การพัฒนางานซีเอพีดี


การพัฒนางาน

การพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง (ซีเอพีดี)

      1 ก.ค. 51 หอผู้ป่วยพิเศษรวม 9A อาคาร สว .1  โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

ได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยซีเอพีดี  โดยการโซนนิ่งให้ผู้ป่วยซีเอพีดีที่มีปัญหา

ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  และมีจัดระบบการดูแล ดังนี้

       1.  พัฒนาสมรรถนะพยาบาลในหอผู้ป่วย โดยประเมินสมรรถนะ 3 ด้าน

            - ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยซีเอพีดี (เป็นแบบทดสอบ...ประนัย  ค่ะ)

            - การแก้ปัญหาผู้ป่วยซีเอพีดี (เป็นแบบทดสอบ..อัตนัย ค่ะ)  

            - ทักษะการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตทุกระบบ

        2.  การจัดโปรแกรมการนิเทศพยาบาลในหอผู้ป่วยเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยซีเอพีดีอย่าง

             สม่ำเสมอ ระยะเวลา 3 เดือน     

        3.  จัดทำคู่มือการพยาบาล  คู่มือการสอนผู้ป่วยซีเอพีดี  มีแผนการพยาบาลผู้ป่วยซีเอพีดี 

             แผนการจำหน่ายผู้ป่วยซีเอพีดี

        4.  จัดทำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยของหอผู้ป่วย

        5.  จัดทำ Profile ผู้ป่วยซีเอพีดีที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยเพื่อติดตามผลลัพธ์ทุกราย 

             (ดิฉันทำเองค่ะ ในบทบาทของAPN) 

        6.  บริการให้คำปรึกษาผู้ป่วยซีเอพีดีทางโทรศัพท์

        7.  จัดทำ Care map การดูแลผู้ป่วย Infected CAPD

        8.  เยี่ยมตรวจผู้ป่วยซีเอพีดีร่วมกับทีมสหสาขาทุกวันศุกร์

ผลการดำเนินการพัฒนางานใน 1 ปีที่ผ่านมา

        -  อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล  เป็น 0  (ที่ต้องวัดตัวนี้เพราะปัญหาที่ผ่านมาเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการ

           รักษาในโรงพยาบาลมักมีปัญหาติดเชื้อในโรงพยาบาล  บางรายต้องเอาสายออกก็มีค่ะ) เป็น

           ความภูมิใจของพวกเราทุกคนที่ทำได้ค่ะ  ต้องขอบคุณน้องๆ พยาบาล 9A ที่ให้ความร่วมมือ 

           มีความตระหนักที่ดีค่ะ

        -  พยาบาล 9A ผ่านการประเมินสมรรถนะ ร้อยละ 100

        -  มี care map Infected CAPD

        - มี Nursing care plan และ Discharge plan ผู้ป่วยซีเอพีดี

        - LOS เฉลี่ย 6.7 วัน

        - ความพึงพอใจผู้ป่วยซีเอพีดีต่อการให้บริการ ร้อยละ 98

โอกาสพัฒนา

        1.  พัฒนาระบบการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องกับศูนย์บริการสุขภาพของผู้ป่วย

        2.  พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกับหน่วยไตเทียม

หมายเลขบันทึก: 287687เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

น่าจะลองตั้งชุมชนนักปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วย CAPD ด้วยนะคะ โดยจิ๋วเป็น Facilitator

ลองอ่าน

ขอบคุณพี่แก้วมากค่ะ จะลองทำดูนะค่ะ คงต้องขอเรียนรู้จากพี่แก้วด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะพี่จิ๋ว

อยากได้ข้อมูลอัตราการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง

ที่ยอมรับได้เท่าไหร่ค่ะ

ขอเป็นสมาชิกด้วยคนนะค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องนุช

ยินดีต้อนรับค่ะ Peritonitis rate เมื่อก่อนเกณฑ์รับได้ที่ 1 episode/24 patient-treat- months แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีดีมากขึ้น อาจได้ถึง 1 episode/ 60 patient-treat-months แต่ตัวเลขที่เป็นเกณฑ์เหล่านี้ไม่สำคัญเท่ากับการเทียบเคียงกับตัวเราเองค่ะ ว่าเดิม peritonitis rate ของ center เราเท่าไร เมื่อเรา CQI แล้วค่านั้นลดลงหรือไม่อย่างไร น่าจะสำคัญกว่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ พี่จิ๋ว

พอดีช่วงนี้กำลังทำ thesis เกี่ยวกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วย CAPDค่ะ

วันหลังจะมาขอความช่วยเหลือนะค่ะ

เป็นกำลังใจให้พี่จิ๋ว ค่ะ

ลืมถามพี่จิ๋วว่าทำยังไงถึงจะเปลี่ยนรูปได้ค่ะ

น้องนุชค่ะ

ให้สมัครสมาชิกก่อนค่ะ โดยคลิกที่สมัครเตรียมรูปไว้ด้วยค่ะ

และทุกครั้งที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนก็ให้คลิกที่เข้าระบบค่ะ

ขอบคุณนะค่ะที่มาให้กำลังใจ ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะค่ะ

พี่จิ๋วค่ะ ขอสมัครเป็นเครือข่าย นักปฎิบัติในการดูแลผู้ป่วย CAPD ด้วยนะค่ะ

สวัสดัค่ะ คุณดุษฎี

ยินดีต้อนรับค่ะ ไม่ทราบว่ามีกลุ่มผู้ป่วย CAPD ที่ต้องดูแลหรือยังค่ะ

ถ้ามีแล้วก็เล่ามาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะค่ะ

ลัดดาวัลย์ พุทธบุตร

 สวัสดีค่ะพี่นุชจรีย์ หอมนานหนูเป็นพยาบาลอยู่ลพบุรีค่ะ หนูเพิ่งเริ่มเข้ามาทำงานในหน่วยไต (CAPD)หนูเป็น manager. จะรบกวนขอ Care map การดูแลผู้ป่วย

care map Infected CAPD , Nursing care plan และ Discharge plan ผู้ป่วยซีเอพีดี

KPI ของหน่วย CAPD (เนื่องจากหน่วยของเราเพิ่งเริ่มเปิด จะรบกวนขอ คำแนะนำ รวมทั้ง ข้อมูลเพื่อมาเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยต่อไป) จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ขอบคุณค่ะ ส่ง mail. [email protected]

คุณลัดดาวัลล์ ค่ะ

    ส่งให้แล้วค่ะ  ค่อย ๆ พัฒนาไปนะค่ะ  ส่วน KPI คนทำงานในหน่วยงานควรช่วยกันประเมินดูว่าเป้าหมายองค์กรคืออะไร  เราในฐานะองค์กรย่อยจะสนองตอบได้เท่าใด จะดีกว่า  แต่อยากให้เก็บ KPI ที่เป็น clinical outcome นะค่ะ

สวัสดีค่ะพี่นุชจรีย์ หอมนาน ดิฉันเป็นพยาบาลอยู่ จ.กาญจนบุรี เป็น case manager เดือนที่แล้วมีผู้ป่วยCAPD ติดเชื้อ 6 ราย อยากได้ care map Infected CAPD ของพี่ มาเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย ขอรบกวนพี่ช่วยส่งให้หน่อยนะคะ จักเป็นพระ คุณยิ่ง ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ e-mail [email protected]

คุณอรทัย

พี่ส่งให้แล้วนะค่ะ มีแนวปฏิบัติอื่น ๆ ให้ด้วย ลองนำไปปรับใช้ดู มีข้อเสนอแนะอะไร

ก็มาแลกเปลี่ยนได้นะค่ะ

ที่พี่ส่งมา ยังไม่ได้รับเลยค่ะ

สวัสดีค่ะพี่จิ๋ว จิ๊ดเป็นCAPD n.รพบ้านโป่งค่ะ เปิดหน่วยมาได้ประมาณ 2ปี ค่ะ จะเจอปัญหา Volume overload มากแพทย์ทั้งเฉพาะทางและเฉพาะกิจ มักจะใช้4.25 เยอะมากค่ะ บางท่านสั่ง วันละ 4 รอบเลย รีดน้ำ จนน้ำตาลขึ้น 400-500 ก็มี บางรายมาบ่อยก็จะเจอแบบนี้บ่อยๆ กลัวจะมีcompliationค่ะ  ไม่ทราบว่าที่รพ.ศรีฯมีแบบนี้บ้างมั๊ยค่ะ  จริงๆแล้วcaseแบบนี้พี่คิดว่าเราควรจะทำอย่างไรดีค่ะเพื่อผู้ป่วยและไม่ขัดแย้งกับการรักษาของแพทย์   ขอรบกวนพี่ด้วยค่ะ

คุณเฉลิมศรีค่ะ

ขอโทษที่ตอบช้ามาก ปัญหา Volume overload พบที่ศรีนครินทร์เช่นกันค่ะ การใช้ 4.25%เป็นการแก้ไข

ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือลดการทำงานหัวใจในขณะนั้น แต่ระยะยาวเราควรหาสาเหตุ

ของ volume overload ในรายนั้น ๆ เช่น ทบทวนสมดุลน้ำ กำไรการล้างไตและปัสสาวะเพียงพอหรือไม่ ควรจะ

800 ml ขึ้นไปค่ะ ถ้าปริมาตรกำไรล้างไตและปัสสาวะมากกว่า 800 ml แสดงว่าไม่มีปัญหา UF ควรประเมินว่า Intake

มากไปหรือไม่ ดื่มน้ำอื่น ๆ รับประทานข้าวต้มประจำ หรือรับประทานอาหารเค็ม

แต่ถ้า UF น้อยกว่า 800 ml ควรประเมินว่าตำแหน่งสายดีหรือไม่ หรือ Test flow ผ่านหรือไม่ ถ้าผ่านน่าจะ run ได้

ไม่มีปัญหา flow อาจต้องประเมินการทำงานของหัวใจ หรืออาจต้องทำ PET เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีการแลกเปลี่ยนของ

peritonium แบบไหน กรณีเป็น high transport อาจต้องปรับการ run น้ำยาเป็น short dwell time ค่ะ

ถ้าตำแหน่งสายไม่ดี Test flow ไม่ผ่าน ควรพิจารณาวางสายใหม่ค่ะ

การใช้ 4.25% แล้วไม่แก้ไขสาเหตุของปัญหา อาจทำให้ perotonial membrane ผู้ป่วยเสียและทำ CAPD ต่อไม่ได้ค่ะ

ตอบช้าไม่เป็นไรค่า ดีใจค่ะที่พี่ให้คำแนะนำเพราะปัญหานี้ไม่เคยหมดไปในผู้ป่วยCAPD ค่ะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง CAPD ในหลักประกันสุขภาพที่ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ค่ะ ที่นี่ส่วนใหญ่น่าจะเกิดจากการ Intake เข้าไปมากค่ะ ไม่ปรับการรับประทาน ปัญหาเรื่อง UFยังไม่มีเพราะเป็นผู้ป่วยใหม่ๆ บางคน UF 1.5% วันละ 800-900 ยังอยู่ไม่ได้เลยค่ะ บวม แน่น ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำดีดี แล้วจะมารบกวนอีกนะค่ะ

คุณเฉลิมศรี ค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะค่ะ ลองทำอภิปรายกลุ่มหาแนวทางการควบคุมสมดุลน้ำในผู้ป่วย

เวลาที่มา Follow up ก็จะดีนะค่ะ แล้วให้แรงเสริมทางบวก เช่น ชื่นชม หรือให้โอกาส

คนที่ทำได้ดีมาเป็นวิทยากรให้เพื่อน ๆ ฟังบ้าง ดีกว่าคอยตามแก้ไขปัญหานะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท