าแนะนำมาให้  พนักงานที่รับเข้ามาทั้งหมดเป็นนักศึษาจบใหม่ยังไม่มีประสบการณ์  คุณอภิรักษ์เป็นผู้ฝึกอบรมทักษะการทำงานให้พนักงานทุกคนด้วยความเป็นกันเอง

 

 

 

 

 

 

 

ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ไทยคร๊าฟมีพนักงานทั้งหมด 7 คน โครงสร้างขององค์กรของบริษัทฯ มีลักษณะดังนี้

                                พนักงานคนที่ 1                          พนักงานคนที่ 1                           พนักงานคนที่ 1

                                พนักงานคนที่ 2                          พนักงานคนที่ 2                           พนักงานคนที่ 2

                                พนักงานคนที่ 3

                พนักงานในฝ่ายขายยังขาดทักษะที่ดีพอในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ  จึงต้องปรึกษากรรมการผู้จัดการทุกครั้งเพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดของออร์เดอร์ก่อนที่จะนำข้อมูลไปปฏิบัติงาน  และพนักงานในฝ่ายบรรจุหีบห่อต้องช่วยฝ่ายอื่นรับเอกสารหรือติดต่อกับหน่วยงานภายนอกตามที่ได้รับการขอร้อง  พนักงานทุกคนสามารถทำงานทุกอย่างในฝ่ายของตนและช่วยทำงานของฝ่ายอื่นได้

                ฝ่ายบรรจุหีบห่อ  ฝ่ายบริหารจัดการทั่วไป  และฝ่ายขายยังไม่มีหัวหน้าฝ่าย พนักงานทุกคนอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกก. ผจก.

                ผละประกอบการทางด้านการเงินของไทยคร๊าฟดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา  ในระยะหลังลูกค้าประจำทุกรายสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น  และไทยคร๊าฟได้ลูกค้าใหม่ 2-3 ราย  เป็นผลให้ความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแต่ละรายเพิ่มขึ้น  บริษัท ฯ เริ่มมีปัญหาความล้าช้าในการสื่อสารกับลูกค้า  ลูกค้าได้รับคำตอบจากบริษัทช้าเนื่องจากกรรมการผู้จักการตอบอีเมล์ไม่ทัน  พนักงานฝ่ายขายเริ่มมีปัญหาในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กรกับลูกค้าแต่ละรายเพิ่มขึ้น  เนื่องจากต้องรอกรรมการผู้จัดการถ่ายทอดคำตอยจากลูกค้า  ต้องรอปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น  พนักงานฝ่ายขายเริ่มมีงานล้นมือเนื่องจากปริมาณออร์ที่เพิ่มขึ้น  ทำให้บางครั้งเกิดความล้าช้าในการเตรียมวัตถุดิบ  ส่วยพนักงานในฝ่ายบรรจุหีบห่อก็มีปัญหาในการทำงาน  เนื่องจากปริมาณออร์ที่เพิ่มขึ้นต้องใช้เวลาในการบรรจุสินค้าลงในกล่องและปิดผนึกเพิ่ม  จึงทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามกำหนด

 

 

 

วิสัยทัศน์ของบริษัท

                เราจะเป็นองค์กรสมัยใหม่ที่ประกอบกิจการค้าระหว่างประเทศ  โดยการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพและให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า  ความสำเร็จของกิจการจะได้มาจากการลงทุนทางด้านทรัพยากรบุคคล  ความรู้  ความยึดมั่นในบรรษัทภิบาลและความรวมมืออย่างใกล้ชิดของพันธมิตรธุรกิจ

เป้าหมายของบริษัท

                มุ่งหวังที่จะบริการลูกค้าแต่ละรายให้ดีที่สุด  เพื่อทำให้ลูกค้าเหล่านี้กลายเป็นลูกค้าประจำของตน

 

2.  การวิเคราะห์ธุรกิจ  การวิเคราะห์ด้วย SWOT      

 

1.  จุดแข็งของบริษัทประกอบด้วย

                                -  สินค้มีคุณภาพสูง

                                -  การส่งมอบสินค้าตรงต่อเวลา

                                -  มีโรงงานที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงเป็นพันธมิตรธุรกิจ

2.  จุดอ่อนของบริษัทประกอบด้วย

                                -  พนักงานฝ่ายขายยังขาดทักษะที่ดีพอในการอ่านเขียนภาษาอังกฤษ

                                -  การจัดระบบในองค์กรไม่เหมาะสม  กล่าวคือพนักงานไม่เพียงพอต่อจำนวนงาน  ขาดหัวหน้างานของแต่ละฝ่าย

                                -  ขาดบุคลากรเฉพาะด้านในการฝึกงานให้กับพนักงานใหม่

3.  โอกาสของบริษัทประกอบด้วย

                                -  ปัจจุบันสินค้า OTOP กำลังเป็นที่นิยมและมีความหลากหลาย  จึงเป็นโอกาสของทางบริษัทไทยคร๊าฟที่จะเสนอสินค้าส่งออกชนิดใหม่ ๆ  ลูกแบบที่หลากหายให้กับลูกค้ารายใหม่หรือลูกค้าที่ยังเจรจาธุรกิจไม่สำเร็จ  ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าที่หลากหลาย  เป็นผลทำให้บริษัทไทยคร้าฟมีลูกค้าเพิ่มและยอดจำหน่ายสินค้าเพิ่ม

                                สำหรับรายที่ยังไม่สามรถจำหน่ายสินค้าของไทยคร๊าฟได้  ก็จะมีทางเลือกหรือโอกาสในการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย  เป็นผลดีต่อการจำหน่ายสินค้า  และทางเลือกที่หลากหลายต่อการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า  ทำให้มีการจำหน่ายสินค้าของไทยคร๊าฟได้

-                   มีลูกค้ารายใหม่ ๆ ให้ความสนใจสินค้าของไทยคร๊าฟ  ซึ่งถือเป็นโอกาสที่บริษัท ฯ จะเพิ่ม

ลูกค้ารายใหม่ ๆ และเพิ่มยอดขาย

 

4.  อุปสรรคของบริษัทประกอบด้วย

-  สินค้า OTOP มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย  และปัจจุบันก้มีสินค้า OTOP เป็นจำนวนมากทำ

ให้บริษัทคู่แข่งเข้ามาตีตลาดและมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น  เหตุเพราะบริษัทคู่แข่งมีต้นทุนในการผลิตต่ำทำให้ลูกค้าบางรายที่เน้นการซื้อสินค้าที่ต้นทุนต่ำแต่มีคุณภาพที่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงไปใช้งาน

-                    การทำงานของบริษัทภายในองค์กรไม่มีข้อกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจน  เช่น  เวลาการเริ่ม

ทำงานเวลาเลิกงาน ฯลฯ  ซึ่งเป็นปัญหาในช่วงเวลาใกล้ส่งมอบสินค้า

-                    สินค้าของไทยคร๊าฟเป็นสินค้าที่ส่งออกต่างประเทศ  ซึ่งจำต้องใช้ภาษาต่างประเทศในการ

ติดต่อสื่อสาร  เจรจาซื้อขาย  แต่พนักงานยังขาดทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ 

3.  กำหนดวัตถุประสงค์การแก้ปัญหาของบริษัท 

                                1.  โครงสร้างขององค์กรไม่เหมาะสมกล่าวคือ ไม่มีหัวหน้างานของแต่ล่ะฝ่าย

                                2.  พนักงานขาดทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

3.  จำนวนพนักงานไม่เพียงพอต่อจำนวนของชิ้นงาน

4.  การแก้ปัญหาของบริษัท 

                1.  แต่งตั้งหรือจัดหาหัวหน้างานของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน  เพื่อบริหารงานของแต่ละฝ่าย  เป็นที่ปรึกษางานของพนักงานและเป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ และกรรมการผู้จัดการ    เพื่อช่วยให้การตัดสินใจ และออกคำสั่งงานได้เร็วมากขึ้น  เช่น

การเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ (Promotion)

        การเลื่อนตำแหน่งเป็นส่วนหนึ่งของการบรรจุแต่งตั้ง

หมายถึง การยอมรับในผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ความสำเร็จของเป้าหมายส่วนบุคคลระยะสั้น และ

การก้าวไปสู่การบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายระยะยาว

การเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติ แบ่งเป็น 3ประเภท

1.             การเลื่อนตำแหน่งตามแนวอาชีพเดิม  :  มีหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น (Job Enlargement)

2.             การเลื่อนตำแหน่งข้ามสายอาชีพ  : ตำแหน่งสูงขึ้นจากเดิมในแนวอาชีพอื่น

3.             การเลื่อนตำแหน่งไปสู่ระดับผู้บังคับบัญชา

ปัจจัยที่ใช้กำหนดศักยภาพ ในการเปลี่ยนตำแหน่งของพนักงาน  ได้แก่

1.             ขนาด หรือมิติของงานในตำแหน่ง มีลักษณะเหมือนกับตำแหน่งที่ได้รับการเลื่อนเพียงใด

2.             การเปรียบเทียบพนักงานที่ได้รับการประเมิน

3.             การวัดระดับของพนักงาน ในการช่วยเหลือให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน

4.             พิจารณาถึงความปรารถนาในแนวอาชีพของผู้ได้รับการประเมิน

การพิจารณาเลือกหัวหน้าฝ่าย   ประเมินโดยใช้มิติพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่สังเกตได้  เช่น

1.             การสื่อข้อความด้วยวาจา(Oral Communication)

2.             การสื่อข้อความด้วยลายลักษณ์อักษร (Written Communication)

3.             ความยืดหยุ่น (Flexibility)

4.             เสถียรภาพในการปฏิบัติงาน(Performance Stability)

5.             คุณภาพการตัดสินใจ(Quality of Decision)

6.             ภาวะผู้นำ (Leadership)

7.             การจัดองค์การและการวาแผน (Organization & Planning)

8.             มาตรฐานการทำงานของแต่ละคน(Inner Work Standard) (สุปัญญา ไชยหาญ, 2543)

 

2.  จัดหาบุคลากรฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ  เพื่อให้สามารถใช้ภาษาได้อย่างเต็มที่และถูกต้อง เช่น

การจัดการทรัพยากรมนุษย์

หมายถึง  การที่นายจ้างจัดการเรื่องการเรียนรู้  ให้บุคลากรของตนภายในในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการทำงาน  และเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของบุคลากร

การฝึกอบรบ (Training)   :   คือความพยายามที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานของพนักงานให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ  โดยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้านคือ

1.              knowledge  : คือความรู้ที่จะทำให้พนักงานสามารถเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงความรู้เดิม  ให้ได้

หลากหลาย  ให้มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาการใหม่ ๆ อยู่เสมอ

2.              Skill  :  คือทักษะที่จะทำให้พนักงาน มีทักษะที่หลากหลาย   เป็นการเพิ่มทักษะให้พนักงานอยู่

ตลอดเวลา เป็น Multi Skill คือให้รู้งานหลายอย่างภายในองค์การ

3.             Attitude  :  คือทัศนคติที่พยายามจะทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่องานและองค์การ  โดยเฉพาะ

กับลูกค้า  เปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิมที่ลูกค้าต้องมาหาเราเป็นให้เราวิ่งไปหาลูกค้าเอง

4.             Behavior

หมายเลขบันทึก: 293247เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท