มาฝึกร้องเพลงลูกทุ่งกัน


ในการพัฒนาการร้องเพลงลูกทุ่งนั้น ข้าพเจ้ามีเป้าหมายอยู่ว่า จะต้องมีเพลงลูกทุ่งอย่างน้อยหนึ่งเพลง ที่ข้าพเจ้าจะสามารถร้องให้เพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นๆฟังได้

                สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการพัฒนา คือ การร้องเพลงลูกทุ่ง  แม้ว่าข้าพเจ้าร้องเพลงสตริงได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ในการร้องเพลงลูกทุ่งนั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างไปจากการร้องเพลงสตริงโดยสิ้นเชิง ทั้งเนื้อเสียงที่ใช้ สำเนียง ลูกคอ ซึ่งข้าพเจ้ายังขาดทักษะเหล่านี้อยู่มาก  ข้าพเจ้าเชื่อว่า การที่คนคนหนึ่ง จะเป็นคนที่ร้องเพลงได้ดีนั้น ควรจะร้องได้ดีในทุกๆแนวเพลง ไม่เช่นนั้น ในการประกวดร้องเพลงในเวทีต่างๆ คงไม่มอบหมายโจทย์เพลงที่หลายหลายให้ผู้แข่งขัน ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเกิดความคิดว่า การร้องเพลงลูกทุ่ง ให้ไพเราะ ก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง แม้เราจะไม่ได้หวังยึดการร้องเพลงเป็นอาชีพหลัก แต่หากเราทำได้ ก็จะทำให้มีความสามารถพิเศษที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งเพลงลูกทุ่งนี้ ก็เป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยแขนงหนึ่ง ควรที่คนรุ่นใหม่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้

                ในการพัฒนาการร้องเพลงลูกทุ่งนั้น ข้าพเจ้ามีเป้าหมายอยู่ว่า จะต้องมีเพลงลูกทุ่งอย่างน้อยหนึ่งเพลง ที่ข้าพเจ้าจะสามารถร้องให้เพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นๆฟังได้ โดยที่ผู้ฟังมีความรู้สึกว่า เพลงลูกทุ่งที่ข้าพเจ้าร้องนั้นมีความไพเราะ และมีสำเนียงของความเป็นลูกทุ่งที่แท้จริง ไม่ใช่รู้สึกเพียงว่าเป็นเพลงลูกกรุง หรือเพลงสตริงที่มีลูกคอเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งการพัฒนาทักษะของข้าพเจ้าทำได้โดย ข้าพเจ้าจะต้องฟังเพลงลูกทุ่งให้บ่อยขึ้น การฟังเพลงเพลงหนึ่งบ่อยๆ จะทำให้เราสามารถเก็บรายละเอียดในเพลงได้ดี ทั้งเนื้อเพลง ทำนอง จังหวะ และลูกเอื้อนลูกคอต่างๆ เมื่อฟังได้หลายรอบพอสมควรแล้ว ก็ฝึกร้องคลอไปตามเพลง จากนั้น ก็ปิดเพลงและฝึกร้องสด พยายามปรับปรุงในจุดที่คิดว่าตนเองยังทำได้ไม่ดีพอ หลังจากนั้น ก็ลองร้องประกอบดนตรี ร้องคาราโอเกะ ว่าที่เราร้องนั้น เข้ากับจังหวะและทำนองหรือไม่ ไม่ใช่ลูกคอดี แต่ร้องคร่อมจังหวะ เช่นนั้นก็จะทำให้เพลงที่ร้องขาดความไพเราะได้เช่นกัน

                การประเมินผลนั้น ใช้ความรู้สึกตนเองประเมินเพียงคนเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะบางครั้ง เราคิดว่าเราทำดีแล้ว แต่เมื่อคนอื่นฟังอาจไม่รู้สึกเช่นเราก็ได้ ฉะนั้นถ้าจะให้การประเมินผลเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ก็ต้องให้คนรอบข้างเป็นผู้ประเมิน เริ่มจากเพื่อน ครอบครัว อาจรวมถึงรุ่นพี่ หรือคนอื่นๆด้วย แต่ผู้ประเมินหลักคือเพื่อนและครอบครัว โดยก่อนข้าพเจ้าจะเริ่มพัฒนาทักษะการร้องเพลงลูกทุ่ง ข้าพเจ้าจะร้องเพลงให้เพื่อนและครอบครัวฟังก่อน 1 ครั้ง แล้วให้คณะกรรมการทั้งหมดให้คำแนะนำ ติชม จากนั้นข้าพเจ้าก็กลับไปฝึกร้องเพลงนี้มาเป็นอย่างดี จนข้าพเจ้ารู้สึกพอใจ หรือครบกำหนดเวลา แล้วข้าพเจ้าจึงกลับมาร้องเพลงที่ข้าพเจ้าได้ฝึกมาอย่างดีแล้วนั้น ให้คณะกรรมการทั้งหมดฟังอีกครั้งหนึ่ง หากยังไม่เป็นที่พอใจของคณะกรรมการ ข้าพเจ้าก็ฝึกฝนเพิ่มเติมอีก แต่หากเป็นที่พอใจของคณะกรรมการแล้ว ข้าพเจ้าก็จะฝึกหัดในเพลงอื่นๆต่อไป รวมทั้งหมั่นทบทวนเพลงเดิมนี้ ไม่ให้คุณภาพลดลงด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มเติมความสามารถพิเศษให้กับตนเอง ซึ่งอาจมีโอกาสได้ใช้ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมในอนาคต

คำสำคัญ (Tags): #learning process
หมายเลขบันทึก: 287359เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

อืมม ก็ดีนะ เพลงลูกทุ่งอ่ะร้องยาก

แต่ถ้าร้องได้แล้วเราจะมีทักษะ แล้วก็มีความสามารถในการร้องเพลงเพิ่มขึ้นเยอะเลย

สู้ ๆ นะคร้าบ เป็นกำลังใจให้ ^^''

ได้พัฒนาตัวเอง แล้วก็อนุรักษ์เพลงไทยไปด้วยในตัว

ต่อไปอาจจะมีหมอที่ร้องเพลงลูกทุ่งเพราะที่สุดก็ได้

ฝึกแล้ว มาร้องให้ฟังด้วยนะ

อยากฟังๆ

ดีๆเนย ร้องเพลงลูกทุ่ง

อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

ดีกว่าไปเห่อตามกระแสต่างชาติ

นางสาว วริษา ตยางคนนท์

เหอๆๆ เนยชอบร้องเพลงเนาะ

อย่างนี้ต้องโชว์~

ก็ดี

ตอนนี้กำลัง

จะไปแข่งร้องเพลง

แต่ว่าผมไม่พอใจ

กับการร้องของผมเท่าไร

แต่ทำให้ดีจนถึงที่สุด

ตอนนี้เพลงกามลัง

จาปายประกวดร้องเพล เเต่เพลงม่ายพอใจในการร้องเพลง

เพลงรักการร้องเพลงลูกทุ่ง เเต่เพลงลูกทุ่งมานม่ายรักเพลง

เเต่เพลงก้อจาทามห้ายดีที่สุด

เป็นคนที่ชอบเพลงลูกทุ่ง ทั้งไทยลูกทุ่ง และลูกทุ่งหมอลำ .ชอบฟังและร้องเพลงเก่าๆ ฝึกฝนตนเองตั้งแต่เด็กๆเพราะมีพรสวรรค์มาในทางนี้ เคยแต่งเพลงแต่กลอนลำไว้ในวงดนตรีวงโปงลางหลายเพลงเหมือนกัน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท