Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

กรอบความคิดและหลักการ


สตีเฟ่น อาร์ โควีย์ (Stephen R. Covey) ผู้เขียนหนังสือ The 7 Habits of Highly Effective People หนังสือที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสารฟอร์บให้เป็น 1 ใน 2 หนังสือที่มีอิทธิพลที่สุดในศตวรรษ 20 เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวถึงในด้านของการพัฒนาตนเอง เขาเป็นผู้ที่รวบรวมแนวความคิดของนิสัยที่ดีซึ่งหากบุคคลใดมีครบ ปฏิบัติครบ และปฏิบัติได้เป็นนิสัยแล้ว จะทำให้เขาผู้นั้นเป็นผู้ที่ทำงานการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอุปนิสัยที่ดีเหล่านี้มีอยู่ 7 ประการ ดังนี้


The Habit

The Results of 7 Habits Training

อุปนิสัยที่ 1

Be

Proactive

Fosters courage to take risks and accept new challenges to achieve goals

เสริมสร้างให้มีความกล้าที่จะเผชิญสิ่งใหม่ๆ กล้ารับผิดชอบ และปรับปรุง การยอมรับในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อที่จะได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์

อุปนิสัยที่ 2

Begin with the End in Mind

Brings projects to completion and unites teams and organizations under a shared vision, mission, and purpose

เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ มุ่งที่ความสำเร็จของโครงการ โดยรวมเป้าหมาย ของทีมงานและองค์กรไว้ด้วยกัน

อุปนิสัยที่ 3

Put First Things First

Promotes getting the most important things done first and encourages direct effectiveness

ทำสิ่งที่สำคัญก่อน มุ่งเน้นทำสิ่งที่สำคัญก่อน และส่งเสริมการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล

อุปนิสัยที่ 4

Think

Win-Win

Encourages conflict resolution and helps individuals seek mutual benefit, increasing group momentum

คิดแบบชนะ ชนะ ส่งเสริมให้มีการแก้ปัญหา และความขัดแย้งร่วมกัน แสวงหาหนทาง ที่มีผลประโยชน์ด้วยกัน

อุปนิสัยที่ 5

Seek First to Understand, Then to Be Understood

Helps people understand problems, resulting in targeted solutions; and promotes better communications, leading to successful problem-solving

เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงทำให้ผู้อื่นเข้าใจเรา สร้างความชัดเจน ในการติดต่อสื่อสาร ให้มากขึ้น โดยใช้ทักษะในการฟัง เพิ่มความไว้วางใจ ให้สูงขึ้นและทำงานให้สำเร็จเร็วขึ้น ช่วยทำให้เข้าใจ ปัญหาต่างๆ และทัศนะในการสื่อสารดีขึ้น เพื่อหาทางแก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องที่สุด

อุปนิสัยที่ 6

Synergize

Ensures greater "buy-in" from team members and leverages the diversity of individuals to increase levels of success

ผนึกพลังประสานความต่าง ผนึกพลังต่างๆ ร่วมกันจากสมาชิกในกลุ่ม เพื่อนำมาเป็นส่วน ได้เปรียบในทางเลือกใหม่

อุปนิสัยที่ 7

Sharpen the Saw

Promotes continuous improvements and safeguards against "burn-out" and subsequent non-productivity

ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ ทำให้เป็นกิจวัตร หมั่นฝึกฝน เพื่อพัฒนาทั้ง 6 อุปนิสัยให้ดีขึ้น ไปเรื่อยๆ รวมทั้งเอาใจใส่ทั้งสี่มิติของการเติมพลังชีวิต 1 กายภาพ 2 สติปัญญา 3 จิตวิญญาณ 4 สังคม/อารมณ์



กรอบความคิดและหลักการ (ภาพรวมของอุปนิสัยทั้ง 7)

“อุปนิสัย” เป็นผลรวมขององค์ประกอบส่วนบุคคลในด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติ เป็นการเรียนรู้มากกว่าการถ่ายทอด ซึ่งทำให้เราเกิดความเข้าใจว่าตนเองต้องทำอะไร อย่างไร และเพื่ออะไร อุปนิสัยที่มีประสิทธิผลสามารถเรียนรู้กันได้และอุปนิสัยที่ไม่เป็นประสิทธิผลเราละเลิกได้ โดย 7 อุปนิสัย ที่จะนำเสนอต่อไปนี้มีความเกี่ยวเนื่อง พึ่งพาซึ่งกันและกันและเป็นขั้นตอน ในการนำอุปนิสัยไปใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในแต่ละบุคคล โดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมของเราประกอบไปด้วยอุปนิสัยต่างๆ ในตัวเรา ความคิดจะส่งผลให้เกิดการปฏิบัติ และเมื่อปฏิบัติเป็นนิจก็จะกลายเป็นอุปนิสัย เมื่อมีอุปนิสัยก็จะกลายเป็นคุณลักษณะ และในที่สุดจะกลายเป็นวิถีชีวิต

ส่วนคำว่า “ประสิทธิภาพ” หมายถึง การสร้างผลลัพธ์ในระยะสั้นและระยะยาวอย่างสมดุล การสร้างและพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพสูง ต้องเริ่มจากการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีของแต่ละบุคคล (อุปนิสัยที่ 1 -3) ไปจนกระทั่งทำให้บุคคลนั้นตระหนักถึง กฎธรรมชาติที่ว่าทุกสรรพสิ่งต่างพึ่งพาอาศัยกัน มนุษย์จึงต้องมีปฏิสัมพันธ์กันผู้อื่น (อุปนิสัยที่ 4-6)

อุปนิสัยที่ดี ต้องเริ่มจากการปรับมุมมอง หรือ การมีกรอบความคิดต่อสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องก่อน เพราะคนเราแต่ละคนจะมีกรอบความคิดที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การเลี้ยงดูที่ผ่านมา ,ประสบการณ์, ทัศนคติ ค่านิยม หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งหากเรามีกรอบความคิดที่ผิดไปแล้ว เราก็จะตีความหรือดำเนินชีวิตไม่ถูกต้องไปทั้งหมด เปรียบเหมือนการมีแผนที่ที่ผิด ก็จะนำทางเราไปสู่ความล้มเหลว ดังนั้น สิ่งแรกเราต้องมั่นใจว่าเรามีกรอบความคิดที่ดี ที่ถูกต้อง ไม่มีอคติต่อสิ่งใด โดยเน้นความคิดที่สอดคล้องกับธรรมชาติ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เช่น การมีคุณธรรม จริยธรรมความยุติธรรม, ซื่อสัตย์, จิตใจบริการ, เป็นต้น

ก่อนที่จะกล่าวถึงนิสัยทั้ง 7 ประการ ผู้แต่งได้ให้แง่คิดว่ามนุษย์มีสิ่งที่แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานอยู่ 3 อย่างคือ มีสามัญสำนึกรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีพลังจิต ดังนั้น การเอาใจใส่และหมั่นฝึกฝนคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้จนกลายเป็นนิสัย จะทำให้ประสบความสำเร็จและมีความสุขอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ผู้แต่งได้กล่าวว่า กรอบในการมองโลก (paradigm) หรือนิสัยของคนเรานั้นส่วนใหญ่จะถูกปลูกฝังมาจากการสั่งสอนของคนรอบข้าง การใช้ชีวิตในสังคม และจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และด้วยความเคยชินทำให้คนเรานั้นไม่เคยฉุกคิดว่ามุมมองที่มีอยู่นั้นถูกต้องหรือเหมาะสมหรือไม่ จึงก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งและไม่เข้าใจผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา เพราะเอาความคิดของตนเองเป็นตัวตัดสิน ดังนั้น ผู้แต่งจึงแนะนำให้หยุดทบทวนแนวความคิดมุมมองและคติธรรมในใจที่เคยยึดถือตลอดมาว่า สิ่งเหล่านั้นถูกต้องแล้วจริงหรือ ให้พิจารณาตามความเป็นจริง สิ่งไหนคิดผิดให้คิดใหม่แก้ไขที่ต้นเหตุ เมื่อเข้าใจตนเองจึงจะเข้าใจผู้อื่นได้ นอกจากนั้นผู้แต่งยังเชื่อว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการมีสมองข้างขวาที่ทรงประสิทธิภาพสามารถควบคุมการทำงานของสมองด้านซ้ายได้ สมองข้างขวามีหน้าที่เตือนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี การมีจินตนาการ และการมีอารมณ์และความรู้สึก ดังนั้น การฝึกใช้จินตนาการและมีสติรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นการพัฒนาการทำงานของสมองด้านขวาได้เป็นอย่างดี

อุปนิสัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต และเกิดขึ้นตลอดเวลาจนเกือบไม่รู้ตัว แต่เราสามารถสร้างอุปนิสัยที่มีประสิทธิผลให้เกิดขึ้นกับตัวเราได้ ด้วยความอดทนและตั้งใจจริง ก่อนที่จะอธิบายเกี่ยวกับอุปนิสัยทั้ง 7 สตีเฟ่น อาร์ โควีย์ (Stephen R. Covey) ได้อธิบายให้เราเข้าใจถึง "กรอบความคิด" หรือ Paradigms ของตัวเราเองและดูว่าเราจะสามารถ "เปลี่ยนกรอบความคิด" (Paradigms Shift) นี้ได้อย่างไร เพราะแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่ต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการมองและการตีความเมื่อเข้าใจความหมายของ Paradigms ได้ดีขึ้นและเริ่มเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ก็จะทำให้เรามีโลกทัศน์ที่กว้างไกลกว่าเดิม ทุกชีวิตเริ่มต้นด้วยการเป็นทารก ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นตลอดเวลา (Dependence) พอโตขึ้นก็เริ่มพึ่งพาตนเอง (Independence) มากขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนกระทั่งสามารถดูแลตนเองได้และพัฒนาตนถึงขั้นมีความคิด และความเชื่อมั่นเป็นของตนเอง เมื่อเริ่มเป็นผู้ใหญ่จะตระหนักถึงการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Interdependence) โดยจะเกิดขึ้นได้เฉพาะคนที่พึ่งพาตนเองได้แล้วเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้อุปนิสัยที่ 1, 2, 3 จึงเกี่ยวข้องกับการเอาชนะใจตนเอง คือ เปลี่ยนจากคนที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นไปเป็นคนที่พึ่งพาตนเองหรือ "ชนะใจตนเอง" เมื่อพึ่งพาตนเองได้ถือว่ามีพื้นฐานสำหรับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ก็จะสามารถก้าวไปสู่การ "ชนะใจผู้อื่น" ด้วยการทำงานเป็นทีมและสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลในอุปนิสัยที่ 4, 5, 6 สำหรับอุปนิสัยที่ 7 เป็นอุปนิสัยที่ต้องหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ชนะใจตนเอง (อุปนิสัยที่ 1-3)

หลังจากเรามีกรอบความคิดที่ดีแล้ว เราก็จะสามารถพัฒนาอุปนิสัยที่ดี 7 ประการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยอุปนิสัยทั้ง 7 มีดังนี้


อ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ http://gotoknow.org/blog/the7habits

หมายเลขบันทึก: 293246เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2015 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราต้องรู้จักบริหารหลายๆอย่างไม่เพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง

ศักดิ์ระพี หิรัญชาติ

สรุปได้ดีครับ

ผมอ่านหนังสือแล้วมาอ่านบทความที่อาจารย์สรุปทำให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท