การจัดการความรู้ในองค์กร


แม้เป็นแค่เพียงเอกสาร แต่ก็ก่อให้เกิดการจัดการองค์ความรู้ได้
สวัสดีเพื่อนๆชาว MBAทุกคนครับ หลังจากเรียนวิชา Knowledgement ไปแล้ว 2ครั้ง เพื่อนๆก็พอจะไอเดียและความรู้ในเรื่องของการใช้ Blogกันมากขึ้น  รวมไปถึงการใช้ Blogกับการจัดการองค์ความรู้ที่เป็นสิ่งที่อาจารย์ได้ให้เราทำกันอยู่ขณะนี้ ว่าแต่ เอ...ช่วงนี้รู้สึกพวกเราจะยุ่งๆอยู่กับการคิดหัวข้อ และการหาข้อมูล Minor Thesis จนไม่ค่อยจะได้มีเวลาสนุกสนานกันเหมือนอย่างเคย เทอมนี้ก็เป็นอีกเทอมหนึ่งที่คิดว่างานจะเยอะเหมือนเช่นเทอมที่ผ่านมา  เอาล่ะครับเขียนไปบ่นไปมานาน เข้าเรื่องกันดีกว่า  วันนี้ผมจะเขียนถึงการจัดการความรู้ในองค์กรที่ทำอยู่กัน โดยจะขอยกตัวอย่าง
               การจัดการความรู้ในองค์กรที่ผมเคยทำงานอยู่ ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการจัดการด้วยระบบต่างๆอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ด้านคุณภาพหรือด้านความปลอดภัยอาทิเช่น  TQM,TPM,QCC,ISO 9000,ISO 14000 เป็นต้น  แต่สิ่งที่จะกล่าวถึงวันนี้ก็คงไม่ใช่เรื่องวิชาการหนักๆ   แต่เป็นสิ่งที่ผมคิดว่ามันมีประโยชน์เลยทีเดียวสำหรับสิ่งดังกล่าวนั้นถือเป็นเครื่องมือหนึ่งการจัดการองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ(ในความคิดของผู้เขียน)เจ้าเครื่องมือตัวนี้นั้น ผมเรียกมันว่า "Procedure"ครับ  อย่าเพิ่งแปลกใจว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร  ผมจะอธิบายให้ฟัง.........เรื่องมันก็มีอยู่ว่า.......
                จากการที่บริษัทฯได้ส่งผมไปอบรมและสอบผู้ตรวจติดตามภายใน (Internal Auditor)ซึ่งจะต้องมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับเรื่องของ  ระบบคุณภาพ     ISO9000 ซึ่งมีข้อกำหนดบางข้อของระบบคุณภาพ ISO9000 ที่ว่าด้วยเรื่องของงานเอกสารที่เรียกว่าการจัดทำ  Procedure ซึ่งสำหรับผมนั้น ส่วนหนึ่งผมคิดว่ามันถูกออกแบบมาเพื่อการจัดการองค์ความรู้  โดยไม่ว่าจะเป็น Procedure ในด้านไหนๆก็ตามมันถูกสร้างมาเป็น Guideline ให้กับเราในการทำงาน โดยที่เราไม่ต้องยึดติดกับตัวบุคคลว่าคนนั้นคนนี้จะต้องอยู่กับองค์กรเพราะถ้าขาดคนๆนั้นไปเราจะทำงานกันไม่ได้ (ในที่นี้จะต้องกล่าวถึงเฉพาะตำแหน่งงานทั่วที่ไม่ใช่ตำแหน่งที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นพิเศษนะครับ) เพราะเจ้า Procedureที่ว่านี้มันจะเป็นตัวที่สามารถตอบคำถามเราได้เมื่อ ต้องการรู้ว่า องค์กรนี้ที่คุณได้ทำงานอยู่เค้ามีระบบมีขั้นตอนการทำงานกันอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ในฝ่ายผลิต ก็จะมี Procedure ในเรื่องการผลิต  ซึ่งภายในก็จะมีการระบุถึง วิธีปฎิบัติ ขั้นตอนการปฏิบัติงานของพนักงาน ระบุผู้รับผิดชอบในสายงานนั้นๆ ซึ่งจะอ้างอิงต่อมายัง
Process Flow และ Work Instruction กล่าวคือใครๆก็สามารถทำงานตามระบบได้หากผ่านการฝึกอบรมในขั้นต้นมาแล้ว
               ฉะนั้นพอจะเห็นความสำคัญของ Procedure กันบ้างไหมครับ  ผมถือว่า Procedure ก็เปรียบได้เหมือน  Bible ขององค์กรเลยทีเดียว เพราะมันได้กำหนดทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรไว้หมดไม่ว่าจะเป็นทั้งทางตรงหรือทางอ้อม     แต่ปัญหาก็คือหน่วยงานหรือองค์กรนั้นจะเห็นคุณค่า เห็นความสำคัญในการปฏิบัติตาม Procedureมากน้อยแค่ไหน เพราะลำพังแค่เพียงการจัดทำ Procedure ขึ้นมาแต่ไม่ได้ยึดถือปฎิบัติตามอย่างเป็นจริงเป็นจังก็ไม่สามารถเห็นประโยชน์จากมันได้  บางคนคิดว่า Procedure เป็นเพียงเอกสารเท่านั้นจัดทำขึ้นมาเพื่อให้ถือว่าได้ทำตามข้อกำหนดของ ISOไม่เห็นมีประโยชน์  ผมอยากจะบอกคนเหล่านั้นว่า "มีของดีก็ต้องรู้จักใช้ให้เป็น"มันถึงจะเกิดประโยชน์ 
          วันนี้ผมก็เพียงอยากจะโยงเรื่องของการวางระบบที่เป็นโครงสร้างสำคัญในการดำเนินงาน  ซึ่งแม้เป็นแค่เพียงเอกสาร แต่ก็ก่อให้เกิดการจัดการองค์ความรู้ได้
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 292เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2005 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท