กำหนดการโครงการประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 5 หัวข้อ “EU Watch มองยุโรปผ่านไทย: มุมมองพัฒนาการยุโรปที่ควรเรียนรู้เพื่อพัฒนาประเทศไทย”


กำหนดการการประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 5

หัวข้อEU Watch มองยุโรปผ่านไทย: มุมมองพัฒนาการยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2552 เวลา 13.30-17.00 น.

ณ ห้อง 221 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

 

13.15-13.30 น.

·       ลงทะเบียน

13.30-13.40 น.

·       กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ โครงการ Monday Meeting ครั้งที่ 5”

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์  

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13.40-13.50 น.

·       นำเสนอถึงภาพรวมและวัตถุประสงค์ โครงการติดตามพัฒนาการในยุโรปภายใต้โครงการ Global Intelligence Unit (Europe Watch)” หรือ Flagship Project

โดย อาจารย์กษิร ชีพเป็นสุข

อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

13.50-15.00 น.

 

·       เวทีการสัมภาษณ์ และการเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ในการดำเนินยุทธศาสตร์และนโยบายต่างประเทศของไทยต่อยุโรป

ในประเด็นดังนี้

1. ในการทำงานของท่านอาจารย์ ในด้านสิทธิมนุษยชน (ของคนไร้รัฐ ปัญหาเรื่องสัญชาติ แรงงานต่างด้าว หรือสิทธิเด็กก็ตาม) มีความเกี่ยวข้องกับภูมิภาคยุโรปในด้านใดบ้าง และท่านอาจารย์มีความสนใจในภูมิภาคยุโรปในด้านที่เกี่ยวกับการทำงานอย่างไรบ้าง

2. ในการทำงานของท่านอาจารย์ เคยร่วมมือกับภาครัฐในโครงการใด และหากท่านอาจารย์ประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานหรือการวิจัย ได้แก้ปัญหาโดยขอความร่วมมือหรือคำปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐบ้างหรือไม่

3. ท่านอาจารย์เห็นว่า ในภูมิภาคยุโรปนั้น มีองค์ความรู้หรือนวัตกรรมทางด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นใดบ้าง ที่ไทยน่าจะนำมาใช้ หรือเรียนรู้จากยุโรปได้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในไทย

4. หากมีการนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ ท่านอาจารย์คิดว่ามีข้อควรระวัง หรือมีข้อจำกัดในการนำมาใช้ในสภาพเศรษฐกิจสังคมไทยอย่างไร

5. ท่านอาจารย์คิดว่าในความสัมพันธ์ไทย-ยุโรป ประเด็นใดน่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่สุดที่รัฐบาลควรให้ความสนใจอย่างเร่งด่วน และน่าจะเป็นเป้าหมายระยะสั้นในยุทธศาสตร์ไทย-ยุโรปได้

6. สำหรับเป้าหมายในระยะยาวในยุทธศาสตร์ไทย-ยุโรป ท่านอาจารย์คิดว่ากระทรวงต่างประเทศน่าจะกำหนดประเด็นใดไว้ และทำให้สำเร็จได้

7. ท่านอาจารย์คิดว่าในความสัมพันธฺ์ไทย-ยุโรป ยังมีประเด็นใดที่เป็นอุปสรรคหรือความท้าทายอยู่บ้าง และบทบาทของกระทรวงต่างประเทศในการบรรเทาอุปสรรคเหล่านี้ควรเป็นเช่นไร

โดย อาจารย์กษิร ชีพเป็นสุข

อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์                   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้สัมภาษณ์

และ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์  

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ตอบคำถามและเสนอข้อคิดเห็น

15.00-15.30 น.

·       เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะทำงานโครงการติดตามพัฒนาการในยุโรปภายใต้โครงการ Global Intelligence Unit (Europe Watch)

15.30-15.40 น.

·       กล่าวสรุปประเด็นการให้สัมภาษณ์

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์  

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 15.40-16.50 น.

·       การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับมวลมิตรทางวิชาการด้านสถานะบุคคลในหัวข้อ สิ่งที่สนใจในยุโรป เพื่อพัฒนาการของประเทศไทยในวันข้างหน้า             

 16.50-17.00 น.

·       กล่าวปิดการเสวนา

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์  

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดยคุณปุณฑวิชญ์ ฉัตรมงคลชาติ

นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท