ปัญหาเชื้อรากับภาวะฝนชุก


ภาวะที่ฝนตกชุก พื้นที่มีน้ำท่วมขัง ความชื้นสัมพัทธ์ในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น ส่งผลเอื้อประโยชน์ให้เชื้อราโรคพืชเกิดการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว

 

ในเดือนกันยายน 2551 อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กับร่องของความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทย รวมทั้งอิทธิพลของพายุโซนร้อน “คัมมุริ” ที่เคลื่อนตัวอยู่ทางทะเลจีนใต้ตอนบน ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง, ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศไทยประสบกับภาวะฝนตกติดต่อกันอยู่นานในหลาย ๆ พื้นที่และยังมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่อีกด้วย นำมาซึ่งความเดือดร้อนและความเสียหายมาสู่พี่น้องประชาชนชาวไทย ที่ต้องระวังในเรื่องของน้ำป่าไหลหลาก สภาวะน้ำท่วมขัง ส้วมเต็ม พืชผัก ไม้ผล พืชไร่ได้รับความเสียหาย แถมยังทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันไม่ได้รับความสะดวกอย่างที่เคย  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะต้องระวังในเรื่องของเชื้อโรคที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำท่วมในครั้งนี้ เพราะขยะและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ก็กระจัดกระจายล่องลอยไปในหลายๆ  พื้นที่ จึงควรเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนต้องช่วยกันเฝ้าระวังรักษาเพื่อมิให้ตัวเองต้องประสบกับภาวะเคราะห์ซ้ำกรรมซัดขึ้นมาอีกปัญหาหนึ่ง...


ภาวะที่ฝนตกชุก พื้นที่มีน้ำท่วมขัง ความชื้นสัมพัทธ์ในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น ส่งผลเอื้อประโยชน์ให้เชื้อราโรคพืชเกิดการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลทำให้ผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรเสียหายจากการระบาดและเข้าทำลายของเชื้อราเหล่านี้ได้  ถ้าพื้นที่ใดได้มีการใช้ ซิลิก้า จากหินแร่ภูเขาไฟ เช่น ภูไมท์, สเม็คไทต์ และไคลน็อพติโลไลท์  ก็จะช่วยลดการเข้าทำลายของเชื้อราในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี เพราะผนังเซลล์ของพืชจะได้รับซิลิก้าที่ละลายออกมาจากหินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้ แล้วเคลื่อนย้ายโดยการดูดซึมผ่านทางระบบรากแล้วค่อย ๆ เข้ามาสะสมที่ผนังเซลล์ทีละน้อย ทำให้ผนังเซลล์ที่ได้รับแร่ธาตุซิลิก้าหรือซิลิสิค แอซิดเกิดความแข็งแกร่งแตกต่างจากพื้นที่ไม่มีซิลิก้า จึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ต้นพืช ทำให้เชื้อราโรคพืชไม่สามารถที่จะเจาะหรือเข้าทำลายได้โดยง่าย รวมทั้งยังป้องกันพวกหนอน และแมลง ต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย

ในพื้นที่ที่เกิดการระบาดของเชื้อราไปแล้วและหรือในพื้นที่ที่กำลังได้รับความเสียหายอยู่อาจจะใช้ ฟังก์กัสเคลียร์ 2 กรัม ร่วมกับ แซนโธไนท์ 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร (ต้นทุนประมาณ 1 บาทต่อปี๊ป) ฉี่ดพ่นเพื่อทำการล้างใบทำลายสปอร์ที่อาจจะตกค้างอยู่บนพื้นผิวใบ กิ่ง ก้าน และลำต้น สลับกับ บีเอสพลายแก้วหรือไตรโคเดอร์ม่า ก็สามารถที่จะแก้ปัญหาในเรื่องของเชื้อราให้หมดไปได้ในสภาวะฝนชุกเช่นปัจจุบันนี้นะครับ

 

มนตรี   บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 293068เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท