beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรียนรู้ (ทางบล็อก) จากการพูดคุยของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์กับ Mr.Geoff Parcell


    ผมรู้จัก Mr.Geoff Parcell ครั้งแรกจากการฟังท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เล่าเรื่อง ที่พูดคุยกับคุณ Parcell ซึ่งผมเคยเล่าไว้ในเรื่อง ทิศทางการจัดการความรู้ในชุมชน (1)  ตอนนั้นผมเขียนบันทึกเกี่ยวกับคุณ Parcell ไว้ว่า

การจัดการความรู้ หรือ KM ในต่างประเทศส่วนมากเขาทำกันในหน่วยงาน และเขาระแวงกันเรื่อง "ความรู้" เพราะเขาถือว่า "ความรู้คืออำนาจ" แต่ของไทยเรากลับนำระบบการจัดการความรู้เข้าสู่ชุมชน (เป็นผู้นำทางด้านนี้) แล้วพบว่ามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ดี สนุก และไม่มีการหวงความรู้ และความรู้เหล่านั้นเมื่อนำมาสกัดเป็นขุมความรู้ แล้วก็นำกลับไปถ่ายทอดให้กับชุมชน เรียกได้ว่า ไม่มีการหวงวิชากัน (ผิดกับสมัยก่อนมีการหวงวิชา และขาดการบันทึก ทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปได้ช้ากว่าประเทศตะวันตก..beeman) (ref : Geoff Parcell)

    นี่เป็นครั้งแรกที่ได้รู้จักคุณ Parcell แต่ผมฟังชื่อของแกเป็นภาษาฝรั่งแล้วสะกดชื่อผิด ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ก็เลยมาแก้ให้ถูกเสียใหม่ โดยเขียนข้อคิดเห็นดังนี้

วิจารณ์ เมื่อ ส. 19 พ.ย. 08:49:22 2005 เขียนว่า:
beeman สมลักษณ์จับประเด็นมาอธิบายขยายความได้ยอดเยี่ยมมากครับ   ขอแก้นิดเดียว Geoff Parcell นะครับ
และขอขอบคุณสำหรับน้ำผึ้งครับ
วิจารณ์

    วันนี้ผมดีใจที่ได้เห็นรูปภาพของคุณ Parcell ตามที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เขียนไว้ในบันทึกเรื่อง Geoff Parcell visits KMI (บันทึกที่ 1,352)  และยังได้ทำ Web Link ของ คุณ Parcell ไว้ที่นี่ (www.practicalkm.com) นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้เรื่องการทำงานของ สคส. และการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในประเทศไทยดังนี้ครับ

  1. สคส.มีบุคลากร เพียง 10 ท่าน (ผอ.2+ผู้ประสานงาน 8 แต่ยังมีทีมประชาสัมพันธ์อีก 2-3 ท่าน และยังมีผู้มาฝึกงานอีก 2 ท่าน) แต่สามารถจัดการความรู้ได้ในระดับประเทศ
  2. การจัดการความรู้ของสคส. เมื่อทำได้ถึงระดับหนึ่งก็จะ "ยุให้คนอื่นทำ" นี่เป็นกลยุทธ์ที่สคส.ใช้มาโดยตลอด และค่อนข้างได้ผลดี เหมือนกับที่คุณ Parcell ใช้
  3. ที่คุณ Parcell ทึ่งมาก คือ เรื่องการจัดการความรู้ภาคเกษตรของไทย ผมคิดว่าตรงนี้เป็นจุดแข็งของไทย และเราน่าจะทำได้ดีในระดับโลกเลยทีเดียว

    สิ่งที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ประทับใจคุณ Parcell มีดังนี้ (ผม copy มาเลยครับ)

  • การกำหนดตัวเองให้เป็น practitioner ด้าน KM   ไม่ใช่ expert   ถือว่าการทำงาน KM เป็นการเรียนรู้ KM ไม่ใช่ผู้รู้ KM  นัก KM ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน
  • การเรียนรู้ทฤษฎีและปฏิบัติ Appreciative Inquiry
  • วิธีจัดทำ Knowledge Assets โดยใช้ video clip ประกอบ
  • เน้นเป้าหมายของ KM ที่การช่วยให้คนได้ค้นพบศักยภาพของตนเอง
  • มองการ Re - use ความรู้ว่ามีความสำคัญเท่าการสร้างนวัตกรรม (innovation)
  • เน้นการเรียนรู้มากกว่าการฝึกอบรม

    สุดท้ายเป็นคำคมของ คุณ Parcell ครับ "Learning before, during and after everything we do"

    สุดท้ายของสุดท้ายคือ การยืมรูปภาพของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์มาใส่ประกอบบันทึกครับ

 

ภาพของคุณ Geoff Parcell ครับ

 
คุณ Parcell คุยกับทีมงานสคส. คุณ Parcell กับ ผู้บริหารสคส.
   

ปล. มีบันทึกของท่านอาจารย์ประพนธ์อีก 1 บันทึกที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องของคุณ Parcell ครับ ติดตามเรื่องและภาพได้ที่นี่ ---> เรื่อง ---->ภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 28949เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท