รายงานผลการทดลองเพาะเมล็ดพืชคุมดิน 2 ชนิด


ทดสอบความงอกของเมล็ดพืชคลุมโดยการเพาะเมล็ด

เรียน ท่านที่เคารพ วันนี้วันที่ 22 สิงหาคม 2552 หลังจากหายไปนาน ผมของรายงานผลการทดลองเพาะเมล็ดพืชคลุมดิน 2 ชนิดคือ ถั่ว มูคูนา Mucuna pruriens กับถั่วซีรูเลียม Calopogonium caeruleum ที่ผมได้ทดลองไว้ตั้งแต่ วันที่ 1 พ.ค. 2552 เพื่อศึกษาความงอก ของถั่ว 2 ชนิด ในวิธีการที่ต่างกัน ซึ่งในการทดลองในครั้งนี้ เหมือนกับเป็นการยืนยันวิธีการที่คนอื่นเคยทำมาแล้วสำหรับถั่วซีรูเลียม และยืนยันโดยวิธีของผมเองสำหรับถั่วมูคูนา (Mucuna pruriens) เนื่องจาก มูคูน่า มันมีหลายชนิดครับ โดยมีวิธีการทดลอง ดังนี้

1. วิธีการทดลองเพาะถั่วมูคูนา โดยไม่มีการแช่น้ำ (เนื่องจากเคยทดลองแช่น้ำแล้วนำไปปลูก ปรากฎว่า เมล็ดที่แช่น้ำ เน่ามากกว่าไม่แช่)  โดยการเพาะในถาดเพาะขนาด 104 หลุม ใช้ 1 เมล็ด ต่อ 1 หลุม และใช้ดินสำหรับเพาะเมล็ด

2. วิธีการทดลองเพาะถั่วซีรูเลียม โดยแช่น้ำ 1 คืน (บางงานวิจัยบอกว่า ถ้าไม่แช่น้ำประมาณ 20 วันเมล็ดถึงจะงอก และวิธีที่ดีที่สุดคือ แช่น้ำร้อนไว้ 12-24 ช.ม. แต่ทื่ผมเคยปลูกแค่แช่น้ำธรรมดาไว้ 1 คืนก็งอกแต่ยังไม่เคยทดลองว่างอกมากน้อยขนาดไหน )โดยการเพาะในถาดเพาะขนาด 104 หลุม ใช้ 1 เมล็ด ต่อ 1 หลุม และใช้ดินสำหรับเพาะเมล็ด

ผลการทดลอง

1. ณ วันที่ 9 พ.ค. 2552 หรือ 8 วันหลังเพาะ ถั่วมูคูนา งอกประมาณ 20 เปอร์เซนต์ ถั่วซีรูเลียม งอกประมาณ 35 เปอร์เซนต์

2. ณ วันที่ 21 พ.ค. 2552 หรือ 20 วันหลังเพราะ ถั่วมูคูนางอก 60 เปอร์เซนต์ ถั่วซีรูเลียม งอก 50 เปอร์เซนต์

3. ณ วันที่ 31 พ.ค. 2552 หรือ 1 เดือนหลังเพาะ ถั่วมูคูนางอก 60 เปอร์เซนต์ ถั่วซีรูเลียมงอก 75 เปอร์เซนต์  

4. ณ วันที่ 15 มิ.ย. 2552 หรือ 1 เดือนครึ่งหลังเพาะ ถั่วมูคูนา ไม่งอกเพิ่ม แต่มีต้นตาย เหลือต้นรอด 45 เปอร์เซนต์ ถั่วซีรูเลียม ไม่งอกเพิ่ม แต่มีต้นตาย เหลือรอด 73 เปอร์เซนต์

สรุปและวิจารย์ผลการทดลอง

1. การปลูกถั่วมูคูนา Mucuna pruriens สามารถนำไปปลูกได้เลยไม่จเป็นต้องนำมาเมล็ดมาแช่น้ำก่อน เนื่องจาก Mucuna pruriens  เยื่อหุ้มเมล็ดบางอยู่แล้ว ส่วนการเพาะเมล็ดก่อนนำไปปลูกน่าจะใช้ถุงในการเพาะ เพราะเมล็ดค่อนข้างใหญ่ ถาดเพาะเมล็ดไม่น่าจะได้ผลดีเท่าที่ควรเนื่องจากดิน+อาหารมีน้อย

2. การปลูกถั่วซีรูเลียม  calopogonium caeruleum นั้น การแช่เมล็ดด้วยน้ำธรรมดาเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอ เนื่องจากเยื่อหุ้มเมล็ดค่อนข้างแข็งและหนา วิธีการแช่น้ำร้อน อุณหภูมิประมาณ 60-65 องศาเซนเซียส นาน 12-24 ชั่วโมง (เปิดน้ำจากกระติกน้ำร้อนทิ้งไว้ประมาณ 2 นาทีใช้ได้ครับ) ตามที่คนอื่นเคยทดลองไว้น่าจะได้ผลดีกว่า

หมายเลขบันทึก: 290108เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ถ้าศึกษาไปเรื่อยๆ น่าจะเป็นธุรกิจที่น่าสนใจครับ กำไรดี อิอิ

มี mucuna จำหน่ายครับ จากมาเลเซีย สนใจติดต่อ สาโรจน์ 08 9926 3074 จ.สุราษฎร์

แล้วทำไง จะให้ออกดอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท