จุดเกาะเกี่ยวระหว่างบุคคลธรรมดากับรัฐ


จุดเกาะเกี่ยวระหว่างบุคคลธรรมดากับรัฐ เพื่อกำหนดสถานะ และการมีจุดเกาะเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพ

          หลักกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยอย่างเด็ดขาดและสมบูรณ์เหนืออาณาเขตของรัฐและประชากรของรัฐ  ดังนั้น บุคคลจึงมีความสัมพันธ์กับรัฐได้โดยอาศัยหลักดินแดนและหลักบุคคล บุคคลธรรมดาอาจมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐได้ 2 กรณี ได้แก่

.       จุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิด

.       จุดเกาะเกี่ยวภายหลังการเกิด

 .จุดเกาะเกี่ยวระหว่างบุคคลธรรมดากับรัฐโดยการเกิด ดังนี้

                ในขณะที่เกิด เอกชนอาจมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐ ๒ สถานะ กล่าวคือ

            ๑.๑ หลักสืบสายโลหิต

(๑) รัฐเจ้าของสัญชาติของบิดา

() รัฐเจ้าของสัญชาติของมารดา

๑.๒ หลักดินแดน

- รัฐเจ้าของถิ่นที่เกิด

. จุดเกาะเกี่ยวระหว่างบุคคลธรรมดากับรัฐภายหลังการเกิด

                ภายหลังการเกิด เอกชนอาจมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐใน ๒ สถานะ กล่าวคือ

() รัฐเจ้าของสัญชาติของบุคคลในครอบครัวของตน และ

() รัฐซึ่งมีความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับเอกชนโดยข้อเท็จจริง กล่าวคือ

(๒.๑) มีภูมิลำเนาอยู่ในรัฐเป็นระยะเวลานานพอที่จะมีความกลมกลืนกับสังคม ของรัฐนั้นได้

(๒.๒) มีครอบครัวเป็นบุคคลที่มีสัญชาติของรัฐนั้นได้

(๒.๓) ทำคุณประโยชน์ให้กับรัฐนั้น อันแสดงถึงความจงรักภักดีต่อประเทศไทย

(๒.๔) อาศัยอยู่ในดินแดนที่รัฐได้มาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตแห่งรัฐ

หมายเลขบันทึก: 288460เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท