AAR-การตรวจสอบสถานการณ์ปัญหาของทีมงาน


31 สิงหาคม --เรา "ตรวจสอบสถานการณ์ปัญหา" ของพวกเรากัน โดยมีท่านอ.หมอวิจารณ์ พานิช พี่เปา-แห่งสยามกัมมาจล ร่วมตรวจสอบ เขย่าสมองและหัวใจของพวกเรา, เรารับปากกับอาจารย์หมอว่าจะส่ง AAR ..ส่งการบ้านแล้วนะคะ

ท่านอ.หมอวิจารณ์และพี่เปา (แห่งมูลนิิธิสยามกัมมาจล) บอกว่า เห็นอะไรบางอย่างในอีเมล์หลายฉบับที่พวกเราสื่อสารกัน เกี่ยวกับกรณีน้องหม่อง

 

  • อ.หมอเริ่มจากว่า เป้าหมายของพวกเราคืออะไร (หุหุ-เรามองไม่เห็น ช้างทั้งตัว)

  • อ.หมอและพี่เปาชวนคุย-ชวนคิดว่า เรากำลัง "แก้" ตรงไหน ที่ "ปัญหา" หรือ "สาเหตุของปัญหา"

  • ตำแหน่งแห่งที่ของพวกเราคืออะไร อยู่ตรงไหน--เป็น "เจ้าของปัญหา" หรือ "เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา" หรือ "เป็น facilitator"

  • เราทำงานกับใครบ้าง เขามีฐานะเป็นอะไร เป็น เจ้าของปัญหา หรือเป็นจำเลย หรือเป็นอะไร?

  • วิธีการที่่พวกเราทำคืออะไร อย่างไร --มีเครือข่าย เดินการทำงานด้วยเครือข่าย/เดินไปกับเครือข่าย

  • วิธีการที่ใช้อยู่ หลักๆ น่าจะเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา (หุหุ case by case?) กับความพยายามสร้างระบบ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ แล้วเราให้น้ำหนักกับมันอย่างไร 80:20 นั้น คืออะไร

คำตอบจากวงคุยนั้นก็คือ

  • แน่นอนว่า เราต่างพยายามทำงานเพื่อการแก้ปัญหา และแก้ที่สาเหตุของปัญหา

  • เราพยายามให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่/ทำบทบาทของตัวเอง และมันก็ไม่ง่าย ที่จะทำแบบนี้

  • เราไม่มีแรงพอที่จะไปทำ case by case, ทุกเคสที่เราทำ เราต้องการให้มันเป็น "ต้นแบบ" ของการแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะเดียวกัน หรือต้องการสร้างระบบในการแก้ไขปัญหา นั่นเอง

  • เราเป็นเจ้าของร่วมของปัญหา ในแง่ของความพยายามผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาและสาเหตุของปัญหา

  • แต่หลายครั้ง เราก็กลายเป็นเจ้าของปัญหาเสียเอง

  • และเราครอบครองบทบาทการแ้ก้ไขปัญหา/สาเหตุของปัญหานั้นเสียเอง

ดูเหมือนเราคิดได้ช้า ตอบได้ช้า อีกทั้งมีความสับสน ไม่แน่ใจ รวมถึงแน่ใจ--ในแต่ละคำตอบ

อาการแบบนี้ น่าจะเป็นเพราะ เราไม่แม่นยำ ในตัวเราเอง ในแต่ละขณะ แต่ละก้าว

นั่นคือเหตุผลที่เราต้องทบทวน หรือถูกยั่วให้คิด ถูกกวนตะกอน ถูกเขย่าใ้ห้เตลิดเปิดเปิง


พี่เปาถามว่า ที่เราคุยกันวันนี้้ เกิด value อะไรบ้างหรือเปล่า หรือทำให้พวกเราเตลิดเปิดเปิง

ฉันตอบไปว่า "ทั้งสองอย่างเลยค่ะ เพียงแต่ว่า อย่างหลังเกิดก่อน"

: )

ดูท่า เราคงยังต้องคิดหนักและหาคำตอบต่อไป

บางคำถามเป็นการถูกเขย่าเพื่อให้เกิดการทบทวน ว่าเรายังเดินอยู่บนทางที่เราอยากเดินหรือเปล่า

แต่บางคำถามก็ดูแสนจะยากเย็น อย่างเรื่อง 80 : 20

ขอบพระคุณ อ.หมอวิจารณ์ และพี่เปา ที่กรุณาสละเวลาอันมีค่าให้กับทีมพวกเรา

ขอบพระคุณะอ.แหวว ที่แนะนำให้พวกเราได้รู้จัก และเิอื้อให้เกิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้จากอ.หมอวิจารณ์และพี่เปา

 

คำสำคัญ (Tags): #after action research-aaf#bkk clinic#swit
หมายเลขบันทึก: 293244เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แนวทางที่น่าจะต้องเดินกันก็คือ การทำให้เจ้าของปัญหากลายเป็น SS

เราเป็นคนกระตุ้นให้เกิด SS

เรามีความรู้พื้นฐานในการกระตุ้นให้เกิด SS

ต่อยอดถักทอความรู้ในการทำให้เกิด SS ต่อ และ COP

ในงานด้านไอซีทีก็พยายามอยู่เหมือนกัน

ว่างๆเรามานั่งทบทวนกันดีกว่า

กลางเดือนนี้ดีไหม

คิด ๆ ๆๆๆๆๆๆ ทำอย่างไรดี อยากร่วมมือกันทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เป็นข้อคิดชีวิตที่ดี

และนี่คือบทเรียนชีวิตของผู้ที่ผ่านประสบการณ์มานาน

แต่อย่างไรก็เป็นกำลังใจให้กับคนทำงานกันทุกคนนะครับ เพราะรู้ว่าเหนื่อยมาก แต่ก้ไม่ท้อกันใช่ไหมครับผม

ยังสงสัยอยู่เลยว่า คนทำงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจะใช้ทฤษฎี SS อย่างเป็นระบบได้อย่างไรหนอ ?? หนึ่ง สอง สาม เป็นอย่างไร ??

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท