ผลวิจัยสภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๕๑/๒๕๕๒


การวิจัยนี้เป็นประโยชน์สำหรับการเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป เมื่อพบว่ามีเด็กในปี ๒๕๕๑ ออกกลางคัน ตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ม.ปลาย เป็นจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ คน ก็จะต้องเร่งแก้ปัญหาว่าต่อไปจะทำอย่างไร ซึ่งเห็นปัญหานี้ตั้งแต่เบื้องต้นแล้ว จึงเป็นที่มาของโครงการเรียนฟรี แต่ทั้งนี้ทุกฝ่ายก็ต้องช่วยกัน

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  ัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยกรณีที่ผลวิจัย เรื่องสภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๕๑/๒๕๕๒ พบว่าโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ไม่ได้ช่วยลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รมว.ศธ. กล่าวว่า ตัวเลขของเด็กที่ออกกลางคันนั้น เป็นตัวเลขเมื่อปี ๒๕๕๑ ซึ่งขณะนั้นโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ยังไม่เกิดขึ้น เพราะโครงการนี้เริ่มในปี ๒๕๕๒ รมว.ศธ.ในฐานะประธานคณะกรรมการยกร่างนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ พบว่าตัวเลขเด็กออกกลางคันมาจากสาเหตุหนึ่งคือความยากจนและปัญหาเรียนอ่อน จึงเป็นที่มาของการดำเนินโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี เพื่อช่วยให้เด็กเหล่านั้นมีชุดนักเรียน ตำราเรียน ค่าเล่าเรียน และอุปกรณ์การเรียน โดยไม่ต้องออกกลางคันและมุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพเพื่อให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

นอกจากนี้ยังมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่ง รมว.ศธ. ได้เร่งรัดเพิ่มวงเงินกู้จาก ๒๖,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนยากจนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้เรียนต่อ แม้ได้รับผลจากโครงการเรียนฟรีแล้วแต่ค่าครองชีพยังไม่พอ รวมทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันได้อีกด้วย จากเดิมในปี ๒๕๕๑ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับ ปวช. ปล่อยกู้ได้ ๑๓๐,๐๐๐ คน แต่ในปี ๒๕๕๒ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับ ปวช. กู้ได้ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน แบ่งเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑๗๕,๐๐๐ คน และระดับ ปวช. ๑๓๐,๐๐๐ คน

สำหรับเด็กที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ (มัธยมศึกษาปีที่ ๓) ก็ได้มอบหมายให้ กศน.ไปเก็บตกเด็กให้จบการศึกษาภาคบังคับให้ครบในปีนี้ โดยทุกพื้นที่ต้องมีตัวเลขของเด็กที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ พื้นที่ที่ดำเนินการเสร็จแล้วคือพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ซึ่งพบว่ามีเด็กที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับประมาณ จำนวน ๙,๘๐๐ คน ในส่วนของการแก้ปัญหาเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษา เพราะความยากจน ศธ.ก็ได้จัดโครงการสถานศึกษาสงเคราะห์ จำนวน ๔๙ โรงเรียนทั่วประเทศ ที่มีโครงการเรียนฟรี รวมทั้งมีค่าครองชีพให้ด้วย แต่ต้องเป็นเด็กที่ยากจนจริงๆ เพราะเงินงบประมาณของรัฐมีจำกัด สำหรับเด็กที่อยู่ห่างไกลในชนบท รมว.ศธ.ได้เตรียมแผนงานในโครงการเงินกู้ SP2 ไว้ จำนวน ๒๕๐ โรงเรียนทั่วประเทศ ในการช่วยให้เด็กได้มีเงินค่าครองชีพเพิ่มเติมนอกเหนือจากเรียนฟรี และจะมีเรือนนอนเท่าที่จำเป็นให้ด้วย เพราะเด็กในพื้นที่สูงใช้เวลานานในการเดินทางมาโรงเรียน เป็นสาเหตุให้นักเรียนเหล่านี้ออกกลางคัน จึงจำเป็นต้องจัดเรือนนอนให้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลที่ทั้งจนทั้งทุรกันดารได้เรียนต่อ และจะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกกลางคันลดลง

รมว.ศธ. ได้กล่าวถึงผลการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องดีที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคันมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ ศธ.และของรัฐบาล รมว.ศธ.ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แม้แต่เรื่องการพัฒนาครูที่จะช่วยแก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน ซึ่ง รมว.มีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาครูทั้งระบบ ทั้ง ๕๐๐,๐๐๐ คน ในปีนี้

การวิจัยนี้เป็นประโยชน์สำหรับการเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป เมื่อพบว่ามีเด็กในปี ๒๕๕๑ ออกกลางคัน ตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ม.ปลาย เป็นจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ คน ก็จะต้องเร่งแก้ปัญหาว่าต่อไปจะทำอย่างไร ซึ่งเห็นปัญหานี้ตั้งแต่เบื้องต้นแล้ว จึงเป็นที่มาของโครงการเรียนฟรี แต่ทั้งนี้ทุกฝ่ายก็ต้องช่วยกัน

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/websm/2009/aug/294.html

คำสำคัญ (Tags): #การออกกลางคัน
หมายเลขบันทึก: 287868เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 06:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท