เริ่มทำโครงการวิจัย


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ PAR .... คุณครูทั้งสามท่านจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้การวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสุมานัน จังหวัดสมุทรปราการ

PARTICIPATORY ACTION RESEARCH OF LEARNING ORGANIZATION MODEL DEVELOPMENT OF SUMANAN SCHOOL, SAMUT PRAKAN PROVINCE

หลังจากที่ผมได้สอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ผ่าน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ก็ได้ใช้เวลาและความพยายามอย่างยิ่งยวดในการวางแผนเพื่อดำเนินโครงการวิจัยในปีการศึกษา 2552 ซึ่งสะดวกตรงที่สามารถทำได้ในสถานที่ทำงานของเราเอง โดยก่อนที่จะเริ่มดำเนินการนั้น กระบวนการที่สำคัญก็คือ ผ่านการกลั่นกรองของคณะกรรมการจริยธรรมวิจัย ของมหาวิทยาลัย โดยแนบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผมจึงพยายามพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ตามเค้าโครงที่เสนอผ่านนั้น แล้วของความอนุเคราะห์ผู้เชียวชาญเพื่อพิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องของเครื่องมือ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งผู้บริหารสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัย เป็นผู้พิจารณาเครื่องมือดังกล่าว และเมื่อปรับแก้แล้วจึงได้แนบเครื่องมือดังกล่าว ส่งไปพร้อมกับเอกสารขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย และได้รับอนุมัติให้ดำเนินการได้ เมื่อเดือนเมษายน 2552  พร้อมดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้คือ เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ประกอบไปด้วย แบบสำรวจสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก  และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม

ผมได้เริ่มดำเนินการโดย

1.  สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ เข้าไปในโปรแกรมการสัมมนาวิชาการประจำปีของโรงเรียน เมื่อวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2552

2.  ใช้แบบสำรวจสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงเรียน

ในการนี้ผมได้ทาบทามคุณครูจำนวน 3 ท่านเพื่อเป็นผู้วิจัยร่วมในการวิจัยครั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ PAR นั่นเอง โดยที่คุณครูทั้งสามท่านจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้การวิจัยดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ และมีลักษณะของงานวิจัยแบบ PAR คือ มีการวางแผน (PLAN) การปฏิบัติตามแผน (ACT) การสังเกตติดตามผลการปฏิบัติ (OBSERVE) และการสะท้อนผลการปฏิบัติเพื่อวางแผนรอบต่อไป (REFLECT)

3.  สัมภาษณ์และพูดคุยสอบถามครู บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียนเกี่ยวกับสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน

จากกระบวนการดังกล่าวนี้ ทำให้ทีมผู้วิจัย (ผมและคุณครูทั้งสามท่าน) ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน เพื่อจะได้นำเข้าสู้กระบวนการ PAR ในรอบแรกต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 290573เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามมาให้กำลังใจ
  • ให้งานวิจัยเป็นผลสำเร็จนะครับ

ขอบคุณท่านขจิตที่ตามมาให้กำลังใจครับ

ขอให้กำลังใจตอบแทนท่านเช่นกัน

ขอให้กำลังใจอีกคนค่ะ หวังว่าจะได้รับข่าวดีว่า สำเร็จการศึกษาแล้ว !!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท