แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

กิจกรรมเยี่ยมชมและพูดคุยกับคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2552



(เข้าดูรูปทั้งหมดที่นี่)

Q ; "พวกเราคือนักเขียนนั่นแหล่ะ จะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้อ่านอ่านงานเขียนของเรา"
A ; "ใช่ พวกเราคือนักเขียน และเป็นความฝันของพวกเราที่อยากเขียนงานออกมาและมีคนอ่าน แต่พวกเราทำได้ดีที่สุดก็คือ เขียน ขยันฝึกฝนการเขียน ขยันอ่าน เพื่อฝึกฝนตัวเราเองด้วยความอดทน"

นั่นคือคำตอบที่สรุปได้จากการพูดคุยกับคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา (แนะนำนักเขียนที่นี่ค่ะ) สำนักพิมพ์ OPEN (เข้าที่นี่)  เมื่อครั้งไปร่วมงาน "เยี่ยมบ้านนักเขียนของ จิตอาสา วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคมนี้" (เข้าอ่านบันทึกนี้ของเครือข่ายจิตอาสาที่นี่)

การไปร่วมงานครั้งนี้ ตั้งใจเพียงไปฟังประสบการณ์นักเขียนรุ่นใหม่คนหนึ่ง อยากฟังมุมมองในการเขียนงานเพื่อให้กลุ่มผู้อ่านระดับกลางขึ้นไปอ่าน พยายามทำตัวเองให้เป็นแก้วเปล่ามากที่สุด

คุณภิญโญชี้ชวนให้เห็นว่า
เคล็ดวิชา คำสอนที่เรียบง่าย จะหลุดออกจากการพูดคุยกับผู้รู้ที่หลากหลายนั่นเอง 
และเมื่อมีอะไรอยากเขียนก็เขียนออกมา
สิ่งที่สามารถฝึกฝนการเขียนได้ดีที่สุดก็คือ ประสบการณ์ตรง ซึ่งถ้าไม่มีเราก็คงไม่สามารถเขียนได้ดี

ผลของการคลุกคลีกับความจริง เป็นวิธีที่ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น รวมทั้งการสะลัดความกลัว วิตกกังวล กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง และก้าวออกจากเส้นทางชีวิตเดิมๆ

ถึงแม้การก้าวเดินของตัวเองนั้น จะมีจุดหมายที่ชัดเจนแล้ว ก็ไม่ควรที่จะมุ่งตรงไปยังจุดหมายปลายทางเสียทีเดียว หันมองสองข้างทางระหว่างทางเดินด้วย เราอาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของเราจากสองข้างทางนั้นเช่นเดียวกัน

จากการดำเนินชีวิตในมุมของปุถุชน และร่วมสนทนากับผู้รู้มากมายในสังคมไทย ทำให้มุมงานของคุณภิญโญเป็นเฉพาะกลุ่มผู้สนใจรูปแบบงานเขียนที่ต้องการความรู้อย่างจริงๆ จังๆ ผู้ที่หยิบจับงานเขียนของสำนักพิมพ์ Open ก็เป็นเฉพาะกลุ่มด้วยเช่นกัน

ดูคุณภิญโญ ก็ยอมรับเช่นกันว่า สำนักพิมพ์ของตัวเองไม่ได้เป็นที่รู้จักของแวดวงนักอ่านมากนัก และเป็นเฉพาะกลุ่มจริงๆ แต่ตัวเองก็มีความสุขกับการทำงานรูปแบบนี้

แต่จากงานเขียนแต่ละเล่ม ของนักเขียนแต่ละคน ดูแล้วไม่ได้เล็กตามรูปภายนอกของสำนักพิมพ์เลย การกลั่นกรองนำนักเขียนแต่ละคนมาร่วมกันเสนอมุมมองความคิดออกมานั้น ดูน่าสนใจทีเดียว

แม้แต่การสะท้อนเอกลักษณ์ของเจ้าสำนัก จะเห็นได้จากเมื่อเดินเข้าสำนักพิมพ์ ก็สะท้อนออกมาอย่างเด่นชัด การตบแต่งที่เป็นเฉพาะตัว ทั้งมุมที่วางงานศิลปะบางชิ้นที่คิดว่าไม่น่าจะมี หรือแม้แต่การวางกระจกในระดับสายตามอง ที่ผนังใต้บันได เพื่อทำให้ดูเหมือนห้องที่กว้างขึ้น ดูโปร่ง และไม่อึดอัดมากนัก

รวมทั้งบรรยากาศการจัดสถานที่นั่งพูดคุย ที่เป็นกันเอง แต่ดูเหมือนว่าใครมาทีหลังนั่งหน้าค่ะ ตามสไตล์คนไทย

ไม่แปลกใจกับการวางตัวของคุณภิญโญ เมื่อได้สนทนาไปชั่วครู่จึงได้ทราบว่า จากการที่ได้พูดคุยกับผู้รู้หลายคนที่แต่ละคนก็เป็นบุคคลที่วางตัวเป็นกันเองเช่นกัน จึงทำให้การสะท้อนภาพภายในของคุณภิญโญที่เป็นกันเองเช่นเดียวกัน ความรู้ที่ถ่ายทอดก็เป็นบรรยากาศของพี่แลกเปลี่ยนกับน้องๆ สนทนาในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

มีเคล็ดวิชาแอบปิดท้ายค่ะ
คุณภิญโญแนะนำว่า เราควรออกแบบห้องสมุดส่วนตัวของเราเอง ตามความสนใจของเรา เช่น หนังสือที่เราอ่าน , หนังสือที่เราสนใจ ยิ่งตอนนี้เรามีเครื่องอำนวยความสะดวกส่วนตัวคือ คอมพิวเตอร์ เราก็ยิ่งสะดวกในเก็บรวบรวมคลังส่วนตัวของเราได้เยี่ยมค่ะ

แนบท้ายด้วยบันทึกของจิตอาสา (เข้าที่นี่) และภาพบรรยากาศโดยรวมค่ะ (เข้าที่นี่)

 

หมายเลขบันทึก: 292137เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ แตงไทย

        แวะมาอ่านความคิดของคุณภิญโญครับ

        การได้สนทนากับผู้มีปัญญานี่ถือว่าเป็นโชคดีอย่างหนึ่งนะ ผมเองเคยอ่านสัมภาษณ์คุณภิญโญใน นิตยสาร สารคดี ครับ

สวัสดีค่ะ อ.บัญชา

ดีใจจังค่ะ ที่อาจารย์แวะเข้ามาทักทาย

ได้ติดตามข่าวคราวของอาจารย์เช่นกัน ล่าสุดอาจารย์ขึ้นเวทีบรรยายกับอ.สุัลักษณ์ใช่ไหมคะ เกี่ยวกับเรื่องจิตอะไรนี่แหล่ะ พยายามหาข่าวไม่เจอแล้วค่ะ แต่จำได้เลาๆ ค่ะ

ส่วนงานสัมภาษณ์คุณภิญโญ แตงต้องไปหาอ่านเพิ่มเติมค่ะ
รู้สึกว่า ทำไมเวลาตัวเองน้อยจัง เพราะมีความรู้เยอะแยะที่อยากรู้
โลภมากค่ะ อาจารย์

และล่าสุดแตงได้ไปร่วมงานกับน้องๆ ชมรมพับกระดาษเมื่อต้นเดือนนี้เองค่ะ
บรรยากาศน่ารักมากเลยค่ะ

อาจารย์รักษาสุขภาพมากๆ นะคะ

 

ชี้แจงเพิ่มเติมจากที่ อ.บัญชา แวะเข้ามาทักทายค่ะ

งานเสวนาที่ อ.บัญชา ร่วมงาน
"พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ความเหมือนในความต่างระหว่างจิตวิญญาณและควอนตัม"

ในหัวข้อบันทึก
เสวนา : พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ จัดโดย สนพ. สวนเงินมีมา (เข้่าที่นี่ค่ะ)

 

 

แวะมาทักทายน้องแตงไทยค่ะ สบายดีนะคะ พี่มีห้องสมุดส่วนตัวเยอะเลยค่ะ

สวัสดค่ะ คุณ naree

ขอบพระคุณมากนะคะ ที่แวะเข้ามาทักทายค่ะ
แตงก็มีเช่นกันค่ะ จะหยิบบริจาคก็เสียดายเพราะแต่ละเล่มเสาะแสวงหามากว่าจะเจอค่ะ
มีอะไรร่วมแบ่งปันก็ยินดีนะคะ

ร่วมกันยิ้มและกอด เพื่อนใจค่ะ

รักษาสุขภาพกายใจให้เข้มแข็งและแข็งแรงเสมอนะคะ

 

ดีมากเลยครับ สำหรับแง่คิด เราจำเป็นต้องมีห้องสมุดชีวิตที่นำมาบอกเล่าด้วยปลายปากกา งานเขียนย่อมคู่กับประสบการณ์

อย่างที่ท่านกล่าวมาแน่นอน ถูกต้อง...ถูกต้อง เราต้องมองข้างเส้นทางที่เราเดินด้วย อย่าเป็นเสมือนกับม้าลำปาง

ขอบพระคุณ คุณชนะ มากค่ะ
ที่ร่วมเข้าแบ่งปัน ความคิดเห็น

เชิญชวนให้ข้อชี้แนะ สำหรับนักเขียน...ทั้งหลายนะคะ
เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาตัวเองต่อไปค่ะ
ขอบพระคุณล่วงหน้าอีกครั้งนะคะ

รักษาสุขภาพกายใจตัวเองมากๆ นะคะ

การเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยวิธีการ สร้าง มายาวาทะกรรม เป็นหลักประกันว่า ทุกยุทธศาสตร์ มีวาระซ่อนเร้นทุกนโยบาย ไม่มีทางขับเคลื่อนเศราฐกิจได้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท