๒.scoring rubric : รูบริคที่ดี ???


รูบริคที่ดีนักเรียนต้องมีส่วนร่วมในการสร้าง

        การใช้รูบริคเพื่อเป็นแนวทางในการให้คะแนนจะช่วยให้ผลการประเมินนักเรียนมีความชัดเจนขึ้น กว่าการอธิบายความสามารถของนักเรียนด้วยตัวเลขเพียงอย่างเดียว  (Simon,  2001)  สิ่งที่คุณครูต้องตระหนักถึงคือประสิทธิภาพของรูบริค 

       Herman, Aschbacher, and  Winter  (1992)  Luft  (1998)  และ State  of  Colorado (2001)  กล่าวถึงลักษณะของรูบริคที่ดีไว้ว่า  (1)  นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างรูบริค  (2)  เรียงลำดับตามขั้นตอนหรือกิจกรรมการปฏิบัติงาน (3) ใช้เป็นเครื่องมือการเรียนการสอนและการประเมิน (4) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  (5) มีความยุติธรรมต่อนักเรียน  (6) ชี้ให้เห็นทั้งสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และวิธีที่นักเรียนเรียนรู้  (7)  ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการประเมินงานของตนเอง  และ (8) มีลักษณะเฉพาะตามแต่ละงานที่จะประเมิน 

      ผลผลิตสุดท้ายของการประเมินตามสภาพจริงคือ การสอนให้นักเรียนสามารถประเมินตนเองได้ ดังนั้นการทำหน้าที่ของรูบริคทั้งเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน และการประเมินไปพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างรูบริค คงมิใช่เป้าหมายเพื่อสร้างรูบริคให้สมบูรณ์ เพราะมุมมองของคุณครูย่อมครอบคลุม ลุ่มลึกกว่านักเรียน หากแต่การทำหน้าที่อีกประการหนึ่งของรูบริค คือ การสอนให้นักเรียนรู้จักการตั้งเป้าหมาย และพยายามปฏิบัติตนให้ไปถึงเป้าหมายนั่นต่างหาก

หมายเลขบันทึก: 287315เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท