-
ชาร์ทแบตเตอรี่ให้เต็มก่อนการเล่นทุกครั้ง เวลาในการชาร์ทนั้นให้เอาจำนวนมิลิแอมป์ หารด้วยจำนวนแอมป์ของที่ชาร์ท (Adaptor) ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นแบต Ni-MH 8.4V. 750 mah ใช้ที่ชาร์ท 12V. 500 mah = 750/500 = ให้ใช้เวลาในการชาร์ท 1 ชั่วโมง 30 นาทีเท่านั้น หรือถ้า 1 ชั่วโมงแล้วถ่านร้อนมากแล้วก็ใช้ได้ อย่าให้เกินเวลาถ่านจะร้อนมาก ทำให้เกิดอันตรายได้ ในการชาร์ทให้นำออกจากตัวเครื่องบินแล้วให้วางในบริเวณที่ปลอดภัย ห่างจากมือเด็กและวัตถุติดไฟง่ายเช่น กระดาษหรือผ้าต่างๆ.... เมื่อชาร์ทเต็มแล้วควรทิ้งไว้สักครู่ให้ถ่านเย็นตัวก่อนนำไปใช้
-
นำถ่านมาใส่ในตัวเครื่องบินในรังถ่านที่จัดให้ แล้วให้ล็อคถ่านไม่ให้ถ่านขยับได้โดยการใช้เศษโฟมยัดลงไปช่องว่างข้างถ่าน (ในการใส่ถ่านอาจจะดันถ่านไปสุดข้างใน หรือด้านนอกขึ้นอยู่กับการหา CG ของเครื่องบินด้วย) เสร็จแล้วทำการต่อสายขั้วถ่านเข้ากับภาครับ
-
ตรวจสอบว่าถ่าน ภาครับ และ มอเตอร์ทำงานสมบูรณ์หรือไม่ โดยการเปิดสวิทย์ที่ภาครับ และสวิทย์ที่รีโมท แล้วจับปีกไว้ให้มั่น ระวังใบพัดด้วย ให้หันใบพัดไปในทางที่ไม่มีคน และระวังใบพัดหลุดกระเด็นเข้าตานะครับ ปลอดภัยไว้ก่อนครับ ถ้าดันใบพัดเข้ากับแกนมอเตอร์ลึกแล้วยังไงก็ไม่กระเด็นครับ แต่ให้ระวังไว้เสมอนะครับ ทดลองดันสติ๊กที่รีโมทเดินหน้า ซ้าย-ขวา ว่าถูกต้องรึปล่าว เลี้ยวซ้ายมอเตอร์ซ้ายดับ เลี้ยวขวามอเตอร์ขวาดับนะครับ ถ้าเดินหน้ามอร์เตอร์ต้องติดทั้งสองข้างนะครับ
-
ทำการประกอบปีกเข้ากับลำตัวโดยใช้หนังยางรัด เรียบร้อยแล้วทำการตรวจสอบ CG โดยแบ่งปีกออกเป็น 4 ส่วน ใช้นิ้วกลางทั้งสองข้างลองบริเวณใต้ปีกในตำแหน่งที่ 2 ตามรูป หรือบริเวณที่สูงที่สุดของปีก ยกเครื่องบินให้อยู่ในระดับสายตาแล้วเล็งประมาณให้เครื่องบินอยู่ในตำแหน่งก้มหัว หรือหัวตกประมาณ 4-5 องศา ก็เป็นอันว่า ok ใช้ได้ แต่ถ้ายังเงยหัวอยู่ หรือหัวตกมากเกินไปก็ให้ เลื่อนถ่าน แล้วปรับแต่งให้
-
เมื่อประกอบปีกและเช็ค CG เรียบร้อยแล้ว ให้ ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องบิน ทั้งลำโดยการจับลำตัวใต้ท้องเครื่องบินแล้วหันหน้าเครื่องบินเข้าหาตัวเราแล้วใช้สายตาเล็งว่า แพนหางดิ่ง (RUDDER) และแพนหางระดับ (ELEVATOR) ตั้งฉากกันมั้ย ถ้าไม่ก็ให้ปรับแต่งเสียก่อนจนกว่าจะได้ตามรูป......ถ้าเราไม่ปรับแต่งแล้วปล่อยเครื่องบินขึ้นไป เครื่องจะเอียงแล้วเสียการทรงตัวหัวโหม่งกระแทกพื้นทำให้เสียหายได้.....
-
นำไปเล่นในที่โล่งกว้าง กว้างเท่าไหร่ยิ่งดีครับ อย่างน้อยควรไม่ต่ำกว่า 50 ตารางเมตร หรือ ครึ่งสนามฟุตบอลเป็นดีครับ
-
เมื่อถึงสนามแล้วอันดับแรกให้สังเกตุลม ก่อนครับ โดยการใช้ริปบิ้นผูกติดที่ปลายเสาอากาศของรีโมท แล้วชูขึ้นสังเกตุดูว่าถ้าริปบิ้นเอียงเกิน 50 องศาผมว่าอันตรายครับสำหรับมือใหม่ ไม่ควรเล่นครับ ใจเย็นๆครับ รอให้ลมสงบสักนิดนึงครับ เวลาที่ควรเล่นนะครับ ช่วงเช้าตอนเช้าตรู่ของทุกฤดูครับ 06.00 น. ถึง 08.00 น. บางวันเล่นได้ถึง 10.00 น. เลยครับ แล้วแต่วันด้วยครับ บางวันเล่นได้ทั้งวันเลยก็มี แล้วก็ช่วงเย็นครับ 16.00 น. จนถึงมืดเลยครับ ระวังอย่าให้มืดเกินไปจะมองไม่เห็นเครื่องบินนะครับ ยังไงก็ใช้ริปบิ้นเป็นหลักแล้วกันนะครับ
-
สังเกตุทิศทางของลม ดูจากริปบิ้นเช่นเดียวกัน ดูว่าลมพัดไปทางไหน ถ้าลมพัดจาก หัวสนามไปท้ายสนาม ให้เลือกที่ยืนเล่นค่อนไปทางหัวสนามครับ ในทางกลับกันก็เช่นเดียวกันครับ ถ้าลมพัดจาก ท้ายสนามไปยังหัวสนาม ก็ให้เลือกที่ยืนเล่นค่อนไปทางท้ายสนามครับ ทั้งนี้ก็เพื่อเมื่อเวลานำเครื่องบินขึ้นแล้ว เมื่อเครื่องบินหันหัวตามทิศทางลมแล้ว จะมีความเร็วค่อนข้างมาก ทำให้มือใหม่บังคับทิศทางกลับมาบินสวนลมได้ช้าเนื่องจากอาจจะตกใจ ซึ่งเครื่องบินอาจจะโดนลมพัดไปไกล (ในกรณีลมแรงเท่านั้น) ซึ่งพื้นที่ของสนามที่เหลือทำให้เรายังพอมีเวลานำเครื่องกลับมาได้ทัน หรือดับเครื่องลดระดับลงได้ทัน....
-
ทำการบินขึ้น (Take off) ในลักษณะสวนลมเสมอ ในกรณีติดตั้งล้อให้วางเครื่องบินลงกับพื้นหันหน้าสวนลม แล้วดันรีโมทเดินหน้าเร่งให้สุด แล้วประคองให้เครื่องบิน ให้บินตรงไปก่อนอย่าพึ่งเลี้ยวนะครับ จนกว่าเครื่องบินจะบินไต่ระดับขึ้นไปเกาะอากาศ ในระดับความสูงประมาณ 10 เมตร จึงค่อยเลี้ยว ส่วนในกรณีไม่ได้ติดตั้งล้อ ก็ให้ใช้การจับพุ่งขึ้นครับ โดยใช้มือด้านที่ถนัด จับบริเวณท้องเครื่องบินให้มั่นนะครับ อีกมือก็จับรีโมทเดินหน้าเร่งให้สุด แล้วพุ่งเครื่องบินออกไปในลักษณะ เงยหัวเครื่องบินทำมุมประมาณ 4 - 5 องศา ไม่ต้องพุ่งแรงนะครับ ออกแรงปานกลาง เหมือนกับเราเล่นเครื่องบินกระดาษพับแหละครับ แต่ออกแรงกว่านิดนึงครับ แล้วประคองให้เครื่องบิน ให้บินตรงไปก่อน จนกว่าเครื่องบินจะบินไต่ระดับขึ้นไปเกาะอากาศ ในระดับความสูงประมาณ 10 เมตร จึงค่อยเลี้ยวเล่นตามความพอใจ ในกรณีที่เครื่องบินไม่ไต่ระดับ วิ่งเหมือนรถเลยไม่ยอมบินซะที เกิดจากมุมยกชายหน้าปีกไม่เพียงพอ แก้ไขโดย ใช้เศษโฟม 5 mm. หรืออะไรก็ได้ที่หนาประมาณ 5 mm. หนุนบริเวณชายหน้าปีก แล้วลองทดสอบบินดูใหม่นะครับ ในการเลี้ยวก็อย่าโยกรีโมทแช่นะครับ ให้ โยก-ปล่อย โยก-ปล่อย จนกว่าจะได้มุมเลี้ยวตามความพอใจของเราครับ อ้อ...อีกอย่างนึงครับ เมื่อเครื่องบินไต่ระดับขึ้นไปสูงๆ แล้วเราสามารถดับเครื่องแล้วร่อนได้นะครับ ลองทำดูนะครับ
-
จับเวลาในการบิน สำหรับมือใหม่ควรจับเวลาในการบินเพื่อให้เผื่อเหลือพอที่จะนำเครื่องบินกลับมาถึงเราก่อนแบตจะหมดนะครับ ยกตัวอย่างเช่น แบตเล่นได้ 10 นาที ก็ให้ทำการบินลงที่ 7 นาที เผื่อไว้ 3 นาที กันพลาดครับ แบตจะหมดเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับการเล่นด้วยนะครับว่าเล่นแบบไหน คือถ้าปล่อยครื่องให้ร่อนบ้าง ไม่เร่งเครื่องตลอด แบตก็จะหมดช้าลง แต้ถ้าเร่งเครื่องตลอด แบตก็จะหมดเร็วขึ้น...อีกปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือ ความจุของแบตเตอรี่นั่งเอง ถ้าความจุน้อยก็เล่นได้ไม่นาน แต่ถ้าความจุยิ่งมากก็จะยิ่งเล่นได้นานครับผม ตัวอย่างเช่น แบต 7.2V 600 mah เล่นได้ 10 นาที/ครั้ง แต่ถ้าเป็น แบต 7.2V 1000 mah จะเล่นได้ถึง 20 นาที/ครั้งเลยทีเดียว
- ทำการบินลง
(Landing)
ในลักษณะสวนลมเสมอ ในการบินลงให้นิ่มนวลนั้นต้องอาศัยการฝึกความ
ชำนาญและประสพการณ์พอสมควร สำหรับมือใหม่นั้นก็ทำได้ไม่ยากเกินไปนัก
โดยการบินสวนลมวนมาหาตัวเราหรือบริเวณที่ต้องการให้เครื่องบินลงนะครับ
แล้วให้ลดระดับลงมาเรื่อยๆ นะครับโดยการดับเครื่องแล้วร่อนลงมา
ถ้าคิดว่ามันยังเลยหัวอยู่ก็นำเครื่องขึ้นไปใหม่แล้วบินวนสวนลมกลับมาใหม่
ทำยังงี้ไปเรื่อยๆ กะระยะใหม่ให้ดี
โดยใช้ต้นไม้หรืออะไรก็ได้เป็นหลักนะครับ แล้วดับเครื่องร่อนลง
เมื่อล้อเครื่องบินใกล้พื้นสูงประมาณสัก 2 ฟุต ห้ามเลี้ยวนะครับ
กระแทกพื้นแน่นอน ให้โยกคันบังคับติดเครื่องนิดนึง โยก-ปล่อย
โยก-ปล่อย จนกว่าล้อจะแตะพื้นนะครับ แล้วดับเครื่อง
ก็เป็นอันว่า Landing ได้สวยงามครับ
แต่ก็ต้องฝึกฝนกันบ่อยๆ นะครับ ครั้งแรกไม่สวยก็เอาใหม่นะครับ
อย่าพึ่งเครียดนะครับ สู้
ๆ....ในการบินลงไม่ให้เครื่องบินช้ำหรือเสียหายนั้น
ถ้าพื้นที่เรียบหรือเป็นถนนไม่มีหญ้า ควรติดตั้งล้อ จะช่วย
save เครื่องบินได้มากเลยทีเดียว
แต่ถ้าพื้นที่มีหญ้าก็ให้ร่อนลงบนพื้นหญ้าเลยเพื่อลดความเสียหายสำหรับมือใหม่นะครับ
ข้อควรระวัง
-
ห้ามเล่นเครื่องบินในขณะลมแรง โดยการใช้ริปบิ้นผูกติดที่ปลายเสาอากาศของรีโมท แล้วชูขึ้นสังเกตุดูว่าถ้าริปบิ้นเอียงเกิน 50 องศาผมว่าอันตรายครับสำหรับมือใหม่
-
ห้ามเล่นเครื่องบินในขณะฝนฟ้าคะนอง
-
ก่อนเปิดวิทยุทุกครั้งให้ดูว่ามีคนอื่นเล่นเครื่องบินอยู่ใกล้ๆหรือปล่าว เพราะว่าคลื่นวิทยุอาจตรงกัน ทำให้เกิดความเสียหายได้
-
การนำเครื่องบินขึ้น หรือลง ต้องบินสวนทิศทางลมเสมอ
-
เวลาเลี้ยวซ้าย-ขวา อย่าแช่....ให้ โยก...ปล่อย...โยก...ปล่อย
-
อย่าบินสูงเกินไปจนไม่สามารถมองเห็นได้ถนัด จะทำให้บังคับทิศทางผิดได้
-
แบตเตอรี่ที่ชาร์ทไว้....อย่าลืม !!....อันตราย !!
-
มือใหม่ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด
-
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย อาร์มชัย จันทสุข ใน เครื่องบินโฟม
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก