เห็ดและประโยชน์ของเห็ด


เห็ด (Mushroom) เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่คนนิยมบริโภคเนื่องจากหาง่าย ราคาไม่แพง เห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน เป็นต้น แต่ให้พลังงานต่ำ เนื่องจากมีไขมันน้อย จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
การเพาะเห็ด
                      เห็ด (Mushroom) เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่คนนิยมบริโภคเนื่องจากหาง่าย ราคาไม่แพง เห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง  โดยเฉพาะโปรตีน  เกลือแร่  วิตามิน  เป็นต้น แต่ให้พลังงานต่ำ  เนื่องจากมีไขมันน้อย  จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเลือดสูง  และโรคหัวใจ  นอกจากนี้ในการประกอบอาหารประเภทอาหารมังสวิรัติและอาหารเจ  มักจะใช้เห็ด เต้าหู้  ผสมกับผักหรือถั่วปรุงอาหารในรูปแบบต่างๆ  เห็ดจึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งแบบสดและแห้ง  นอกจากนี้เห็ดยังใช้เป็นยาสมุนไพรได้ เช่น เห็ดหลินจือพันธุ์ญี่ปุ่น  ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ช่วยต่อต้านมะเร็ง เป็นต้น ประเทศไทยมีเห็ดหลายชนิดทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น เห็ดโคน เห็ดหูหนู เห็ดหลินจือ เห็ดหัวลิง  และเพาะเลี้ยงขึ้นมา เช่น เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดลม เห็ดตีนแรด เห็ดแคระ เห็ดนางรม เห็ดเข็มทอง เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นต้น  ซึ่งเห็ดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน คือ เห็ดฟาง  เห็ดหอม  เห็ดเข็มทอง  และเห็ดโคนญี่ปุ่น (อนงค์  จันทร์ศรีกุล  2543 : 11-13)
                            ประเภทของเห็ด
                            เห็ดมีทั้งที่เป็นเห็ดมีพิษและไม่มีพิษ สามารถบริโภคได้ ซึ่งในกลุ่มที่บริโภคได้นี้เมื่อแบ่งตามวิธีนำมาใช้แล้ว สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ  คือ
                                1.   เห็ดที่ใช้เป็นอาหาร (Dietary mushroom) มีอยู่ประมาณ 90% ของเห็ดที่พบทั่วไป เช่น เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดหูหนู เห็ดโคน เห็ดถั่ว และเห็ดเข็มทอง เป็นต้น
                                2.   เห็ดที่ใช้เป็นยาสมุนไพร (Medicinal Phalloides) เห็ดสมุนไพรค่อนข้างมีจำกัด เป็นเห็ดที่กินได้ และเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดโคนและเห็ดหูหนู เห็ดบางอย่างอาจยังไม่เป็นที่รู้จักและหายาก เช่น เห็ดหัวลิง (Hericium Erinaceus) และเห็ดไมตาเกะ (Mitake) นอกจากนี้เห็ดสมุนไพรยังได้จากเห็ดพิษบางชนิดด้วย เช่น เห็ดพิษเบื่อเมา (Amanita Phalloides) เห็ดร่างแห เป็นต้น
                       
 ประโยชน์ของเห็ดด้านการแพทย์
                            ประโยชน์ทางการแพทย์ของเห็ดชนิดต่าง ๆ  มีดังนี้
                                1.   เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง พอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ อมตะ
                                2.   เห็ดหูหนู เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต
                                3.   เห็ดหลินจือ  มีสารสำคัญเบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
                                4.   เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง  รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล  มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง  มีบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด  โดยสารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (Aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง  ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
                                5.   เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อ ๆ คล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำและเนื้อเหนียวหนาและนุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัดช่วยการไหลเวียนเลือดและโรคกระเพาะ
                                6.   เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้น ๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทาหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้วิตามินซีสูงและมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
                               
1.   เห็ดหลินจือ นอกจากใช้รับประทานแล้ว  ปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส
          8. เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาวหัวเล็ก ๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่มนำมารับประทานแบบสด ๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัด หรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
               เห็ดโคน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอละลายเสมหะ  การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่า น้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์
เกณฑ์มรรยาทและระเบียบในการเก็บเห็ดในพื้นที่ป่าไม้           
1. โปรดระลึกไว้เสมอว่าเห็ดบางชนิดเป็นเห็ดพิษ และมีหลายชนิดที่บริโภคเข้าไปแล้วทำให้ไม่สบาย บางคนเมื่อรับประทานเห็ดบางชนิดแล้วทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โปรดระลึกไว้เสมอว่า ท่านต้องตรวจพิสูจน์ชนิดเห็ดอย่างถูกต้อง โดยพยายามฝึกฝน และเข้ารับการอบรมในหลักสูตรการตรวจชนิดของเห็ดรา หรือหัวหน้าคณะสำรวจเห็ดควรจะมีความเชี่ยวชาญในการพิสูจน์ชนิดของเห็ดได้
2. ห้ามเก็บเห็ดที่ไม่ต้องการรับประทานหรือบริโภค                                       
3. จงเก็บตัวอย่างเห็ดให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ศึกษาวิจัยและตรวจพิสูจน์ชนิดของเห็ด
4. เห็ดราเป็นทรัพยากรทางชีวภาพที่ดึงดูดนักศึกษา นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์หลายสาขา ตลอดจนกระทั่งประชาชนทั่วไป เพราะมีความสวยงามและเป็นที่ประทับใจเมื่อได้พบเห็ด ด้วยเหตุนี้ผู้เก็บเห็ดควรระมัดระวังการเก็บเห็ดรา โดยเก็บตัวอย่างเห็ดราเท่าที่จำเป็นเท่านั้

  5.   ควรทำการบันทึกรายละเอียด ข้อมูลของเห็ดที่เก็บอย่างถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับพื้นที่ ถิ่นอาศัย พืชอาศัย วันเดือนปีที่เก็บ และนิสัยในการดำรงชีวิต เช่นเป็น Saprophytes หรือ Mycorrhizas โดยเฉพาะเห็ดราที่หายาก ควรบันทึกข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

   6.   ควรทำรายงานการสำรวจศึกษาวิจัยของท่านต่อเจ้าหน้าที่ที่ท่านเข้าไปทำการศึกษาสำรวจนั้น และอธิบายถึงความสำคัญของเห็ดราแต่ละชนิด ที่ท่านเข้าไปสำรวจว่าสำคัญต่อระบบนิเวศน์และสาธารณะชนอย่างไร

 7.     ถ้าท่านได้รับอนุญาตให้ทำการเก็บตัวอย่างเห็ดราเพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยแล้ว ท่านไม่ควรเก็บเห็ดมาเพื่อรับประทานหรือวัตถุประสงค์อย่างอื่น

8.   โปรดให้ข้อมูลเผยแผ่ข้อมูลข่าวที่ท่านได้ทำการศึกษาวิจัยแล้ว ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบพื้นที่สำรวจ เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนทั่วไป และต่อประเทศชาติ โดยแบ่งตัวอย่างหรือนำตัวอย่าง หรือหัวเชื้อตัวอย่างที่ท่านเก็บได้ ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ พร้อมทั้งรูปภาพที่ถ่ายไว้ให้กับองค์กร หรือสถาบันการศึกษา เพื่อใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการต่อไปในอนาคต

  

หมายเลขบันทึก: 288466เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อ่านแล้วขอความกรุณาแสดงความคิดเห็นหน่อยนะคะ เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำผลงานค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความกรุณา ขอบคุณ ล่วงหน้าอีกครั้ง

อ่านแล้วมีประโยชน์มากนะคะ ให้เผยแพร่บทความดีอย่างนี้บ่อย ๆ จะได้เป็นประโยชน์กับคนอื่น ค่ะ

ประกอบกิจ จอมหงษ์

ขอบคุณนะครับสำหรับบทความที่เป็นประโยชน์อย่างนี้

ทางโรงเรียนกำลังดำเนินการเพาะเห็ด ได้ความรู้มากๆ จากบทความนี้

นางสาวรุ่งนภา สายบุญ ม3ห้อง2 เลขที่34โรงเรียนบ้านสร้างม่วงส้มเสี้ยว

สวัสดีค่ะคุณครูสุวิมลหนูได้ศึกษาบทความข้างบนได้ความรู้มากมายเลยค่ะเช่น

ได้รู้จักเห็ดต่างๆและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

เห็นเรื่องเห็ดแล้วชอบมากเลยค่ะ

เลยแวะเข้ามาศึกษาหาความรู้ค่ะ

โดยเฉพาะเห็ดหอมสด นั้นอร่อย ชอบมากเป็นพิเศษค่ะ  กินเป็นประจำเลยค่ะ  มีแกงเลียง  ผัด  แกงจืด

พูดแล้วหิวค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะที่นำสาระดีๆมาฝาก

น.ส.หนึ่งฤดี ใจทน ม.3ห้อง2 เลขที่26โรงเรียนบ้านสร้างม่วงส้มเสี้ยว

สวัสดีค่ะคุณครู สุวิมล หนุได้ศึกษาหาความเกี่ยวกับ เห็ด เห็ดมีทั้งที่เป็นเห็ดมีพิษและไม่มีพิษ สามารถบริโภคได้ ซึ่งในกลุ่มที่บริโภคได้นี้เมื่อแบ่งตามวิธีนำมาใช้แล้ว สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. เห็ดที่ใช้เป็นอาหาร (Dietary mushroom) มีอยู่ประมาณ 90% ของเห็ดที่พบทั่วไป เช่น เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดหูหนู เห็ดโคน เห็ดถั่ว และเห็ดเข็มทอง เป็นต้น

2. เห็ดที่ใช้เป็นยาสมุนไพร (Medicinal Phalloides) เห็ดสมุนไพรค่อนข้างมีจำกัด เป็นเห็ดที่กินได้ และเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดโคนและเห็ดหูหนู เห็ดบางอย่างอาจยังไม่เป็นที่รู้จักและหายาก เช่น เห็ดหัวลิง (Hericium Erinaceus) และเห็ดไมตาเกะ (Mitake) นอกจากนี้เห็ดสมุนไพรยังได้จากเห็ดพิษบางชนิดด้วย เช่น เห็ดพิษเบื่อเมา (Amanita Phalloides) เห็ดร่างแห เป็นต้น

เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากค่ะ

สวัสดีค่ะ

คุณพ่ออายุ 84 กำลังสนใจจะลองดื่มน้ำเห็ดหลินจือ เพราะมีเพื่อน สว.แนะนำ

ก็เลยหาข้อมูลก่อน ว่าเหมาะสมกับผู้สูงอายุ?

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

ขอบคุณมากนะครับที่ให้ความรู้เรื่องเห็ด เห็ดมีประโยชน์มากจริง ๆ หากเลือกบริโภคเห็ดที่ไม่มีพิษรับรองว่า มีแต่ประโยชน์ เป็นทั้งกากอาหาร เป็นทั้งยอดอาหาร เป็นทั้งยา สารพัดมากคร้บ

เด็กหญิง กัณฐิกา ลาภมูล

สวัสดีค่ะ คุณครู สุวิมล ไวยารันต์ หนู ด.ญ.กัณฐิกา ลาภมูล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ร.ร.บ้านสร้างม่วงส้มเสี้ยว

อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี หนูอ่านบทความของคุณครู สุวิมล แล้ว หนูได้ก็ได้รู้ว่าเห็ดมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะมีประโยชน์ทางด้านทางแพทย์ และทำให้หนูคิดที่จะกินเห้ดมากขึ้น เป็นประโยชน์มาก ...กัณฐิกา...

เด็กหญิง ศิริลักษณ นิลดวงดี

ได้รู้ว่าเห็ดหลินจือ นอกจากใช้รับประทานแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัสด้วย

เด็กหญิง ศิริลักษณ นิลดวงดี

ได้รู้ว่า เห็ดหูหนู เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไตด้วยค่ะ สนุกมากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท