ชีวิต, ระบบ, และทฤษฎีเกม


ผมเป็นนักทฤษฎี!

ผมมักจะมองโลกด้วยทฤษฎีที่ตนศึกษามา นำทฤษฎีที่เีรียนรู้มาทั้งชีวิตมาอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง และสังคม  ... ผมเคยเขียนบทความที่ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในการมองโลกอยู่สองสามเรื่องใน researchers.in.th 

 

สองเรื่องนี้เป็นการใช้ "ทฤษฎีเกม" ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก ในสังคม ซึ่งหลักการของทฤษฎีเกมคือการมองระบบเป็นสิ่งที่เรียกว่า "เกม" คนที่อยู่ในระบบถือเป็น player (ผู้เล่นเกม) และมุมมองของการมองระบบจะเป็นแบบ incentive-driven (แรงจูงใจเป็นตัวขับเคลื่อนการกระทำ)  เรื่องพวกนี้อาจจะอ่านยากเสียหน่อย หากผู้อ่านสงสัยตรงไหน ถามได้เลยนะครับ ผมเต็มใจตอบทุกคำถาม 

ทฤษฎีเกมจะมองที่แรงจูงใจของคน ในขั้นแรกจะมีการนิยาม "ผลประโยชน์" ของคนในระบบให้ชัดเจน แล้วก็วิเคราะห์ว่า หากคนในระบบประพฤติตนไปในทิศทางที่ทำให้ผลประโยชน์ของตนเองสูงสุด ผลลัพท์ของระบบจะเป็นอย่างไร 

ทฤษฎีเกมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในชีวิตจริง และถูกทำมาใช้ในเรื่องของทำธุรกิจ และ ออกแบบกฏระเบียบขององค์กร   จริงๆแล้วผมมีเรื่องที่ผมอยากจะเขียนทั้งหมดประมาณ 10 เรื่องในหัวข้อนี้ แต่เนื่องจากผมยุ่งมากจึงไม่ได้เขียนเสียที ไว้ว่างๆแล้วผมจะกลับมาเขียนต่อนะครับ 


ปล. ผมมองเรื่องนี้ว่าอยู่ในหัวข้อของ Social Science (สังคมศาสตร์) แต่หัวข้อที่นี่มีให้แต่ Science (วิทยาศาสตร์) ผมเลยเอามาอยู่ในหัวข้อนี้นะครับ 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีเกม
หมายเลขบันทึก: 291491เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จะรออ่าน ต่อไปค่ะ  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับครูอ้อย

จะพยายามเขียนต่อครับ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท