ยุทธศาสตร์การบริหารอุดมศึกษาในกระแสโลกาภิวัตน์...By:Rain


ยุทธศาสตร์การบริหารอุดมศึกษาในกระแสโลกาภิวัตน์

     การประยุกต์ใช้ความรู้หลักการบริหารงานสมัยใหม่ มาเสนอยุทธศาสตร์การบริหารอุดมศึกษาในกระแสโลกาภิวัตน์เพื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารสถาบันอุดมศึกษารวมทั้งผู้ที่อยู่ในแวดวงอุดมศึกษา       โดยขอเริ่มจากการมองภาพรวมของอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันว่าแนวโน้มและทิศทางความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอุดมศึกษามี 8 ข้อ คือ 1.การขยายจำนวนรับนักศึกษา (enrolment growth) คือจำนวนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก  2. การขยายโอกาสและความเสมอภาค (mass access and equity)         3. ความหลากหลายของลักษณะเฉพาะและความต้องการของนักศึกษา (increased diversity  of student characteristics and needs)    4. ความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การบริโภคนิยม และความรับผิดชอบ (stake-holder expectations, consumerism, and accountability)  5. การผสมผสานของภาครัฐและภาคเอกชนในอุดมศึกษา (public-private mix in higher education)         6. การเข้าสู่โลกาภิวัตน์ของอุดมศึกษา (globalisation of higher education)     7. การปฏิวัติด้านเทคโนโลยี ( technological revolution)     8. การศึกษาและงานอาชีพ (education and work) (http://www.dpu.ac.th/rihepp/upload/userfiles/File/article.pdf )

      สำหรับปัจจัยจากเทคโนโลยีที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์มี 3 ข้อสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานในมหาวิทยาลัย คือ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) เทคโนโลยีนี้ครอบคลุมเรื่องการทำให้ตัวเลข ตัวอักษร หรือข้อความ สัญลักษณ์ รวมทั้งภาพและเสียง ที่ผ่านการวิเคราะห์ จัดกลุ่มเลือกสรรแล้ว โดยระบบคอมพิวเตอร์ (Computerized System) 2. เทคโนโลยีโทรคมนาคม ส่วนนี้คือ สะพานหรือทางเดินของข้อมูลข่าวสาร ภาพ เสียง จากผู้ส่งไปยังผู้รับ ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ทั้งทางอากาศ ผ่านเครือข่ายดาวเทียม (Satellite Systems) หรือทางบก ทางน้ำ ผ่านเครือข่ายสายใยแก้ว (Fiber optics) 3. เทคโนโลยีอื่นๆ อาทิ เทคโนโลยีการผลิตสินค้า ทำให้ผลิตได้มากๆ โดยมีมาตรฐานคุณภาพเหมือนกัน ใช้หุ่นยนต์ (Robot) และแรงคนประกอบกัน เทคโนโลยีการเรียนการสอน ครูคนเดียวสอนผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ เครือข่ายดาวเทียม สายใยแก้ว ไปถึงนักเรียนจำนวนมากๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นยุทธศาสตร์การบริหารงานอุดมศึกษาต้องพยายามใช้ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมาย 3เรื่องคือ


1.ใช้คนเท่าเดิมทำงานได้มากขึ้น หรือ2.งานเท่าเดิมแต่ใช้คนน้อยลง หรือ3.คุณภาพของงานต้องดีเท่าหรือดีกว่าเดิม

    โดยการจะบรรลุเรื่อง3เรื่องดังกล่าวนั้นยุทธศาสตร์ที่เสนอไว้มี  9 ข้อ  คือ 1.การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization) เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น 2. การบริหารงานที่อยู่ไกลกัน (High-Technology Administration) 3. การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) 4. การมองการณ์ไกล (Introspection) ผู้บริหารและคณะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) กว้างไกล  5. การกระจายงานให้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization) 6. การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development) 7. การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development) บุคลากรในหน่วยงานควรได้รับการศึกษา ฝึกฝน อบรมอย่างสม่ำเสมอ ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และความต้องการของหน่วยงาน( http://knowledgeplan05.blogspot.com/2009/02/blog-post_2669.html)

       สุดท้ายมีสรุปและข้อเสนอแนะว่า  ระบบอุดมศึกษาของทุกประเทศในปัจจุบันต่างเผชิญหน้ากับความท้าทายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อ เป้าหมาย ภารกิจ และยุทธศาสตร์ของตน ดังนั้นการบริหารงานอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่จะต้องมีการพัฒนาทั้งคน วิธีการ เครื่องมือเทคโนโลยี และระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อทำงานได้สำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยใช้ต้นทุน ทุนด้านแรงงาน และทรัพยากรอื่นน้อยลงได้ นั้น มีสิ่งที่ควรคำนึงที่เป็นข้อเสนอแนะหลายประการ คือ1. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. การถนอมใช้ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อม 3. การปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรมต่อ ผู้บริหารอุดมศึกษาและผู้ใช้เทคโนโลยี 4.ยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคที่ผู้ด้อยโอกาสไม่ได้รับความเสมอภาคตามสิทธิของตนเองซึ่งอันที่จริงตามหลักธรรมาภิบาลในยุคนี้ ต้องคำนึงถึงหน่วยย่อย ธุรกิจย่อย ที่เป็นองค์ ประกอบสำคัญของแต่ละสังคมด้วย ซึ่งสิ่งเล็กๆ เหล่านั้น ควรมีความดีงาม ความพอเพียงเป็นหลักแฝงอยู่

     ยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคที่วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิธีการจัดการสมัยใหม่ โดยเฉพาะการคมนาคม ขนส่ง การติดต่อสื่อสาร ที่ทำให้สามารถดำเนินกิจการต่างๆ ได้รวดเร็ว สะดวก มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ดังนั้นการบริหารในยุคนี้มุ่ง ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณ และคุณภาพต่อสิ่งผลิต และการบริการที่ดี ให้กระจายไปอย่างกว้างขวางได้ โดยใช้บุคลากรบริหาร ควบคุม ดูแล ไม่มาก นักบริหารที่เก่งต้องสามารถคาดการณ์ไกลได้ชัดเจน ทำงานให้สำเร็จโดยลงทุนอย่างเหมาะสม ใช้ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่งานนั้นให้ประโยชน์ทางสร้างสรรค์แก่องค์กรของตนเองและแก่ส่วนรวมมากที่สุด และยังเป็นผู้มีจริยธรรมและคุณธรรม

By:Rain

หมายเลขบันทึก: 287366เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ปัจจุบันนี้สถาบันอุดมศึกษาต่างใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร (Information and Communication technology) เทคโนโลยีดังกล่าวเพิ่มรูปแบบของการใช้สารสนเทศนับตั้งแต่การนำเช้า การประมวลผล การติดต่อสื่อสาร ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษามากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ICT ก็เสมือนเป็นดาบ 2 คม ผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาต้องมีจริยธรรมในการใช้ หากไม่มีจริยธรรมในการใช้ ก็จะก่อให้เกิดโทษขึ้นได้

ยุทธศาสตร์ในการจัดการระบบศึกษาไทยควรมุ่งเน้นให้เกิดความเสมอภาคในโอกาสเข้าถึงอุดมศึกษา การประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษา การกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารจากโลกาภิวัฒน์ เพื่อเตรียมกำลังสำคัญของชาติเข้าสู่สนามแข่งขันกับนานาชาติ

การบริหารสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพเป็นหัวใจสำคัญ เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคมอุดมศึกษา ซึ่งถือว่าปัจจุบันนี้เป็นประชาคมแห่งการสร้างองค์ความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงเป็นระบบที่สามารถผลิตคุณภาพของผู้รู้ ผู้สร้างความรู้ และองค์ความรู้ ที่จะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้เทคโนโลยีทั้งเทคโนโลยี โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่สามารถทำงานเกี่ยวกับข้อมูลมากขึ้น ควรเน้นในด้านการสร้างองค์ความรู้ และองค์กรการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาในอนาคต

ขอบคุณ คุณ rain ที่ได้ฉายภาพยุทธศาสตร์การบริหารสถาบันระดับอุดมศึกษาในกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถาบันในการนำไปปรับใช้เพื่อสร้างคุณภาพการศึกษาของไทยต่อไป โดยไม่ได้คำนึงถึงการศึกษาในเชิงพาณิชย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะในสังคมโลกาภิวัฒน์มีเครื่องมือที่จะช่วยการดำเนินการตามพันธกิจของสถาบันระดับอุดมศึกษาได้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สุดท้ายสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจน

ยุคปี 2009 ที่กำลังจะเข้าสู่่ปี 2010 คำว่าโลกาภิวัฒน์อาจจะเป็นคำที่ใช้กันมานานเป็น 10 ปีแล้ว ซึ่งสังเกตว่ากลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ที่หยิบยกมาพูดถึงกันก็ยังคงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคน ผู้บริหาร และการบริหาร จึงทำให้มองย้อนนึกไปว่าแล้วที่ผ่านๆมาพัฒนาการอุดมศึกษาไทยนั้นได้มองไปข้างหน้าหรือจริงๆแล้ว ณปัจจุบัน เรากำลังเดินสวนทางกับสิ่งที่วาดหวังไว้กันแน่

จึงขอแนะนำให้นำยุทธศาสตร์การบริหารความเปลี่ยนแปลงเข้ามาสู่การบริหารงานระดับอุดมศึกษาโดยด่วน เพื่อปรับกรอบความคิดของผู้ที่จะออกไปเป็นผู้นำสังคมต่างๆ ได้เข้าใจและสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึนในสังคมอยู่ตลอดเวลานาที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท