พรสวรรค์
นางสาว พรสวรรค์ แต้ว สุรพรสถิตกุล

ทำอย่างไรให้ลูกน้องรัก


ประสบการณ์คนเคยเป็นลูกน้อง

                                                                                           

ทำอย่างไรให้ลูกน้องรัก
           ในการทำงานในองค์ใดก็ตาม ย่อมจะมีผู้ที่มีบทบาทความเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา และผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง คำว่า ลูกน้อง มาจากคำไทยที่มีความหมายเป็นทั้ง ลูก และ น้อง ฉะนั้นการเป็นผู้บังคับบัญชาจึงเป็นทั้งพ่อ แม่ และพี่ ที่ต้องให้ความรักและเข้าใจลูกน้องด้วยความจริงใจ ส่วนลูกน้องที่ดีก็ต้องเคารพนับถือพ่อ แม่ และพี่ เช่นเดียวกัน ความร่วมมือทั้งด้านการงานและส่วนตัวก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยส่งผลให้เกิดผลงานและทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข วิธีทำให้ลูกน้องรัก ที่ประสบความสำเร็จอย่างถาวรและง่ายที่สุด มีดังนี้ค่ะ
            1. รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง ไม่โมโหฉุนเฉียว ความโกรธโมโหฉุนเฉียวเป็นพลังร้ายที่เผาผลาญจิตใจมนุษย์ และมีผลเสียต่อสัมพันธภาพ ลูกน้องไม่ชอบนายที่เอาแต่โมโหฉุนเฉียว เพราะทำให้ใจคอไม่สบาย หวาดระแวง ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ขาดความสุข ขาดความมั่นใจ ลูกน้องจึงมักหลีกเลี่ยงงานหรือเลือกทำงานเพียงไม่ให้ถูกดุเท่านั้น
            2. ไม่เก่งอยู่คนเดียว ไม่มีใครรู้เท่าฉัน ( One man show ) การเป็นหัวหน้า ลูกน้องย่อมเชื่อถือในความสามารถอยู่แล้ว แม้หัวหน้าที่เก่งกว่า รู้ดีกว่า ความสามารถมากกว่า ก็ไม่ควรแสดงออกว่าฉันเก่งอยู่คนเดียวควรให้เกียรติและให้โอกาสแก่ลูกน้องตามสมควร ลูกน้องก็จะทำประโยชน์แก่งานและเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานแก่ลูกน้องเป็นอย่างดี
             3. ไม่ใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ หัวหน้ามีอำนาจอยู่แล้วตามระเบียบ เปรียบเสมือนดาบอาญาสิทธิ์อยู่ในมือ จงใช้อำนาจเมื่อจำเป็นและอย่างมีเหตุผล หัวหน้าอวดและแสดงอำนาจจะไม่ได้น้ำใจและสติปัญญาของลูกน้อง การใช้อำนาจมากมักจะทำให้เกิดปัญหาข้อร้องเรียน บัตรสนเท่ห์ และก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา หัวหน้าจึงควรให้ความเห็นใจ ให้ความรัก จะเป็นการสร้างบารมีกับลูกน้องได้ดีกว่า
             4. ไม่ตัดสินปัญหาเวลาโกรธ คนที่กำลังโกรธมักขาดเหตุผล การทำอะไรไปตามอารมณ์โกรธย่อมเกิดความเสียหายได้ง่าย ดังนั้นเมื่อมีอารมณ์โกรธอย่าตัดสินใจทันที เพราะจะทำให้ตัดในใจผิดพลาดได้
              5. ไม่ลำเอียง อย่าเป็นอันขาด ! ที่แสดงให้ลูกน้องเห็นว่ารักไม่เท่ากัน เรื่องนี้สำคัญอยู่ที่การกระทำและคำพูดอย่าทำให้ลูกน้องหรือว่าหัวหน้าพอใจคนใดคนหนึ่ง เพราะจะทำให้ลูกน้องมีความอิจฉาริษยากัน น้อยใจ หวาดระแวงก่อให้เกิดการแตกแยก ขาดความสามัคคี 
              6. ส่งเสริมให้กำลังใจ หัวหน้าต้องคอยทำนุบำรุงดูแลเอาใจใส่ คอยสังเกตความรู้สึกว่าลูกน้องคิดอย่างไร ซึ่งอาจสังเกตจากงานที่ทำ หาทางบำรุงน้ำใจ ส่งเสริมกำลังใจ ลูกน้องจะทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ สติปัญญา ความสามารถที่มีอยู่ ซึ่งจะส่งผลดีแก่ตัวลูกน้องเอง ตลอดจนหัวหน้าและงานที่ทำอยู่

                   ทั้งหมดนี้คนที่เคยเป็นลูกน้องมาก่อนย่อมทราบดีว่า ตนชอบหัวหน้าแบบไหน ชอบให้หัวหน้าเป็นอย่างไร สิ่งที่เราไม่ชอบหรือเห็นว่าไม่ควรปฏิบัติ เราก็ไม่ควรปฏิบัติต่อลูกน้อง การเอาใจเขามาใส่ใจเราจึงเป็นเรื่องสำคัญของคนที่เป็นหัวหน้า เห็นไหมคะ เท่านี้คุณก็จะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าที่มีลูกน้องรัก ห้อมล้อมอยู่รอบข้างอย่างอบอุ่น ทุกคนก็จะมีความสุขในการทำงานและส่งผลก่อให้เกิดผลงานต่อองค์กรในสภาพรวมด้วยค่ะ

                   หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาที่นำเสนอ คงจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้กับการทำงานของเพื่อนๆได้นะคะ

คำสำคัญ (Tags): #ลูกน้อง#ลูกพี่
หมายเลขบันทึก: 287862เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 05:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ให้เขา พูดกับเขาดีๆ เป็นที่พึ่งให้เวลาเขาทุกข์และวางตนดีเสมอต้น เสมอปลาย แค่นี้พอ

คิดพูดทำให้ตรงกันทั้งสามอย่างแค่นี้ก็โอเคแล้วค่ะ

ขอบคุณมากเลยสำหับความรู้

มารับฟังเรื่องราวดีๆเพื่อนำไปใช้บ้างครับ

คนเราควรรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท