สรุปกระบวนการพัฒนาKM ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรปี2552ตอนที่1.:มุมมองรอยต่อจากอดีต


กระบวนการพัฒนาการจัดการความรู้ในระดับองค์กร

 

กระบวนการพัฒนาการจัดการความรู้ในระดับองค์กรปี52ในตอนที่1.นี้ ผมจะขอการสรุปกระบวนการพัฒนาการจัดการความรู้ในระดับองค์กร ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้ดำเนินการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นปีงบประมาณ2552 โดยในตอนที่ 1.นี้จะขอกล่าวถึง มุมมองย้อนอดีต จากการดำเนินงานด้านการพัฒนากระบวนการการจัดการความรู้  ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรได้เริ่มเรียนรู้และได้ลองผิดลองถูก จากอดีตมาตั้งแต่ปลายปี 2542เป็นต้นมา แต่ผมขอเรียนด้วยความเป็นจริงว่า ช่วงระยะแรกเราเริ่มเข้าสู่ยุคของการเรียนรู้ มีการเริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิดของบุคลากรในองค์กร โดยลงไปทำงานกับชุมชน กลุ่มอาชีพ  การสร้างและพัฒนาทีมงาน  การฝึกทักษะการใช้เครื่องมือในการเรียนรู้กับชุมชน กลุ่มอาชีพ  ทั้งนี้เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดการทำงาน หรือการพัฒนาบุคลากรให้คิดเชิงระบบควบคู่กันไป  หากจะพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ การสร้างและพัฒนาระบบการทำงานขององค์กรนั่นเอง แต่ก็ไม่ต้องรอการTopdown จากส่วนกลางนั่นเอง

 

 

           ทีแรกเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า การจัดการความรู้ (KM)นั่นคืออะไร แต่เราก็มีการพัฒนาบุคลากรมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงห้วงระยะเวลาหนึ่งเราได้เรียนรู้กับการจัดการความรู้จริงๆแล้วในปี2548 แต่เราก็ได้ย้อนกลับไปดูงานที่เรามีการพัฒนาบุคลากรขององค์มาอย่างต่อเนื่องนั้น ก็พอจะสรุปได้ว่านั่นมันใช่การจัดการความรู้นั่นเอง สรุปเอาง่ายๆว่าองค์กรเรามองการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เครื่องมือหนึ่งในการทำงานส่งเสริมการเกษตรนั่นเองครับ

 

 

          แต่ก็ต้องยอมรับเช่นกันว่าการพัฒนาการนำการจัดการความรู้ไปเป็นเครื่องมือในการทำงานส่งเสริมการเกษตรนั้น มันเริ่มต้นมาจากระดับบุคคล(ปัจเจก)ก่อน แล้วพัฒนามาเป็นระดับกลุ่มและระดับองค์กรในที่สุด

 

 

          หากจะลองกำหนดขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาการจัดการความรู้ในระดับองค์กรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ณ.ปัจจุบันนี้พอจะแบ่งออกได้  6 ขั้น ประกอบด้วย

 

       ขั้นที่ 1.  ก้าวสู่การจัดการความรู้ในองค์กรระยะแรก ซึ่งเริ่มช่วงปลายปี 2542-2546

 

 

      ขั้นที่ 2. ก้าวสู่การจัดการความรู้โดยใช้ PAR มาเป็นการยกระดับองค์ความรู้ของเกษตรกร ซึ่งเริ่มต่อจากปี2546จนถึง2547

 

 

      ขั้นที่ 3. ก้าวสู่การจัดการความรู้ โดยสวมลงในงานที่ปฏิบัติ ซึ่งเริ่มมาในปี 2548-2549

 

 

      ขั้นที่ 4. ก้าวสู่การจัดการความรู้ในระบบส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเริ่มมีการพัฒนาการเรียนรู้ในการค้นหา Best Practice  การเล่าเรื่อง (Story telling )  ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : COP )  เพื่อนช่วยเพื่อน ( Peer Assist )  การเรียนรู้ระหว่างการทำงาน (After Action Review :AAR )  การสอนงาน (          Coaching ) การทำงานเป็นทีม (Team Work )

 

 

      ขั้นที่ 5. ก้าวสู่การจัดการความรู้ โดยขยายทั้งองค์กร และทั่วทั้งพื้นที่การปฏิบัติงาน(ชุมชน/กลุ่มอาชีพ ) ซึ่งได้เริ่มมาในปี 2550-2552 โดยมีการกำหนดเป้าหมายนำร่องในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยกำหนดตัวเดินเรื่อง ได้แก่การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  การผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน และศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง เป็นต้น

 

 

     ขั้นที่ 6 การสร้างและพัฒนาคลังความรู้  ซึ่งมีการจัดหมวดหมู่ของชุดความรู้  เพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบการจัดเก็บและการสืบค้นองค์รู้ที่สะดวกรวดเร็ว ต่อการนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อยกระดับองค์รู้ทั้งรายบุคคล กลุ่ม และองค์กร ทั้งนี้อาจจะรวมถึงการจัดทำทะเบียนองค์รู้ทั้งองค์กรสู่การเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ที่เรียกกันว่าการไหลขององค์ความรู้นั่นเอง( ในตอนที่2.จะนำเสนอณ.ปัจจุบันเราทำอะไรกัน ) 

ผู้บันทึก: สายัณห์ ปิกวงศ์

15 สค.52

หมายเลขบันทึก: 287682เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท