การสร้างสรรค์ชุมชน : มรรคพัฒนาของท่านพระครูปลัดธรรมจริยวัฒน์


เมื่อเรามองที่งาน เราก็จะเห็นคน จากนั้นเราจะเห็นกระบวนการทำงาน ทั้งจักมองเห็นธรรมทั้งปวงที่ดำรงความเป็นทั้งหมดไว้ ตรงนี้คือยุทธศาสตร์ การพัฒนา และคือการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาไปใช้เพื่อเป้าหมายคือชีวิตงาม

การสร้างสรรค์ชุมชน : มรรคพัฒนาของท่านพระครูปลัดธรรมจริยวัฒน์

นายไข่เคว็ด บ้านโคกหม้อ
(ศศ.ม. สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา)

             ร่วมสิบเจ็ดปีของชีวิตที่อยู่จำพรรษา ณ วัดมะม่วงทอง
ในฐานะ “สมภาร”  จากวัยภิกษุหนุ่มอายุ ๒๒ ปี พรรษา ๓ เมื่อปี
พุทธศักราช ๒๕๓๕ จนบัดนี้ พุทธศักราช ๒๕๕๒  พรรษาที่ ๒๐
งานพัฒนาสร้างสรรค์วัดและชุมชนของท่านพระครูฯ  งอกงามทั้ง
วัตถุธรรมและจิตธรรม ทั้งหมดเกิดขึ้น ดำรงอยู่ก็ด้วยบุญและธรรม
ของเราชาวพุทธทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถชน อันมีองค์สมเด็จ
พระพุทธศาสดา พระพุทธธรรม พระอริยสงฆ์ องค์รัตนะทั้งสามอัน
เป็นที่พึ่งสูงสุด เป็นองค์รวมแห่งการกระทำให้เต็มรอบเต็มเปี่ยม
ของทุกอย่าง


              ท่านพระครูฯ ได้อาศัยองค์ความรู้จากพุทธธรรม
องค์ความรู้จากบูรพาจารย์ ปุพพการี มิตรญาติและการเรียนรู้ชีวิต
การเรียนรู้งานพัฒนาจากการทำงาน และได้ใช้องค์ความรู้ที่หลาก
หลายเข้ามาเชื่อมโยงผสานให้เกิดความบรรสาน สอดคล้อง สมดุล
ในกระบวนการงานแต่ละอย่าง
              การเดินทางของความคิดเกิดขึ้นอยู่ทุกขณะ เฝ้าเพ่งมอง
สภาพการณ์ บุคคล ชุมชน ขวนขวายการงานพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่าง
ไม่ละทิ้งช่วงระยะ บางช่วงทำการงานวัด บางช่วงทำการงานโรงเรียน
บางช่วงทำการงานของหมู่บ้าน ทำไปตามกาละและเทศะที่สมควรแก่
การกระทำ ไม่เร่งรีบ ไม่ล่าช้า แต่เมื่อหยิบยกโครงการใดๆ ขึ้นมา
กระทำ ก็จักทำงานนั้นๆ ให้เสร็จสำเร็จตามประโยชน์ในช่วงเวลา
ไม่นานเนิ่น


              กระบวนการพัฒนาแบบ “บวร” อันเป็นภูมิปัญญาไทยสยาม
ดั้งเดิม ยังมีศักยภาพในการเติมเต็มความอุดมสมบูรณ์แก่หมู่บ้านอันมี
หมู่คนผู้ถือธรรมเป็นเครื่องประพฤติ ผู้คนอยู่ในหมู่บ้าน การงานอยู่กับ
หมู่บ้าน ความสุขสัมบูรณ์อยู่กับคนของธรรม
              ความจำเริญเติบโตของวัตถุธรรมที่พอเพียงก็เกิดตามกระบวน
การคิดแบบวิถีพุทธที่ดำรงอยู่ดั้งเดิมอย่างเรียบง่าย งดงาม  คนสร้างงาน
งานสร้างคนเป็นกระบวนการเดียวกัน เป็นไม้แบบ แม่แบบที่สนธิกระทบส่ง
ต่ออย่างสืบเนื่อง


              ที่กล่าวนี่ถือว่าเป็นหลักคิดในการทำงานพัฒนาในระดับพื้นฐาน
ที่สุดและก่อให้เกิดความแข็งแกร่ง เพราะกระบวนการคิดที่เป็นระบบโดยรวม
เอาความหลากหลายเข้ามาสู่องค์รวม วิเคราะห์แยกแยะ เชื่อมข่ายโยงใย
ชักโยด ตอบโต้ไปมาอยู่ในกันและกันอย่างพอดี ทำให้เกิดการพัฒนาที่
พอเพียง
               มรรควิธีในการพัฒนาบ้าน วัด โรงเรียนอิงอยู่เสมอกับมรรควิถี
แห่งธรรมและไม่สามารถแยกขาดจากธรรมทั้งปวง
 การสร้างสรรค์ชุมชนเกิดขึ้นในทุกที่ๆ มีผู้คนอาศัยดำรงชีพไม่ว่า
รอบเมืองในเมืองน้อยใหญ่ หรือในชนบทไกลกันดารเพียงใด แม้กระทั่งใน
โลกไอทีที่เสมือน ว่ามีผู้คนวิ่งวนไปมาอยู่จริงๆ  มนุษย์คือผู้สร้างสรรค์โดย
อิงอาศัยธรรมชาติ ๒ อย่าง คือธรรมชาติของวัตถุกับธรรมชาติของจิต
บ้างก็มุ่งไปในทางสร้างจิตอย่างเดียว บ้างก็มุ่งไปในทางสร้างวัตถุอย่างเดียว
      แต่ในที่สุดแล้วก็ต้องหันกลับมามอง และกระทำในสิ่งทั้งสองไปพร้อมๆ กัน  ก็เหมือนกับคราครั้งที่เราใช้ตัวแบบการ พัฒนาจากตะวันตกโดยละทิ้งภูมิปัญญาตะวันออกไปชั่วช่วงแล้วหันกลับมาทบ ทวนตนเอง   กระบวนการและวิธีคิดในการพัฒนาจึงเกิดใหม่ เติบโตออกมาจาก ชุมชน ประกาศศักยภาพอีกครั้งโดยชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ทำมาหากินกับพื้นที่โดยอาศัยองค์ธรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ปฏิบัติ


           แต่ละคนแต่ละท่าน ทำงานด้วยแรงกายแรงใจแรงสติปัญญา และ
แรงเกื้อกูลซึ่งกันและกันโดยไม่เอารัดเอาเปรียบ กระทำงาน เลี้ยงชีพ
ช่วยเหลือเสริมส่งกันและกันอย่างอาทรกรุณาเพราะเป็นอยู่กับพระธรรมคือสิ่งปวงอย่างแจ้งชัดในกระบวนธรรม
           มองมาที่งานพัฒนาของท่านพระครูฯ วัดเจริญก้าวหน้าไปพร้อมๆ
กับโรงเรียนอันเป็นที่ขัดเกลาและให้การเรียนรู้ อีกทั้งบ้าน ท่านก็ให้ความสำคัญในการพัฒนา โดยประสานงานติดต่อในการก่อสร้างถนนหนทางให้เกิดความสะดวก เกื้อหนุนให้ชาวบ้านได้บำเพ็ญบุญกุศลทั้งทาน ศีล การเจริญภาวนา ไหว้พระสวดมนต์  หาทุนซื้อที่ดินและสร้างอาคารเรียน ทูลขอประทานศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว มาดำเนินงานที่โรงเรียนวัดมะม่วงทองหลังเก่าทั้งหมดสรรประโยชน์ให้เกิดแก่ชุมชนทั้งวัตถุธรรมและจิตธรรมโดยแท้
         เมื่อเรามองที่งาน เราก็จะเห็นคน จากนั้นเราจะเห็นกระบวนการทำงาน
ทั้งจักมองเห็นธรรมทั้งปวงที่ดำรงความเป็นทั้งหมดไว้ ตรงนี้คือยุทธศาสตร์การพัฒนา และคือการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาไปใช้เพื่อเป้าหมายคือชีวิตงาม
 
 

** ตีพิมพ์ใน นิคมคำสังฆพัฒนา "เจดีย์ศรีรัตนธัช"
                 หนังสืออนุสรณ์พิธีเปิดเจดีย์ศรีรัตนธัช
                 พิพิธภัณฑ์ชุมชน อุทยานการเรียนรู้
                 ศูนย์ ๓ วัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ปากพูน
                 และสวนสมุนไพรสานสายใยรัก

                 วัดมะม่วงทอง  ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
                 ๒๕๕๒

 

คำสำคัญ (Tags): #สหคาม (community)
หมายเลขบันทึก: 291724เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หวัดดีครับ หลวง ฮาย ทั้งชื่อ ทั้งนามกุล ชาดตั้งได้แรงอกนิ

ปากพูน กับปากยูน คนจำผิดกันบ่อย นึกว่าแห่งเดียวกันยินดีร่วมลปรรครับหลวง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท