การป้องกันกำจัดวัชพืช


วัชพืชศัตรูร้ายต่อผลผลิต

การป้องกันกำจัดวัชพืช

 

หลักการป้องกันกำจัดวัชพืช

1.       การป้องกัน (prevention)เป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชจากที่อื่นแพร่ระบาดเข้ามาในพื้นที่หนึ่ง ๆ

2.       การควบคุม (control)          เป็นการลดผลเสียหายจากวัชพืชที่เกิดแก่พืชปลูกให้มากที่สุด

3.       การกำจัด (eradication) เป็นการทำลายให้หมดสิ้น คือ ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชในพื้นที่นั้นหมดสิ้นไป เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและขยายพันธุ์

วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช

วิธีกล (mechanical control)

1.1. การใช้แรงงานคน                                                                                              

การใช้แรงงานคน                                                                                          

-  การปลูกพืชที่มีเนื้อที่ปลูกขนาดเล็ก                                                                   

- การปลูกพืชที่ต้องการการดูแลแบบพิถีพิถัน                                                         

- สภาพที่แรงงานหาง่ายและราคาถูก                                                                        

- สภาพที่ต้องการความปลอดภัย (จากสารพิษตกค้าง)                                          

 - สภาพที่วัชพืชไม่ร้ายแรงและไม่หนาแน่น

 

1.2. การใช้แรงงานสัตว์

        เป็นการใช้แรงงานจากสัตว์ใหญ่ในการลากจูงอุปกรณ์ต่าง ๆ พวกไถ และคราด ในการไถพรวน หรือคราดเศษวัชพืช ข้อจำกัดคือ ในสภาพที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่จะไม่สามารถทำได้ทันเวลา

1.3. การใช้เครื่องทุ่นแรง

        เป็นการใช้เครื่องมือในการไถพรวนต่าง ๆติดกับรถแทรกเตอร์หรือรถไถเดินตาม เพื่อทำลายวัชพืชโดยการฝังหรือกลบกล้าต้นวัชพืชลงไปในดิน หรือพลิกเอารากวัชพืชขึ้นมาทำให้ต้นวัชพืชแห้งตาย

1.4. การใช้ไฟเผา

        เป็นการกำจัดวัชพืชทุกชนิดในพื้นที่ที่ไม่มีพืชปลูก ช่วยลดปัญหาการงอกของเมล็ดวัชพืชที่อยู่ในดินได้ แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อพืช

1.5. การใช้วัสดุคลุมดิน

        อาศัยหลักการบดบังแสงเพื่อให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตหรืองอกได้ วัสดุที่ใช้ เช่น ฟางข้าว ใบไม้ กาบมะพร้าว ใบอ้อย ขี้เลื่อยกระดาษ พลาสติก  นอกจากลดปัญหาวัชพืชแล้วยังช่วยรักษาความชื้นในดิน ลดแรงปะทะของน้ำฝน และเพิ่มอินทรียวัตถุในดินในกรณีที่เป็นวัสดุธรรมชาติ

 

 วิธีเขตกรรม (cultural control)

เป็นการปฏิบัติในแปลงปลูกเพื่อลดปัญหาการแก่งแย่งแข่งขันของวัชพืชทางอ้อม

2.1. การทดน้ำระบายน้ำ  นิยมใช้ในการทำนาดำ วัชพืชหลายชนิดเมื่อถูกน้ำท่วมขังในระยะหนึ่งก็จะตายลง

2.2 การปลูกพืชคลุมดิน

-          มีการเจริญเติบโตดีสามารถคลุมผิวดินได้รวดเร็ว  เติบโตเร็วกว่าวัชพืช สามารถคลุมดินได้ก่อนวัชพืชเติบโต               

-          เป็นพืชที่ไม่ทำให้เกิดผลเสียหายแก่พืชปลูกไม่แก่งแย่งกับพืชปลูกมากนัก และเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน

-          มีอายุการเจริญเติบโตที่ยาวนาน มีอายุข้ามปี ไม่มีปัญหาเรื่องแห้งตายในฤดูแล้ง (ทำให้ไฟไหม้)

-          ไม่เป็นแหล่งอาศัยของศัตรูพืช

-          ทนทานต่อสภาพแวดล้อม

2.3 การปลูกพืชหมุนเวียน

        เป็นการปลูกพืชต่างชนิดสลับกันไปในรอบปีการเพาะปลูก เพื่อช่วยลดการแก่งแย่งของวัชพืช เพราะว่าการปลูกพืชต่างชนิดกันจะมีวิธีการเพาะปลูก การดูแล การจัดการที่ต่างกัน ทำให้วัชพืชมีความแตกต่างกัน

 2.4 การปลูกพืชแซม

        เป็นการใช้หน้าดินให้เป็นประโยชน์และลดปัญหาวัชพืชไปในตัว โดยพืชแซมควรมีลักษณะดังนี้                                                                                       

- มีอายุการเจริญเติบโตที่ให้ผลผลิตไม่ยาวนาน                                    

- มีการแตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก                                                                

- มีระบบรากไม่แผ่กว้าง หรือลึกจนเกินไป                                                           

- มีลำต้นไม่สูง                                                                                                                             

- ไม่มีผลกระทบต่อพืชปลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม                                          

- มีตลาดรองรับการจำหน่ายผลผลิต

 

                ชีววิธี (biological control)

                เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตในการจัดการวัชพืช (แมลง จุลินทรีย์ สัตว์) วิธีนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมวัชพืชให้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นการลดปริมาณวัชพืชในระดับหนึ่ง ที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย

3.1    การใช้แมลงในการควบคุมวัชพืชใช้ผีเสื้อแคคตัส ควบคุมกระบองเพชรในออสเตรเลีย

ด้วงเจาะเมล็ด Acanthoscelides puniceus และ Acanthoscelides quadridentatus  นำมาจากออสเตรเลียเพื่อควบคุมไมยราบยักษ์

3.2 การนำจุลินทรีย์มาควบคุมวัชพืช

        นำเอาจุลินทรีย์เชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดมาควบคุมวัชพืช เช่น Alternaria eichhornia , Myothecium roridum และ Rhizoctonia solani มาควบคุมผักตบชวา

3.3 การนำสัตว์มาควบคุมวัชพืช

        เป็นการนำสัตว์มาควบคุมการแพร่ระบาดของวัชพืช เช่น การนำหอยทาก Marisa cornuarietis มาควบคุม สาหร่ายพุงชะโด

 

การใช้สารเคมี (chemacal control)

การใช้สารเคมี หรือที่เรียกว่า สารกำจัดวัชพืช (herbicide)

 

วิธีการผสมผสาน (integrated control)

นำเอาวิธีการกำจัดวัชพืชแบบต่าง ๆ มาใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความปลอดภัย ลดต้นทุน และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เรียกว่า การป้องกันกำจัดวัชพืชแบบผสมผสาน (integrated weed control)

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 289700เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2009 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วเป็นแนวคิดที่ดี ขอบคุณที่เสนอความรู้

ก็ดีนะให้ความรู้ดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท