หัวใจนักเรียนรู้: ผู้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มือใหม่


สารัตถะคือว่าเราต้องเป็นฝ่ายจับปูใส่กระด้ง เข้าใจธรรมชาติปู เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างกัน ปล่อยให้ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ลองไปเรื่อย ๆ ไม่มีผิดไม่มีถูก ทำงานแบบทำไปเล่นไป จึงจะได้ความงามของศิลปะแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

หลังจากที่คุณเอก ได้เปิดบันทึก "เปิดใจที่จะเรียนรู้ เพือพัฒนาตัวเอง : บทบาทของผู้นำกระบวนการมือใหม่"   ตาม link http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/292434  ทำให้ศิลา หนึ่งในทีมงานต้องทำการบ้านตอบบันทึกคุณเอกด้วยเช่นกัน  ครั้นจะให้ตอบในบันทึกคุณเอก ก็คงจะเป็นความเห็นที่ยาวมาก จึงขอเปิดบันทึกใหม่ตอบการบ้านอาจารย์เอก 

                

 

เริ่มด้วยความประทับใจในการเป็นผู้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มือใหม่ ของคุณเอก...จากการได้ร่วมทีมงาน "Humanized Educare" สร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงหล่อเลี้ยงหัวใจ "ครูเพื่อศิษย์" ที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศ ให้มารวมตัวกันเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

คำบอกเล่าของชายหนุ่มหัวใจใส ๆ แต่สติปัญญาไม่ธรรมดาจากข้อความบางส่วนที่หยิบยกมามีดังต่อไปนี้ค่ะ

  

"การรู้ผ่านมโนทัศน์ (Propositional Knowing)แม้แต่การสังเกตจากการเล่าเรื่องที่ผ่านการปฏิบัติ เล่าเรื่องที่ผ่านประสบการณ์เองของผู้เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสังเกตของผู้นำกระบวนการ ผสานศาสตร์ของนพลักษณ์ก็ถือว่าเป็นทางลัดในการเดินทางเข้าสู่การแลกเปลี่ยนที่ลึกมากยิ่งขึ้นได้โดยแนบเนียน 

 

หากมีวิธีการใหม่ๆที่สามารถเรียนรู้ได้ และใช้ได้กับวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการ Dialogue ให้เกิดพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเชิงบวกของผู้เข้าร่วมกระบวนการได้ใคร่ครวญอย่างใช้ปัญญา ผมก็พร้อมเปิดใจที่เรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตามขอให้มีความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ (Humanistic value) เป็นพื้นฐานของทุกกระบวนการในฐานะศูนย์กลางของการเรียนรู้ ที่เจตนาให้ผู้ร่วมกระบวนการเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง รวมไปถึงสร้างความเข้าใจต่อสิ่งภายนอกที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสมดุล ให้เกิดขึ้นอย่างพร้อมๆกัน รวมถึงผู้นำกระบวนการด้วย" 

 

ข้อเขียนนี้มีความงดงาม เป็นการมองโลกด้วยความเป็นกัลยาณมิตร

ตามความเห็นส่วนตัวแล้ว คงไม่มีตำราใดสอนวิธีการเป็นผู้นำกระบวนการที่ถูกต้องและดีที่สุุด...ความเป็นผู้นำกระบวนการคือการมองเห็นตัวเอง การอ่านผู้อื่นออก และการร่วมเส้นทางกับผู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นหลักการสำคัญ นั่นคือ

"การควักหัวใจออกมาวางตรงหน้า ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ แล้วชวนกันล้อมวง

สนทนาแบบเด็ก ๆ ไม่มีกั๊กและพักผ่อนกายใจทำกิจกรรมร่วมกันตามใจวง"

 

                 

จาก concept ข้างต้น ศิลาจึงขอแลกเปลี่ยนจากประสบการณ์การสัมผัสรู้ในวงที่เคยทำมา

    

     

  

  

ตามประสบการณ์ในการเป็นวิทยากร ผู้นำกระบวนกร เพื่อนช่วยเพื่อนให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน ทำให้ค้นพบว่าการทำความเข้าใจความหลากหลายในสไตล์ของนักเรียนรู้แต่ละท่านเป็นมิติการเรียนรู้ร่วมกันที่สำคัญอย่างยิ่ง  โดยศิลาขอนำเสนอบันไดในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  4  ขั้น  ดังนี้  (ในแต่ละขั้น กำหนดกิจกรรมร่วม  คั่นจังหวะได้ตามความเหมาะสมและโอกาสค่ะ)

 

บันไดขั้นที่ 1  เปิดใจให้กัน  (Open Mind)

เราในฐานะผู้โน้มน้าวให้ทุกคนดึงจิตดึงใจออกมาอยู่กับปัจจุบัน  สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ตามใจ” ผู้เรียนรู้  

 นอกเหนือจากเป้าหมายของวงสนทนาที่จะให้แต่ละท่านมแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เราต้องการ  เราก็ควรให้แต่ละท่านแสดงเจตจำนงค์ที่จะสร้างกติการ่วมกัน  ได้แก่  ไต่ถามเป็นรายบุคคลว่าอยากให้มีกติกาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไรบ้าง  กิจกรรมที่มาคั่นจังหวะให้ผ่อนคลายควรเป็นอย่างไร  ความคาดหวังของการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ 

 

          กำหนดกติการ่วมกัน   สร้างสรรค์กิจกรรมสั้น ๆ ด้วยกัน 

                        สร้างปิรามิดความคาดหวังของวง 

                                      แล้วร่วมกัน 

               กำหนดบันไดที่เราจะก้าวไปสู่ความคาดหวัง 

 

สรุปแผนกิจกรรมที่ร่วมกันเขียนแล้วนำมาปรับให้กลมกลืนกับ Agenda เดิมที่เราเคยแจกไว้แล้วการสอดประสานระหว่างกรอบเดิมกับแผนใหม่ ทำให้ทุกคนร่วมเป็นเจ้าของในเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

            (สร้าง Sense of Ownership and Participation)

 

บันไดขั้นที่ 2  รู้จักฉันและเธอ

เราอาจผ่านการรู้จักกันเพราะคำแนะนำตัว คำบอกเล่า คำบอกต่อ การได้เห็น ได้สัมผัส แต่นั่นก็ยังไม่เท่ากับการมาร่วมกัน “Capture  (จับ)”  วิธีคิด  การสื่อสารทางอารมณ์ และการลงมือกระทำตามสัญชาตญาณ  สิ่งนี้คือพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจว่าทำไมสไตล์การเล่าเรื่องหรืออธิบายเกี่ยวกับตัวเองของแต่ละท่านจึงไม่เหมือนกัน

 

จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนรู้แต่ละท่าน  ทำให้เห็นชัดเจนว่าสไตล์ของนักเรียนรู้เป็นอย่างไรกันบ้าง (วัตถุประสงค์ของการอธิบายศูนย์ต่อไปนี้เพื่อประโยชน์ในการสังเกตและทำความเข้าใจนักเรียนรู้และกระตุ้นหรือดึงศักยภาพของแต่ละท่านออกมาให้ปรากฎ)

หากให้นักเรียนรู้ที่เป็นศูนย์ใจเล่าเรื่องผ่านงานศิลปะ จะอธิบายความเป็นตัวตนออกมาได้ดี  โดยสะท้อนวิธีทำงานเชื่อมโยงกับภาพสัญลักษณ์ใด ๆ ที่ตนกำหนดขึ้นมา  และเขาก็มักจะเล่าเรื่องโดยใช้ภาพสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ ในบทบาทหน้าที่ที่เขามีอยู่กับผู้คนที่เขาอยู่ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นฐานะอาชีพอะไร  สิ่งที่เรามักจะได้ยินคือการที่เขาทำอะไรเพื่อใคร การช่วยเหลือ ส่งเสริมเกื้อกูล การพึ่งพาอาศัยระหว่างชุมชนรอบตัว

 

 

 

หากให้นักเรียนรู้ที่เป็นศูนย์หัวเล่าเรื่อง  เขาก็มักจะเล่าผ่าน Model  ศาสตร์ ทฤษฏีหรือองค์ความรู้ใด ๆ ที่จะทำให้เขามั่นใจว่าเขารู้เรื่องนั้นเป็นอย่างดี และเล่าเรื่องอย่างเป็นระบบ ตรระกะ เหตุผล การเล่าเรื่องของนักเรียนรู้ศูนย์นี้ จะต้องเปิดโอกาสให้เขาได้เตรียมตัวล่วงหน้าพอสมควร แล้วเขาจะเล่าเรื่องอย่างเป็นขั้นตอนมีการอ้างอิงที่มาความรู้  การบูรณาการความรู้ และการใช้องค์ความรู้เพื่อแปลงรูปเป็นการลงมือปฏิบัติ

 

หากให้นักเรียนรู้ที่เป็นศูนย์ท้องเล่าเรื่อง เขาก็จะสามารถถ่ายทอดวิธีทำงานของตนเองผ่านกิจกรรมที่เขาได้ทำลงไป  การเล่าเรื่องของนักเรียนรู้ที่เป็นศูนย์ท้องมักจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพจากการปฏิบัติ แรงผลักดันที่ทำให้เขาเกิดความพยายามมุมานะทำงานนั้น ๆ จนสำเร็จ สิ่งที่เรามักจะได้ยินคือ "การปิ๊งและการลงมือทำ" เขาจะเล่าเรื่องให้เราเห็นภาพชัด ๆ เป็นฉาก ๆ

 

ดังนั้น บันไดที่จะให้เขา “รู้จักฉันและเธอ”  ควรที่จะ “สร้างบรรยากาศการเจริญสติ”  (ควรใช้ความเงียบ ไม่ต้องเปิดเพลงบรรเลง) ให้แต่ละท่านได้อยู่ในโลกภายในของตัวเองแล้วถ่ายทอดคำอธิบายเกี่ยวกับ “ตัวตน” ของตัวเองผ่านวิธีที่ตนเองถนัด  โดยให้เครื่องมือแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ    ดินสอสีประเภทต่าง ๆ แล้วให้เขาขีดเขียนระบายอะไรก็ได้เพื่อนำมาอธิบายความเป็นตัวเอง

 

สิ่งที่แต่ละท่านแสดงออกมาจะทำให้เราเข้าต่างเข้าใจโลกทัศน์ของนักเรียนรู้ว่าเขาอธิบายตัวตนจากการใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะ  หรือจากการใช้อารมณ์ความรู้สึก หรือจากการลงมือปฏิบัติโดยใช้สัญชาตญาณ

 

การเข้าใจและเข้าถึงว่านักเรียนรู้ “ใช้ศูนย์ใจ  หัว หรือท้อง” จะทำให้แต่ละท่านยอมรับในตัวตนของกันและกัน  และดึงความเป็นตัวเองออกมาด้วยความเป็นอิสระและภาคภูมิใจในตัวเอง  รวมถึงการเคารพในการแสดงออกของผู้อื่น 

                               (สร้าง Shared Worldview)

 

บันไดขั้นที่ 3  Dialogue

จุดประเด็นร่วมที่จะให้นักเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กระบวนการคิด  การใช้อารมณ์ความรู้สึก และการลงมือปฏิบัติ... โดยควรที่จะเป็นหัวข้อที่ฟังแล้ว นักเรียนรู้อยากร่วมวงแลกเปลี่ยน  เช่น หัวข้อ  “การทำงานให้ได้ผล  คนมีความสุข”  (ยืมหัวข้อคุณเอก)  “การจัดการภายในและภายนอกตัวเอง”  แต่ละหัวข้อควรทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันในระดับหนึ่ง ก่อนเปิดอิสระให้แต่ละท่านอธิบายไปเรื่อย ๆ เพราะสิ่งที่เขาอธิบายตามความเข้าใจก็คือสไตล์ตัวตนของเขาเอง

 

ก่อนนำเข้าสู่หัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คงหนีไม่พ้นที่จะเปิดเพลงบรรเลงกล่อมจิตใจให้สงบ เพลงที่เลือกควรจะต้องเป็นเพลงที่ไม่กระทบอารมณ์ให้ฟูฟ่องจนหัวใจกระโดดโลดเต้นมากเกินไป  แต่เป็นเพลงที่ทำให้เรามองเห็นภายใน (ควรทดลองเปิดเพลงกับตัว FA เองและคนอื่นก่อน แล้วอธิบายอารมณ์ที่เกิดขึ้น)…คนฟังควรมีศูนย์ที่แตกต่างกันด้วย ระหว่างศูนย์ใจ หัวและท้อง

 

ก่อนเริ่มเปิดเพลง  FA ควรแนะนำให้นักเรียนรู้หายใจให้ยาวลึกจนถึงท้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำสมาธิให้จิตว่างและนิ่ง  หากว่าหายใจให้ยาวลึกถึงท้องไม่ได้ ก็ให้สังเกตว่าลมหายใจอยู่บริเวณใด และสิ่งใดที่เรากำลังครุ่นคิดหรือจิตหมกมุ่นอยู่ในขณะนั้น ... การสังเกตตัวเองและการอยู่กับตัวเองโดยแท้จริงจะดึงให้นักเรียนรู้อยู่กับปัจจุบันร่วมกัน...แม้ตัวอยู่ ใจไม่อยู่ ก็ให้สังเกตเอาไว้...นั่นแหละ สิ่งที่ครอบงำตัวเรา...

 

ขณะที่ทำ Dialogue  FA จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเปิดประเด็น ดึงนักเรียนรู้ออกมาให้แสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกและการปฏิบัติของตนเองการเปิด  การจับ  การโยน (ประเด็น) ในวงเสมือนการเล่นฟุตบอล ที่มี Goal เป็นเป้าหมาย  สุดท้ายก็คือการสรุปประเด็นร่วมกันในแต่ละวงอย่างเชื่อมโยง เป็นการช่วยกันวิเคราะห์ และสังเคราะห์ประเด็นร่วมกัน

                                 (Shared Knowledge & Experiences)            

                     

             รอยต่อ (Transition) :  Dialogue  ไปสู่  Storytelling

 

 

บันไดขั้นที่ 4  การเล่าเรื่อง (Storytelling)

การทำ Dialogue ที่ต้องแยกวงให้เล็กลงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น ควรที่จะไม่ลืมนำกลุ่มย่อย ๆ กลับมารวมตัวกันเพื่อเล่าเรื่องความประทับใจในวงตนเองให้กลุ่มใหญ่ได้รับฟัง รับรู้ แลกเปลี่ยนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกันอย่างแท้จริง   

ในวงใหญ่นี้  สิ่งที่นักเรียนรู้นำมาเล่าเรื่องอาจจะเป็นประเด็นที่ผ่านการ Dialogue ในวงย่อยแล้วเกิดการตกผลึกทางความคิดและอยากเล่าให้วงใหญ่ฟังการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงใหญ่ให้แต่ละท่านได้เล่าเรื่องจะเป็นกระบวนการที่สำคัญที่เราอาจจะเห็นการปรับเปลี่ยน การพัฒนาจิตของนักเรียนรู้ที่มองเห็นภาพรวมจากการได้เข้าวง Dialogue มาแล้ว เกิด “ปิ๊งแว่บ” อะไรขึ้นมาและบูรณาการให้เราฟัง

 

การไต่ถามด้วยความชื่นชม หลังผ่านการเล่าเรื่องของแต่ละท่านไปแล้วนั้น เป็นการฝึกฝนมุทิตาจิตไปด้วย และทำให้ผู้เล่าเรื่องภาคภูมิใจที่จะขุดประเด็นลึก ๆ ภายในของตนออกมาเล่า 

 

FA ควรทำหน้าที่ในการตั้งคำถามด้วยความชื่นชมแก่ผู้เล่าเรื่อง ขณะเดียวกันก็คุมประเด็นไม่ให้ฟุ้งกระจายมากเกินไป  หากประเด็นไหนน่าสนใจ ต้องการขยายผลแต่เวลาไม่เพียงพอ ก็อาจจะไปทำ KM นอกเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ได้  ซึ่งจะทำให้ถอดความรู้ได้เหมือนกัน  ส่วนในเวทีแลกเปลี่ยนนั้น นักเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องได้วิธีการจัดวงสนทนาแบบ Dialogue และวิธีการเล่าเรื่อง Storytelling รวมถึงการตั้งคำถามด้วยความชื่นชมกลับบ้านไป

                           (Integration Management)

                  -------------------------------------------

               

มาถึงตรงนี้  ขอให้ยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าแบบจำลองใด หรือศาสตร์ใดที่อาจจะถูกสร้างขึ้นมา ล้วนเกิดขึ้นจากการผ่านการลงมือปฏิบัติจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง  และก็ใช่ว่าเครื่องมือหนึ่งจะใช้ได้กับทุกเวที

 

สารัตถะคือว่าเราต้องเป็นฝ่ายจับปูใส่กระด้ง  เข้าใจธรรมชาติปู เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างกัน  ปล่อยให้ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ  ลองไปเรื่อย ๆ ไม่มีผิดไม่มีถูก  ทำงานแบบทำไปเล่นไป จึงจะได้ความงามของศิลปะแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน 

 

การทำงานกับคน ใช้ “ใจนำ” ใช้ “มือคลำ” และ ใช้ “หัวจับ” สรรพสิ่งที่เกิดขึ้น

 

       ข้อความสั้น ๆ อธิบายสิ่งที่ได้จากการร่วมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                      

    

เปิดเพลงประกอบ "ดอกไม้" ของคุณศุ บุญเลี้ยง สื่อให้เห็นว่า Dialogue  ใช้ดอกอะไรก็ได้ ขอเพียงให้ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนมีความสุขและพึงพอใจ ดึงหัวใจเด็ก อย่างที่คุณเอกบอก  ออกมาให้ปรากฎแล้ว  จึงจะเกิดสายธารแห่งความรู้หลั่งไหลมาเอง เหมือนสายฝนอันชื่นใจ  จากนั้น FA จึงถอดความรู้สังเคราะห์จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังค่ะ

                                                    ดอกอะไร  Dialogue

                ภาพถ่ายดอกไม้นี้ ถ่ายที่บ้านริมน้ำป่าสักของพี่นุช (คณนายดอกเตอร์) ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 292706เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2009 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

มาทักทายก่อนครับ แล้วจะค่อยๆ เก็บเกี่ยวไปช้าๆ เพราะมีประสบการณ์ว่าทุกประโยคในบันทึกของท่าน Sila Phu-Chaya เต็มไปด้วยความหมายและสาระ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะคุณศิลา

ตามมาอ่าน แต่ไม่มีความรู้พอจะคอมเม้นท์

อ่านแล้วยิ้ม ๆ ไปก็แล้วกันนะคะ

วันหยุดสบายดีหรือเปล่าคะ

ภาพสุดท้ายเป็น ดอกมิกกี้เม้าท์ ใช่ไหมคะ

ส่วนในเพลง...ต้องฟังให้จบก่อน....

อ้อ...ฟังจนจบแล้วก็ไม่ทราบอยู่ดีค่ะ คงต้องสรุปแบบที่คุณศิลาว่าล่ะค่ะ...ดอกอะไรก็ได้ที่ทำให้ทุกคนมีความสุข....จริงไหมคะ

คิดถึงค่ะ

(^___^)

แวะมาเตือนให้พักบ้างในว้นหยุดค่ะ

วันหยุด = Holiday = Holy + day

วันศักดิ์สิทธิ์ที่จะได้อยู่กับตัวเองและครอบครัว...

มาพร้อมยิ้มหวานค่ะ กำลังจะไปทานข้าวกับครอบครัวเช่นกัน

ภาพนี้หวานดีค่ะ...^_^...

สวัสดีค่ะ   อ่านแล้วชื่ชมค่ะ  

ใช้ “ใจนำ” ใช้ “มือคลำ” และ ใช้ “หัวจับ”

สั้น  กระชับ  ได้ใจความ

ยาวดีครับ ท่านอาจารย์นพลักษณ์ ๙ ;)...

"เมื่อความรู้ระเบิดออกมาอยู่ในรูปของการถ่ายทอดเป็นการเขียนจากใจสู่บันทึก"

ซึ่งผมก็ยังตามไม่ทันอยู่ดีอ่ะครับ แต่ยังคงยินดีที่ได้ทิ้งร่องรอยไว้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นกำลังใจให้ท่านทำงานลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดแรง

อิ อิ หุ หุ อิ อิ แล้วก็ หุ หุ ;)..

สวัสดีค่ะ อ.ศิลา

 มารับความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์

ต้องอ่านซ้ำๆค่ะ อิอิ..

ขอบคุณค่ะ

แวะมาอ่านครับ น่าสนใจมาก

ขออนุญาตสอบถามหน่อยครับ

- การเรียนรู้ร่วมกันแบบนี้ มีเงื่อนไขจำเป็นอะไรบ้างครับ เช่น จำนวนคน สถานที่ เวลา ฯลฯ

- เข้าใจว่าน่าจะมีคนที่ชอบ/สนุก/ได้ผลกับการเรียนรู้เช่นนี้ พอจะบอกได้ไหมครับว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนแบบไหน

ขอบคุณครับ

วันศุกร์นี้คงเจอกันที่สวนสันติธรรมนะครับ

หวังว่าคงจำกันได้นะครับ

น่าสนใจมากๆ

ได้เรียนรู้ผ่านตัวอักษร เข้าใจได้แค่ 10 % ครับ

  • ขออนุญาตตอบคุณ หนานเกียรติ  P ก่อนนะคะ เพราะเป็นคำถามที่สนใจจะเข้าอบรม
  • ศิลาขออนุญาตแลกเปลี่ยนว่าหากสนใจเฉพาะนพลักษณ์ การเรียนรู้ตัวตนเพื่อการพัฒนาจิต ก็ลองเข้าไปใน google และพิมพ์หาคำว่านพลักษณ์ จะมีการจัดอบรมโดยสมาคมนพลักษณ์แห่งประเทศไทย หรือของมูลนิธิโกมลคีมทอง หรือโดยองค์กรอื่น
  • หากจะพูดคุยเป็นการแลกเปลี่ยนส่วนตัว ศิลาขออาสาเป็นเพื่อนช่วยเพื่อนในเรื่องนี้ได้ค่ะ  เพราะทุกวันนี้ ก็มีจัดเป็นกลุ่มย่อยและสัมภาษณ์ลักษณ์อยู่ ไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ ติดต่อหลังไมค์ได้ค่ะ 
  • แต่หากสนใจเรื่องการจัดการความรู้แบบ Dialogue หรือ Sotrytelling มักจะเป็นการจัดภายในหน่วยงานมากกว่าค่ะ
  • ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของคุณ หนานเกียรติ นะคะว่าจะศึกษาในแนวไหน
  • จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านบันทึกกันไปก่อนค่ะ วันหนึ่ง ธรรมะจัดสรรให้เราได้มาพบกันได้ทุุกเมื่อค่ะ
  • ดีใจมากนะคะ ที่มีกัลยาณมิตรสนใจค่ะ 
  • เราคงได้พบกันนะคะ

เหมือนและคล้ายเวลาอยู่กับคุณครูแนะแนวค่ะ

อบอุ่นจากใจจริงของคุณครู

และเมื่อสัมผัสพบความเป็นกันเองความไว้วางใจที่มีให้กัน

ก็ไม่มีทำนบใดๆมากางกั้น

เราและเขาจึงสัมผัสกันด้วยเสียงจากภายใน

และสานต่อด้วย.....

  • สวัสดีค่ะ คุณ Phornphon P จำหมวกได้ค่ะ  ใส่หมวกตามภาพไว้ด้วยนะคะ ฮ่า....
  • พี่ศิลาควรไปถึงที่วัดกี่โมงดีค่ะ จะได้กะเวลาเดินทางถูกค่ะ
  • ขอบพระคุณท่าน ผอ.บวร P มากค่ะที่แวะมาเยี่ยมศิลา มาทีไร ศิลาหัวใจเบิกบานทุกทีค่ะ เหมือนมีญาติผู้ใหญ่มาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ตามมาอ่านหลายรอบแล้วค่ะ
  • เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง
  • ขอฝากร่องรอยว่า...เป็นกำลังใจค่ะ
  • รออ่านเรื่องเล่าจากหลวงพ่อปราโมทย์ค่ะ
  • ได้รับอภินันทนาการหนังสือของหลวงท่านจากคุณพรพลค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ศิลา  คิดถึงจังค่ะ

ขออภัยนะคะยังไม่ได้อ่าน

ตามเข้ามาส่งความคิดถึง

แต่จะตามเก็บความรู้ที่พี่ศิลาเอามาฝากนะคะ ^_^

พี่ศิลาสบายดีนะคะ

ขอบคุณมากครับ

ผมสนใจในฐานะที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ครับ

มีผู้คนกล่าวถึงมาก แต่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไร

สวัสดีค่ะ พี่ศิลา แวะมาเป็นกำลังใจให้..^^  คิดถึงเสมอค่ะ...

  • สวัสดีค่ะ คุณคนไม่มีราก P ชื่อตรงข้ามความเป็นจริงมากเลยค่ะ เพราะจริง ๆ แล้วได้หยั่งรากลึกในหัวใจของกัลยาณมิตรหลายคน ณ ที่แห่งนี้ค่ะ
  • ศิลาขอเพียงรอยยิ้มก็พอแล้วค่ะ สาเหตุที่ลงบันทึกแล้วเปิดเสียงเพลงก็เพราะทราบดีว่าบางเรื่องก็อาจจะเขียนไปเรื่อยเปื่อย ขอเพียงให้กัลยาณมิตรแวะมาฟังเพลงเพลิน ๆ ไม่เครียดจากการงานก็ดีใจแล้วค่ะ
  • เวลาลงบันทึกทีก็จะหาเพลงจนปวดหลังปวดเอว ฮ่า...เพราะว่าลืมไปหมดแล้ว ว่าเขาฟังเพลงอะไร ส่วนใหญ่จะเป็นเทปธรรมะ ...ไม่ได้เป็นคนดีอะไร ฟังเพราะต้องกล่อมใจเยอะ ๆ ทำงานที่มีความเสี่ยงสูงค่ะ
  • จะดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี ไว้รอจิบกาแฟร่วมกับคุณคนไม่มีรากค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณครูป้อม P คลำหากันจนเจอ (ระหว่างศิลากับคุณครูป้อม) ก็ไม่ธรรมดาแล้วค่ะ..แสดงว่าธรรมะจัดสรรให้เราได้มารู้จักกันเน๊อะ ...อิอิ แล้วจะบุกไปเยี่ยมที่โรงเรียนค่ะ
  • ท่านอาจารย์ Wasawat Deemarn P ทราบไหมคะ ว่าท่านอาจารย์เป็นยานอนหลับให้ศิลาแล้วค่ะ  จะบังเอิญหรืออย่างไรไม่ทราบ เขียนเม้นท์ตอบท่านอาจารย์เป็นเม้นท์สุดท้ายก่อนออกจากระบบทุกทีค่ะ
  • จังหวะมันลงตัว...ท่านอาจารย์จึงเหมือนเป็นยาชูกำลังใจให้ศิลานอนหลับสบายค่ะ...และอยากบอกว่าไม่จำเป็นว่าจะต้องมาอ่านบันทึกแล้วตอบเม้นท์เอาเนื้อหาสาระมาคุยกันหรอกนะคะ ศิลาเปิดเพลงประกอบให้ฟังกันเพลิน ๆ แวะมาฟังเพลงก็ได้ค่ะ  อยากทราบว่าเพราะไหม ทำให้หายเครียดบ้างไหม จะได้มีกำลังใจหลังคดหลังแข็ง ควานหาเพลงร่วมสมัย (ศิลาเอง) มาให้ฟังกันค่ะ
  • เพลงดอกอะไรของคุณศุ บุญเลี้ยงค่ะ เพราะไหมเอ่ย
  • ที่สำคัญ ลืมเสียมิได้ก่อนจากกันคืนนี้...แหม  อยากบอกว่าชอบเสียงหัวเราะนี้ค่ะ   อิ อิ หุ หุ อิ อิ แล้วก็ หุ หุ ;)..
  • เจอกันเมื่อไหร่ เลียนเสียงนี้เลยนะคะ 555 อยากฟังซ้ำ (เพลง)
  • หากย่องแวะมาทักทายยามดึกก็ขอให้นอนหลับฝันดีนะคะ

เข้ามาอ่านเก็บเกี่ยวความรู้เป็นประสบการณ์

พี่เป็น FA ฝึกหัด กระบวนการที่ทำในที่ทำงานเป็นแบบเรียบง่าย

เลือกที่ใช้ให้เนียนกับเนื้องาน ทำกระบวนการให้ง่าย เน้นปฏิบัติแบบธรรมชาติ

และใช้กระบวนกรฝึกหัดทั้งหลายถอดบทเรียน

เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้มากมายที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงานปีต่อไปค่ะ

เอ....มีโอกาสมาเชียงใหม่ ส่งข่าวกันบ้างนะคะ

ชื่อเพลง : ดอกไม้

ผู้ขับร้อง : ศุ บุญเลี้ยง

อัลบั้ม : ชุดลำลอง

 

จำปา ที่เด็ดมาเมื่อวาน..ก็บานไป
บอนไซ ที่ผู้ใดว่าหรู มันก็ดู..เล็กเกิน
ใบเฟิร์น มันก็คงไม่สวย
แพงพวย ก็เบ้อเร่อ

จะเอาดอกใดให้เธอ
ให้ตรงกับใจที่เพ้อ..ถึงเธออยู่

จำปี ที่เก็บมาให้เธอ..ก็ยังเชย
ใบเตย ที่ผู้ใดว่าหอม มันก็คง..หอมไป
ลำพู ที่คู่กรรมเขาใช้ ทำไมเราไม่เจอ

จะเอาดอกใดให้เธอ ให้ตรงกับใจที่เพ้อ..ถึงเธออยู่
ก็ได้แต่หา..มาหลายปี ดอกใดที่ดีจะมีให้เธอ
ไอ้ดอกที่ดี มันก็ยังไม่เจอ ... ที่เจอ มันก็ยังไม่ดี

solo

จะเอาดอกใด ให้เธอ ให้ตรงกับใจที่เพ้อ..ถึงเธออยู่

ก่อนนอนก็เลยละเมอ แต่งเพลงแบบนี้ให้เธอ..ฟังแทน
ก่อนนอนก็เลยละเมอ แต่งเพลงแบบนี้ให้เธอ..ฟังแทน

 

ขอบคุณท่านอาจารย์ศิลา Sila Phu-Chaya ที่ให้ความกรุณาต่อผู้ที่ไม่มีความรู้อย่างผม ให้แวะมาโดยไม่ต้องเม้นท์เรื่องราวในบันทึกครับ แบบนี้หายเกร็งครับ ;)

ตามมาร้องเพลงตามเนื้อเพลงของ อ.P Wasawat Deemarn

อิอิอิ

ว้าว มาอย่างไวครับ น้าอึ่งอ๊อบ คนสวย แซ่เฮ ;)

ฮัมเพลงยามดึกแบบนี้ เขาว่า "อายุยืน" แน่ ๆ ครับ

เป็น FA ตลอดชีวิตไปเลยครับ

  สวัสดีค่ะ  มาส่งกำลังใจก่อนนอน

ฝันดีหลับสบายนะคะ   คิดถึงนะคะ  แต่ไม่ค่อยว่างเลย

  จุ๊บ จุ๊บ                                               

  • เพิ่มเติม ตอบความเห็นของคุณหนานเกียรติ  Pขอแนะนำสถาบันฝึกอบรม Siam Enneagram Consulting  http://www.enneagram.co.th/ โดยคุณวาจาสิทธิ์ค่ะ
  • หากอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนี้ไปเรื่อย ๆ ก่อนก็ได้ค่ะ ยินดีเสมอค่ะ
  • ขอบพระคุณที่สนใจค่ะ

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้          ต่างผลัดกันเป็นครูรู้แล้วให้

ถอดบทเรียนวิจารณ์ประสานใจ        เรื่องถูกผิดมีได้ใช้เป็นครู

มาทักทาย ส่งยิ้ม ค่ะ

พร้อมกาแฟหอมกรุ่น...หลังอาหารยามบ่ายค่ะ

(^___^)

สวัสดี ครับ คุณ sila

เข้ามาทักทาย ด้วยความระลึกถึง

คนที่หัวใจ ...ยิ้มได้

มีความสุข ทุกวัน นะครับ

บอบช้ำ..ก็พักบ้าง ครับ

เอาดอกบัวมาให้ ครับ....เห็นมั้ย ครับ

สวัสดีค่ะคุณศิลา

มาเจอคุณแสงแห่งความดี กัลยาณมิตรพอดี....

ดีจังค่ะ....

มาอนุโมทนาสาธุกับการได้ไปปฏิบัติธรรมค่ะ ไม่ว่าอายุเท่าใด การปฏิบัติธรรม ถือเป็นสิ่งควรปฏิบัตินะคะ ก็ทีอาหารเราก็ยังทานทุกวันวันละหลายมื้อ อาบน้ำชำระร่างกายวันละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย แล้ว....จิตใจ เราจะไม่ให้เวลาบ้างหรือ....

ฝนตกทุกวัน ขับรถระมัดระวังด้วยนะคะ

รักษาสุขภาพและขอให้ได้สุขสงบกับการปฏิบัติธรรมค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ แวะมาบอกว่ามาอ่านสามรอบแล้ว คุณศิลาเป็นคนคิดอะไรได้ชัดเจน เห็นเป็นระบบที่ใส่ใจในรายละเอียดของความรู้สึก นำไปใช้ประโยชน์ได้เลยนะคะ ยอดเยี่ยมทุกบันทึก เช่นเดียวกับทุกบันทึกของคุณเอก พี่ดีใจมากที่การได้ร่วมงานกันทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นมากมายค่ะ

  • สวัสดีค่ะ คุณ น้าอึ่งอ๊อบ คนสวย แซ่เฮ P  ดีใจที่มีผู้ใหญ่ที่ศิลาเคารพนักถือมาเยี่ยมค่ะ  จากหัวใจของกระบวนกรมือใหม่คนนี้ ขอยอมรับว่าการเป็นวิทยากรไม่ยากเท่าการเป็นกระบวนกรค่ะ อิอิ...
  • สาเหตุว่าทำไม ย้าว ยาว...พยายามรวบรวมความคิดให้สั้นลงได้ว่าการเป็นกระบวนกรเน้นความเป็นธรรมชาติเนียนไปกับบริบทเหมื่อนที่คุณ น้าอึ่งอ๊อบ คนสวย แซ่เฮ กล่าวมา ดังนั้น จิตที่มีสมาธิ สงบ สว่างใส ณ ปัจจุบันนั้นสำคัญมาก การเข้าถึงใจของผู้เข้าร่วมในแต่ละขณะก็สำคัญที่สุดเช่นกัน  เราจะสร้างบรรยากาศแห่งความสุขให้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสภาวะอารมณ์ของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ ณ ปัจจุบัน
  • ในขณะที่ การเป็นวิทยากร เรามีการเตรียมตัวมาจากบ้านแล้ว อาศัยที่เราสั่งสมพอกพูนสิ่งที่เรารู้มาอย่างดีที่สุดมาถ่ายทอดเป็นหลัก การที่เราวสู่การเป็นวิทยากร นั้นคือการเน้นที่ความรู้ที่เรามีอยู่  จึงไม่ต้องอาศัย หรืออิงกับการเข้าถึงความเป็นธรรมชาติของผู้เข้าร่วม หรือสภาวะของ I in now มากเท่ากับการเป็นกระบวนกร
  • ศิลาจึงเห็นว่าการเป็นกระบวนกรที่ดี (ของศิลาเองนะคะ) ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ... การเตรียมความรู้ไม่มากเท่ากับการเตรียมความพร้อมทางอารมณ์ อันนี้ตอบตามจริตของกระบวนกรที่มีลักษณะแบบศิลาเองค่ะ 
  • สุดท้ายนี้ ดีใจค่ะที่ได้เคล็ดลับวิชาไหมฟ้าค่ะ  

    พี่เป็น FA ฝึกหัด กระบวนการที่ทำในที่ทำงานเป็นแบบเรียบง่าย

    เลือกที่ใช้ให้เนียนกับเนื้องาน ทำกระบวนการให้ง่าย เน้นปฏิบัติแบบธรรมชาติ

  •  

    ศิลาว่าน่าจะเป็นคำตอบสุดท้ายของการทำหน้าที่กระบวนกรนะคะ
  • ตั้งใจเหมือนกันค่ะ ว่าจะเป็นแอ่วเชียงใหม่สักครั้งค่ะ ชอบอาหารหลายอย่างของเชียงใหม่ค่ะ และชอบชอบปิ้งถ่ายรูปชุดไทยสาวเหนือค่ะ คงต้องรีบไปก่อนที่จะถ่ายไม่ขึ้นค่ะ ฮ่าๆๆๆ

  • แก้คำพิมพ์ผิดค่ะ การที่เราก้าวสู่การเป็นวิทยากร
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์ Wasawat DeemarnP สำหรับเนื้อเพลงให้ร้องคลอตาม  ศิลาเป็นคนที่ไม่ค่อยมีความละเอียดเท่าไหร่ แต่มีความรอบคอบ ฮ่าๆๆๆๆ  ใส่แต่เสียงเพลง ไม่ใส่เนื้อ เพราะเกรงว่าจะเบี่ยงเบนความสนใจไปที่เพลงมากเกินไปจนลืมเรื่องราวที่อยากนำเสนอผ่านบันทึกนี้ค่ะ
  • อย่างไรก็ตาม ท่านอาจารย์เป็นบุคคลที่ได้รับเชิญให้มาเยี่ยมชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมาเพียงแค่เสียงหัวเราะก็ยังดีค่ะ ฮ่าๆๆๆ
  • พอใจแล้ว
  • สวัสดีค่ะ คุณครูป้อม P ไม่ว่างคือกันเลย มาแป๊บๆ แบบนินจาฮาโตริค่ะ  ขอบพระคุณนะคะที่อุตส่าห์คิดถึงเสมอ ติดไว้ก่อนนะคะ แล้วจะไปเยี่ยม ขอเก็บความคิดถึงไว้ในใจก่อนแล้วจะไปแสดงออกให้ปรากฎค่ะ อิอิ

มาส่งยิ้มให้คุณ sila

วันนี้ เปิด net ค้างไว้ ครับ

นั่งวิเคราะห์ ข้อมูลงานวิจัยอยู่

สลับมาเจอ คุณ sila เลยถือโอกาส ระหว่างที่อาจารย์ was ไม่อยุ่ ครับ

ล้อเล่น...กับอารมณ์ บ้างก็มีความสุขดี นะครับ

ด้วยความระลึกถึง

 

  • ขอบพระคุณคุณ  ธวัชชัย แสงจันทร์ คนทำงานสนับสนุนบริการสาธารณสุข ที่กรุณาแวะมาเยี่ยมค่ะ อ่านผ่านตัวอักษร เข้าใจได้ 10 เปอร์เซ็นต์นับว่าเยอะแล้วค่ะ เพราะส่วนใหญ่คนทำงานเวลาน้อย อ่านผ่านตามากกว่าผ่านสมอง
  • สิ่งที่ศิลาเขียนไว้ส่วนใหญ่ เป็นการเก็บรวบรวมการถ่ายทอดความคิดของตัวเองออกเป็นตัวอักษร และหวังเพียงจะมีการแลกเปลี่ยนให้เกิดการต่อยอดกันไปเรื่อย ๆ
  • การปรากฎเป็นตัวหนังสือในบันทึกนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและบริบทที่เหมาะสม จึงไม่ควรเก็บไปทำความเข้าใจทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์นั่นแหละ  ดีที่สุดค่ะ
  • ศิลาชอบถ้อยคำของคุณครูต้อย P ขอยกมากล่าวอีกครั้งค่ะ
  • เหมือนและคล้ายเวลาอยู่กับคุณครูแนะแนวค่ะ

    อบอุ่นจากใจจริงของคุณครู

    และเมื่อสัมผัสพบความเป็นกันเองความไว้วางใจที่มีให้กัน

    ก็ไม่มีทำนบใดๆมากางกั้น

    เราและเขาจึงสัมผัสกันด้วยเสียงจากภายใน

    และสานต่อด้วย.....

  • จะคิดทำอะไรก็ตาม หากอาศัยความไว้วางใจ ไม่ตัดสิน มีแต่ความสุขสำราญและได้งานออกมาเองอย่างที่ไม่คาดหวังเสมอค่ะ

  • ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับกำลังใจที่งดงาม

ขออนุญาต ลปรร ด้วยครับ

    ผมเอง ทั้งเคยเป็นผู้เข้าร่วมวง และ เป็นผู้จัดวง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้

    สิ่งที่เกิดขึ้นกับตั้วเอง คือ รู้ว่าตัวเอง

   1. เร็ว ( เป็นข้อที่เป็นอุปสรรค ในการ ลปรร)

   2. ต้องปรับให้ช้าลง

   3. ต้องใคร่ครวญให้มากขึ้น

      ( อาจจะไม่ค่อยเป็นหลักวิชาอะไรนะครับ เขียนจากประสบการณ์)

  • ศิลาขออนุญาตใช้คำตอบเดียวกันที่ตอบท่านอาจารย์นพลักษณ์ 10 นะคะ พี่ ครูคิม เข้าใจไม่เข้าใจ ไม่เป็นไรค่ะ อยากให้แวะมาผ่อนคลาย ฟังเพลงสบาย ๆ ที่ศิลาไปขุดกรุมาฝากค่ะ อิอิ ความรู้ไม่สำคัญเท่ากับความรักที่นำมาฝากผ่าน "ดอกไม้" จากเพลงคุณศุค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุณครู เทียนน้อย ฤดูฝนยังไม่หมด ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ ใกลิปิดเทอมแล้ว จะได้เที่ยวสมใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท