เครื่องมือการจัดการความรู้


ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องช่วยให้การดำเนินการการจัดการความรู้ให้เป็นไปด้วยดี แต่ที่สำคัญอยู่ที่การหมั่นฝึกฝน เหมือนขี่จักรยาน อ่านหนังสือกี่เล่มก็คงขี่ไม่ได้ ถ้าไม่ลองขี่ด้วยตัวเอง

28-29 สิงหาคม 2552 ได้ไปอบรมเรื่อง "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบปฐมภูมิ" ที่โรงแรม แซนดาเลรีสอร์ท พัทยา ซึ่งเป็นการอบรมครั้งที่ 3 (สุดท้าย) ที่จัดโดยมูลนิธิแพทย์ชนบทร่วมกับ สคส. หลังจากได้อบรมมาสองครั้งก็มาลองทำกิจกรรมอย่างที่เราเห็นกัน( Friday KM, เก็บCredit , Blog ) ครั้งนี้ก็เป็นการลงลึกถึงรายละเอียดในวิธีการหรือเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการจัดการความรู้ การอบรมเป็นรูปแบบกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่(เล่นเกม)แล้วให้ผู้เข้าอบรมสรุปเป็นความรู้เอาเองว่าได้อะไรบ้าง ดังนั้นจึงอาจจะเพี้ยนจากทฤษฎีไปบ้าง ถ้าผู้รู้ท่านใดมาอ่านก็ช่วยแก้ได้เลยครับ สรุปประเด็นสำคัญที่ได้ก็คือเครื่องมือหรือวิธีการที่ช่วยให้การจัดการความรู้เป็นไปได้ดีมีอยู่อย่างน้อย 4 อย่างดังนี้ (อาจมีมากกว่านี้แต่เก็บมาไม่หมด..อาจเผลอหลับบ้าง)

  1. การออกแบบ ก็เหมือนการวางแผน เช่นเราจะจัดการความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งคงจะต้องเตรียมวางรูปแบบ ศึกษาพื้นฐานสมาชิก บรรยากาศ เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับเรื่องต่างๆที่จะจัดการ  ซึ่งใน รพ.เราก็จะเห็นรูปแบบต่างๆที่เราจัดขึ้น เช่น การบรรยาย Knowledge sharing , สาธิต , เขียนบลอก ทั้งหมดนี้ได้มาจากการวางแผนและออกแบบเพื่อให้เหมาะกับเรื่องและสมาชิกที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 

 2. การถาม  คงไม่ต้องอธิบายว่าคืออะไร แต่คำถามคือการถามที่ดีเป็นอย่างไร เท่าที่จำได้ ควรจะเป็นอย่างนี้

       - คำถามปลายเปิด

       - ถามเพื่อกระตุ้นความคิดให้เล่าต่อ

       - ถามเพื่อทบทวนเหตุการณ์ที่เล่ามาเพื่อทำความเข้าใจ

   ส่วนที่ไม่ควรถามคือ

       - คำถามปลายปิด

       - ส่อเสียด

       - ตัดสิน

       - ท้าทาย  

       - คงมีอีกช่วยกันคิด

3. การจับประเด็น  อันนี้สำคัญมากเพราะถ้าทำไม่ได้ก็จะถ่ายทอดต่อไม่ได้เลย วิธ๊การที่แนะนำเพื่อให้จับประเด็นได้ดี เช่น

        - เตรียมตัวก่อนฟัง เช่น เรื่องอะไร ใครพูด ความรู้เดิมมีอะไรบ้าง

        - สมาธิ คงเข้าใจถ้ามัวแต่คุยคงไม่สำเร็จ

        - สอบถาม(แบบดีๆ)

        - บันทึก

         ดูแล้วคงไม่พ้น สุ จิ ปุ ลิ นั่นแหละ

4 . ถอดบทเรียน  เป็นคำที่ได้ยินบ่อยแต่เกือบจะเข้าใจ   จึงขออธิบายตามความเกือบเข้าใจดังนี้  มันก็คือการสรุปสิ่งที่ได้ทำมาเอามาเป็นความรู้ที่อาจจะขยายผลต่อไปได้ ซึ่งบางทีก็อาจมีหลายองค์ความรู้ หลากรูปแบบ ขึ้นกับว่าใครจะนำไปใช้อะไร บริบทอย่างไร เช่นของเราก็อาจจะเริ่มทำการถอดบทเรียนการทำแผลด้วยน้ำเชื่อมว่าจริงๆแล้ว ได้เรียนรู้อะไร อะไรใช้ต่อได้ อะไรต้องยกเลิก แล้วนำไปใช้ในที่อื่นได้ไหม อย่างนี้เป็นต้น

    ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องช่วยให้การดำเนินการการจัดการความรู้ให้เป็นไปด้วยดี แต่ที่สำคัญอยู่ที่การหมั่นฝึกฝน เหมือนขี่จักรยาน อ่านหนังสือกี่เล่มก็คงขี่ไม่ได้ ถ้าไม่ลองขี่ด้วยตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 292807เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2009 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมว่ายากที่สุดก็ตรงถอด..นี่แหละครับ

เพราะเป็นกระบวนการสุดท้าย หากออกแบบการเรียนรู้ไม่ดี ฟังไม่เป็น ถามมั่วๆ จับประเด็นไม่ได้ก็จบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท