Executive Summary
แนวทางการดำเนินการของ
PCT MED เพื่อปรับโครงสร้าง
และเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานขององค์กร
1.
การแก้ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานของ PCT MED
ซึ่งมีความเร่วด่วน
2. โครงสร้างการดำเนินการของ PCT MED
บนความสมดุลย์ของการบริการและการพัฒนาคุณภาพ
3. การคาดการณ์ต่อปัญหาอาจจะเกิดขึ้นต่อ PCT
MED ในอนาคต และการบริหารความเสี่ยงโดยการแก้ปัญหาแบบ
Proactive
4. การสื่อสารสาระสำคัญจาก PCT MED
ถึงผู้บริหารสถาบันบำราศนราดูร
1.
การแก้ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานของ
PCT MED
ซึ่งมีความเร่งด่วน
1.1 ความชัดเจนของการให้บริการที่ OPD MED / ER
ความเป็นมา
ยังไม่มีความชัดเจนของการบริหารจัดการ การให้บริการของแพทย์ที่ OPD
MED / ER แต่เดิมผู้ป่วยที่มารับบริการที่ OPD MED / ER
ในช่วงเวลาราชการจะเป็นความรับผิดชอบของอายุรแพทย์ทำหน้าที่ในการรักษา,
Screening และส่ง Consult ตามระบบต่อไป
อย่างไรก็ตามมีความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ มีผู้ป่วย HIV/AIDS,
มีผู้ป่วยเฉพาะทางที่ซับซ้อนมากขึ้นจนเต็มอัตรานัดของอายุรแพทย์
แม้ว่าจะมีมาตรการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่ OPD
นอกเวลาก็ยังไม่สามารถบริหารจัดการปริมาณผู้ป่วยได้
จึงเป็นที่มาของการจ้างแพทย์ OPD อาทิเช่น พญ.ชุติมา, นพ.รุ่งโรจน์,
พญ.สัณทิพย์, พญ.เสริมจิตร
ปัญหาสำคัญ
1.1.1
ผู้ป่วย walk-in ได้รับการบริการช้า เนื่องจากแพทย์ OPD MED
และแพทย์ช่วย (แพทย์จ้างพิเศษ) เริ่มมีผู้ป่วยนัดของตนเองเต็ม
capacity หรือ มีศักยภาพไม่เพียงพอ
1.1.2 ไม่มีแพทย์ดูแล ER โดยเฉพาะ
แนวทางแก้ไข
บริหารจัดการการตรวจของแพทย์ใหม่ทั้งระบบ หรือจ้างแพทย์เพิ่ม
หรือใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน (จะทำการหารือกับผู้บริหาร)
1.2 Competency ของงาน OPD MED
ในการบริหารจัดการ การตามผล Lab การเลื่อนนัดผู้ป่วย,
การประสานงานเมื่ออัตรากำลังแพทย์ลดลง
โดยการแจ้งให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ทราบล่วงหน้า
ปัญหาสำคัญ
1.2.1 การติดตามผล Lab ก่อนผู้ป่วยเข้าพบแพทย์
ยังขาดการประสานงานติดตามผล ทำให้ผู้ป่วยเสียเวลา เข้า-ออกห้องแพทย์
โดยยังไม่ได้ผล Lab แม้แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มาตรวจ Lab
ล่วงหน้าหลายวันแล้ว เมื่อเข้าพบแพทย์พบได้บ่อยว่ายังไม่มีการตามหา
Lab นั้นมาให้
1.2.2 ระบบการเลื่อนนัด และระบบการประชาสัมพันธ์
กรณีอัตรากำลังแพทย์ลดลง การจากการประสานงาน และการวางแผนล่วงหน้า
เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วย walk-in ทราบล่วงหน้าในช่วงเวลาที่แพทย์
OPD มีอัตรากำลังลดลง ทำให้เกิดปัญหาผู้ป่วยล้น OPD
ทำให้ต้องตามแพทย์ลงมาช่วยตรวจฉุกเฉินเป็นระยะๆ การ Update
หมายเลขของผู้ป่วยเป็นระยะๆ
โดยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยทราบในกรณีแพทย์เลื่อนนัดล่วงหน้า
จะทำให้การบริหารจัดการ และการบริการผู้ป่วยที่ OPD ดีขึ้น
แนวทางแก้ไข
ในกรณีการตามผล Lab เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3
ฝ่าย 1.) ห้องบัตร 2.) ห้องปฏิบัติการ 3.)
OPD ไม่เคยแก้ไขได้ผล
อาจต้องหาแนวทางแก้ไขใหม่ อาทิเช่น online
report lab ใน Computer
ในกรณีการเลื่อนนัด การประสานงานกับหน่วยงานอื่น
การประชาสัมพันธ์จะให้ผู้ป่วย walk-in จากป้ายประกาศ
ในกรณีอัตรากำลังแพทย์ OPD ลดลง เช่น แพทย์ติดประชุมวิชาการประจำปี
พร้อมกันหลายคน อาจทำได้โดยประสานงานให้แพทย์เลื่อนนัด
แพทย์ควรแจ้งช่วงเวลาก่อนลาประมาณ 1 เดือน
หรือการเลื่อนแพทย์ประกันสังคมบ่ายซึ่งเดิมตรวจเวลา 13.00 น.–14.30 น.
ขึ้นมาเป็นเวลา 11.00 น. – 12.00 น. เป็นต้น
1.3
เจ้าภาพผู้รับผิดชอบที่ OPD MED
และตัวชี้วัดอันตรายที่ต้องติดตาม
1.3.1
เจ้าภาพผู้รับผิดชอบเหตุการณ์ / การประสานงานที่บกพร่อง
ยังไม่สามารถหาตัวได้ (ต้องขอให้แจ้งชื่อ
เพื่อจะติดต่อช่วยเหลือกันได้ไม่ใช่ต้องการตำหนิ)
1.3.2 ตัวชี้วัดอันตราย ได้แก่
การตามแพทย์ที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบมาช่วยตรวจฉุกเฉิน
ไม่ควรเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นต้องรายงานให้ทราบทันที
ถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ว่าการบริหารจัดการระบบไม่ดี
1.4
ความไม่ชัดเจนในกรณีคลินิกเฉพาะทางเต็ม และต้องปิดรับคนไข้
อาทิเช่น คลินิกผิวหนังเต็ม
แนวทางปฏิบัติต่อคนไข้กลุ่มนี้คืออะไร
1.4.1
นัดพบแพทย์ผิวหนังคราวหน้า
1.4.2 แนะนำคนไข้ไปรอตรวจที่ OPD MED
2. โครงสร้างการดำเนินการของ PCT
MED บนความสมดุลย์ของการบริการและการพัฒนาคุณภาพ
ความเป็นมา แพทย์เป็น Critical factor
ของการพัฒนาคุณภาพ อาจเป็นได้ทั้งในบทบาทของ Key success และ
Key failure ดังนั้น
กระบวนการพัฒนาคุณภาพจะประสบผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือและความเข้าใจต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพของแพทย์
เพื่อที่จะให้แพทย์เป็นผู้นำบุคลากรฝ่ายอื่นให้ปฏิบัติตาม
ปัจจุบันแพทย์ยังเป็นกำลังหลักของการบริการเนื่องจากไม่สามารถหาผู้ทำการตรวจผู้ป่วยแทนได้
เนื่องจากเป็นวิชาชีพเฉพาะ อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการ,
การเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของแพทย์เฉพาะบุคคลทั้งในแง่อุปนิสัย,
ช่วงเวลาที่แพทย์มีความสะดวก, สาขาวิชาการที่แพทย์ถนัด
สิ่งเหล่านี้ถ้าจัดให้มีความสมดุลย์
จะสามารถทำให้การบริการเกิดควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพได้อย่างยั่งยืน
และเต็มใจ
แผนการดำเนินการ
2.1 ปรับเปลี่ยนรูปแบบของ PCT MED
การประชุม PCT จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ
ก.) ประชุม PCT ในเชิงบริหาร (PCT MED administrative)
จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างหัวหน้าอายุรกรรม,
พยาบาลหัวหน้าตึกต่างๆ และอาจมีการเชิญฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อหารือ แก้ไข เสนอแนวทางไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้น
ข.) ประชุม PCT ในเชิงเติมเต็ม 12 กิจกรรม
หลักการ คือ จะเป็นการปฏิบัติโดยบุคลากรที่อยู่หน้างาน
จะเป็นการเสนอข้อมูล และการบรรยายเชิงวิชาการโดยพยาบาล
และบุคลากรอื่นๆ มากขึ้น
โดยหัวหน้าฝ่ายอายุรกรรมจะทำการกำหนดหัวข้อ
2.2
การแบ่งกลุ่มอายุรแพทย์เพื่อรับผิดชอบงานพัฒนาคุณภาพ
บนหลักการของความสมดุล, ความสอดคล้องและความถนัด
โดยไม่รบกวนงานบริการ
Draft
กลุ่มที่1. งาน Non-communicable disease
ที่สำคัญ เช่น DM, HT, Dyslipidemia, การตรวจร่างกายประจำปี,
การส่งเสริมสุขภาพ
งานเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ OPD MED , ตึกอายุรกรรมทั่วไป, ตึกพิเศษ
จะ allocate ให้ พน.วิโรจน์,
นพ.ณรงค์ศักดิ์, นพ.อรุณ ดูแล
กลุ่มที่2. งานเติมเต็ม 12 กิจกรรมของ
HA ส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินกิจกรรม Dead case , MM conference,
C3THER จะ allocate ให้ นพ.กฤตเตโช,
นพ.กอบโชค, พญ.ศุภรัตน์ ดูแล
กลุ่มที่3. งานผู้ป่วยหนัก,
ไตเทียม นพ.วิศิษฎ์ ดูแล
กลุ่มที่4. งาน OPD TB,
ห้องแยกโรค พญ.นาฏพธู ดูแล
กลุ่มที่5. งาน Hospital epidemiology,
occupational hazard นพ.วีระวัฒน์
ดูแล
กลุ่มที่6 งานประสานกับกรรมการยา High
alert drug, medical error
นพ.บุญชัย ดูแล
3.
การคาดการณ์ต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อ
PCT MED แบบ
Proactive
3.1 กำลังแพทย์ OPD
พญ.เสริมจิต, นพ.รุ่งโรจน์, พญ.สัณทิพย์
ความไม่แน่นอนในการออกตรวจ
OPD จะทำงานต่ออีกนานเท่าไร?
3.2
กำลังแพทย์อายุรกรรม
ปี
2550 – 2551 แพทย์ขาด 3 คน
ปี
2551 – 2553 แพทย์ขาด 3 คน
4.
การสื่อสารสาระสำคัญจากการประชุม
PCT MED ที่ผู้บริหาร
สถาบันบำราศนราดูร (โดยเฉพาะ PCT MED
admin)
จะทำการสรุปสาระสำคัญผ่านทาง www.gotoknow.org/pctmedbi
โดย วิศิษฎ์ ประสิทธิศิริกุล
รู้สึกดีใจ ปลื้มใจมากที่ได้อ่านรายละเอียดนี้ ขอบคุณมากคะที่คุณหมอวิศิษฎ์ชี้แจงความเป็นมาและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ OPD Med เป็นเพราะพวกเราไม่ได้คุยกันหรือเปล่าคะ (แพทย์และพยาบาล) แต่อย่างไรก็ตามนะคะ เราสามารถจูนปัญหานี้กันได้ ขอบคุณมาก ๆๆๆๆๆๆๆ คะ พอดีดิฉันได้มีโอกาสได้ทำงานร่วมกันทีมพยาบาล OPD ได้เต็มตัว (ครึ่งวัน) อยากแจ้งให้แพทย์ทราบคะ เพราะเราเริ่มทำ CQI เกี่ยวกับการติดตาม Lab ไประยะหนึ่ง โดยคุณอำนวยพร ได้ทำไปแล้วโดยการตรวจสอบแฟ้มก่อน 1 วัน แต่ก็ยังพบปัญหาเรื่องนี้อยู่ สุดท้ายเราเพิ่งเริ่มรูปแบบใหม่คะ เพราะเราพยายามทำRCA ก็พบว่า กระบวนการของเรายังบกพร่องและขาดการตรวจสอบที่ดี ทำให้การส่งต่อเกี่ยวกับการติดตาม หรือการตรวจเลือดก่อนพบแพทย์ ไม่สมบูรณ์
แนวทางแก้ไขที่เริ่มดำเนินการแล้วในอาทิตย์นี้คือ
ดังนั้นปัจจุบันคุณหมอMed อาจจะไม่สะดวกหรือหงุดหงิดในบางส่วน ก็ให้อภัยกันบ้างนะคะ ขอเวลาพัฒนางานซักระยะนึงก่อนนะคะ
อ้อ......เรื่องการแก้ปัญหาเรื่อง Lab ทีมพยาบาลของเราได้ประชุมร่วมกันกับห้องบัตร ห้อง Lab ไปหลายครั้งแล้วคะ (ก็หวังว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ ) ส่วนของผู้ป่วย NAPHA ที่ยังพบปัญหาตาม Lab อยู่บ้าง เรากำลังจะพัฒนาตามแนวทางข้างต้นคะ
เรื่องการเลื่อนนัด ก็กำลังดำเนินการทำ CQI ครั้งใหญ่อยู่คะ เพิ่งประชุมได้ 1 ครั้ง ตอนนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เลื่อนอยางเดียว แต่เกี่ยวกับการนัดจากตึกและที่อื่น ๆ ด้วยที่นัดโดยไม่ทราบว่าแพทย์งดหรือไม่ และการนัดจากเจ้าหน้าที่ลงบันทึกข้อมูลที่เปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ (แต่จุดนี้เราแก้ไปแล้วโดยการนัดออกจากห้องตรวจเลย) work แล้วคะ .........เรากำลังทบทวนอย่นะคะ
คลินิกผิวหนัง มีระบบดังนี้คะ การนัดจะจำกัดจำนวนไม่เกิน 20-30 คนและรับ walk-in อีก 20 รวมเป็น 50 คน และคุณหมอพรชัยจะลงตรวจเวลา 08.30-12.00 น. ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีคิว พยาบาลคัดกรองจะประเมินความรุนแรงว่าฉุกเฉินหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะแนะนำมาวันหลัง โดยการออกบัตรนัดให้เพื่อรับประกันว่าคราวหน้าได้ตรวจแน่นนอน แต่ถ้าฉุกเฉินจริง ๆ หมอพรชัยก็จะตรวจให้คะ
หมายเหตุ ถ้าคุณหมอมีเวลามาคุยกันบ้างก็จะดีนะคะ ทีมพยาบาลทุกคนทราบนะคะว่าคุณหมออายุรกรรมของเราทำงานหนักกันทุกคน พวกเราเห็นใจคุณหมอทุกคนคะ เพราะเวลาตรวจคนไข้คุณหมอทุกคนทุ่มเทเต็มที