ผู้นำที่แท้ คือพี่เลี้ยง


ผู้นำที่แท้ คือพี่เลี้ยง

Real  leaders  are  mentors.

ผู้นำที่แท้  คือพี่เลี้ยง

                                                                                                        โดยอนันยช.

***********************************************************

คนที่ได้เข้ามานั่งเก้าอี้หัวหน้างานนั้น  มักจะถูกเลื่อนขึ้นมาจากคนเก่ง  หรือการศึกษาเฉพาะด้านโดยตรง  แต่  “หัวใจ”  ของการควบคุมงานมิใช่ขึ้นอยู่กับความรอบรู้  และความสามารถในการกำกับ  และการจัดการเท่านั้น  หากแต่ขึ้นอยู่กับเทคนิคการทำงาน  และกระบวนการพัฒนาตนเองประสานไปกับการพัฒนาลูกน้อง  โดยมีหัวใจหลักดังต่อไปนี้

หัวใจผู้นำ  9  ข้อ

1.             มีวุฒิภาวะ

2.             กล้าตัดสินใจ

3.             ซื่อตรง  ยุติธรรม

4.             มอบหมายงานเป็น

5.             ควบคุมดูแลและบริหารจัดการเป็น

6.             มีสายตาเฉียบคม  มองการณ์

7.             สนับสนุนคนเก่ง

8.             ใช้เหตุผล  ระงับอารมณ์เป็น

9.             มีทักษะดีในการสื่อสาร

 

เป็นหน้าที่ของหัวหน้างาน  ที่จะต้องทำให้ลูกน้องรู้สึก   สนุก   ที่จะทำงาน

 และรู้สึก   มีความสุข    ที่จะทำงานกับเราด้วย

การติดต่อสื่อสารที่ดี   ย่อมมีผลให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น  และมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเป็นหัวหน้างาน   มิว่าจะเป็นผู้จัดการหรือเจ้าของบริษัท  การสื่อสารกับคนในบังคัญชา   ต้องมีความชัดเจนเสมอ   หัวหน้างานที่บกพร่องในเรื่องการสื่อสารย่อมต้องคอยแก้ปัญหาบ่อยและขาดความน่าเชื่อถือ

การทำงานจะมีประสิทธิภาพได้  ขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลอย่างทั่วถึง  ต้องเป็นทั้งนักจัดการงานและจัดการบุคคล   กิจกรรมงานต่าง    จะก้าวหน้าและมีความสำเร็จไม่ได้เลย  ถ้าหัวหน้าละเละการกำกับดูแลการทำงานของลูกน้อง

คนที่เป็นหัวหน้างานอาจเป็นคนที่เด่นในความสามารถของการทำงาน   แต่อาจจะไม่ใช่คนที่สมบูรณ์พร้อมในด้านอื่นๆ   ด้วย   ตัวเราเองจึงต้องพัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ   มิใช่คิดเพียงว่าทำงานได้ดีก็พอเพียงแล้ว

การสื่อสารต้องชัดเจนและมีประสิทธิภาพเสมอ  ในการอธิบายหรือมอบหมายงานต้องเรียนรู้ในการพูด  ฝึกใช้ภาษาที่กระชับ   เข้าใจง่าย  ไม่วกวน   น้ำเสียงต้องชัดเจน   จังหวะการพูดไม่เร็วจนเกินไป   การเป็นหัวหน้ายังจะต้องรู้จักเป็นนักฟังที่ดีด้วย  ต้องรู้จักใส่ใจเมื่อคนอื่น  พูดมิใช่ให้คนอื่นสนใจฟังตนเองฝ่ายเดียว

ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง   เมื่อเผชิญปัญหาบางอย่างที่ต้องตัดสินใจ  แน่นอนว่าบางครั้งเราอาจจะมีความหวาดกลัว   และไม่แน่ใจว่าผลจะออกมาดีหรือร้ายอย่างไร  แต่เราก็ต้องตัดสินใจด้วยการขจัดความหวาดหวั่นไม่มั่นใจออกไป   ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความนับถือศรัทธาในตนเองเป็นสำคัญด้วย

เมื่อตำแหน่งสูงขึ้น  หน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบย่อมต้องมากขึ้นตามไปด้วย  การจัดระเบียบการทำงานที่ดีจะทำให้คุณทุ่มเทเวลาให้กับงานได้โดยไม่ทำให้คุณเสียเวลาที่พักผ่อนหรืออยู่กับครอบครัวเลย   ดังนั้นคุณต้องแยกให้ออก   ระหว่าคำว่า   “บ้างาน”  กับการทำงานอย่าง “เต็มที่”

หาเวลากินข้าวกับลูกน้องบ้าง  ไม่บ่อยเกินไปแต่ก็มิใช่ทิ้งระยะห่างนานเกินไป   และในช่วงเวลาที่ดีนั้นควรถามไถ่ทุกข์สุขเรื่องส่วนตัวของเขาแทนที่จะคุยแต่เรื่องงาน

การเป็นหัวหน้าคนมิใช่ผู้ที่ถืออำนาจไว้ในมืออยู่ตลอดเวลา   แต่คือผู้ที่ต้องร่วมประสานงานกับทีมของตน   และยังจะต้องคอยรับใช้ช่วยเหลือพวกเขาในทุกขั้นตอนอีกด้วย

การเป็นหัวหน้าคนนั้นจะต้องจัดการควบคุมดูแลทั้งเนื้องานและตัวบุคคลที่เป็นลูกน้องอยู่ในแผนกหรือในทีมงานของเราด้วย   ฉะนั้นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ   ก็คือว่าเราจะต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมดูแลตัวเองให้ได้ก่อน  มิว่าจะเป็นเรื่องการควบคุมอารมณ์หรือการบริหารเวลาของตน

เรียนรู้เรื่องการมอบหมายกระจายงานให้เป็น   เพราะมันคือส่วนสำคัญจะที่เอื้อให้คุณมีเวลาได้วางเป้าหมาย   ควบคุมแผนงาน   และตรวจสอบการทำงานได้เต็มที่   มิใช่มานั่งทำงานหลายอย่างด้วยตนเอง

หัวหน้างานยุคใหม่   ต้องเปิดใจยอมรับคนที่เก่งแลชาญฉลาด    เพรามันจะมีผลต่อทีมงานและผลของงานด้วย    ส่งเสริมเขาและเรียนรู้บางอย่างจากเขา   อย่าปล่อยให้ทีมงานมีแต่คนที่ด้อยความคิดและความสามารถ

หัวใจของการทำงาน   คือ  การกำหนดเป้หมายของทีมงานให้ชัดเจนเสมอ  ทั้งเป้าหมายโดยรวมของแผนกงาน   และเป้าหมายของตัวงานแต่ละชิ้น   ก่อนจะจัดการเตรียมผลงานกันโดยละเอียดต่อไป

หัวหน้างานจะเป็นผู้เตรียมแผนงานเองก็ได้   หรือมอบหมายให้ผู้ช่วยซึ่งเป็นคนเก่งในทีมเป็นผู้วางแผนงาน    จะต้องเตรียมแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว   ในแผนงานต้องลงรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานและผู้ที่รับผิดชอบแต่ละขั้นตอนนั้นด้วย

                การมอบหมายงานเป็นขั้นตอนที่ต้องจัดการดูแลให้เหมาะสม   วางบุคคลที่เหมาะสมในบทบาทหน้าที่ที่เหมาะกับความถนัดของเขา   การสื่อสารในการอธิบายงานต้องชัดเจน   กำหนดระยะเวลาให้ดี   และกระจายให้เป็น   อย่าให้คนใดคนหนึ่งหรือตัวหัวหน้างานเองรับผิดชอบงานไว้มากจนเกินกำลังความสามารถ

                คิดสร้างสรรค์ระบบการทำงานที่ทันสมัยอยู่เสมอ    เพื่อพัฒนาทีมงานและก่อให้เกิดความเป็นเลิศในการดำเนินงานด้วย

                ให้ลูกน้อง  ทำรายงานการทำงานในหน้าที่ของแต่ละบุคคลส่งให้เราตรวจสอบทุกสัปดาห์   เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนว่าแต่ละคนมีความรับผิดชอบมากน้อยเท่าใด   ทำงานได้ตามเป้าหมายหรือไม่

ทดสอบความสามารถของแต่ละคน   เพื่อจะได้มอบหมายงานให้ได้ถูกต้องเหมาะสม   กระจายงานให้ทั่วถึง  และมีความยุติธรรมทุกคนในทีม

สอนงานให้ลูกน้องในทีมของตน    ให้เขาได้เรียนรู้งานและได้ข้าใจถึงบทบาทของเขา   อย่าปล่อยให้เขาทำแต่งานไปตามหน้าที่   อย่าคิดแต่จะได้เนื้องานจากลูกน้อง   เพราะมีนจะเป็นงานที่ขาดพลังแห่งความสร้างสรรค์

ที่มา  :  อนันยช.  เคล็ดลับหัวหน้างาน.  กรุงเทพฯ : ไพลินบุ๊ค.  2547,  112  หน้า

หมายเลขบันทึก: 287456เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ข้อคิดที่ดีๆ นำไปสู่การปฏิบัติที่เกิดผล

ทำไมเห็นผอ.ธีระวัธน์เป็นครูสอนรุ่งนภาได้เนี๊ยะปัดทะมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท