หญิงไทยที่อยากให้ทุกท่านรู้จัก


ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรไทย ผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์

ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์  เภสัชกรยิปซีไทย ผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ที่เร่ร่อนไปทั่วเเอฟริกาจนเป็นที่รู้จักจนอเมริกานำชีวิตเธอสร้างเป็นละครบรอดเวย์ แต่คนไทยไม่รู้จักเธอ ชื่อ - ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นคน       อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีพี่น้อง 2 คน พ่อเป็นหมอ คุณแม่ เป็นพยาบาล 
การเรียน - นักเรียนประจำที่ รร.ราชินี ปริญญา คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ ม.Strahclyde ปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี ม.Bath ที่อังกฤษ (ฐานะทางบ้าน ก็สบายๆ ญาติพี่น้อง ทำธุรกิจโรงแรมที่เกาะสมุย)
ชอบเล่นดนตรี เคยฝันอยากเป็น Conductor เคยอยากเปลี่ยนสายเรียน ไปเป็น ไบโอเคมี (ชีวเคมี )แต่เห็นว่า คณะที่เรียนอยู่ ในเมืองไทย มีคนเรียน แค่ 5 คน จึงก้มหน้าก้มตาเรียนต่อไป
ปี 2535 เริ่มมีผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจาก พบในเอดส์ในไทยครั้งแรก ปี 2526 ทำไห้ตัดสินใจศึกษาวิจัยยาต้านไวรัสเอดส์ คิดค้นอยู่ 3 ปี แรกๆทำงานคนเดียวหมด
ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกของโลก ที่ผลิตยาชื่อสามัญว่า ยาเอดส์ ในปี 2538 ได้ โดนคดีขึ้นศาลกับบริษัทยา(ชื่อของอจ. ถูกบรรจุอยู่ในแบล็กลิสต์ของบริษัทยาเกือบทุกบริษัท) จากเรื่องของผลประโยชน์ เพราะถ้า ผลิตยาได้สำเร็จ ยอดขายของผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ต้องตกแน่นอน เพราะว่า ราคาต่างกันค่อนข้างมาก ถือว่าตัวเองได้ทำหน้าที่ที่ได้ร่ำเรียนมาอย่างดีที่สุดแล้ว ไม่ได้คิดว่าจะตบหน้าใคร หรือมาทำให้ยอดขายของบริษัทไหนลดลง (ก็คนกำลังจะตายอยู่แล้ว ไม่มีเงินซื้อยาแพงๆกิน ก็ต้องช่วยกันไป)
คือ ยา ZIDOVUDINE (AZT)- ยาที่ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก จาก แคปซูลละ 40 บาท เหลือ 7-8 บาท อีกตัวคือ จากเดิม ขาย แคปซูลละ 284 บาท เหลือ 8 บาท ยาที่มีชื่อเสียงมาก คือ GPO-VIR สามารถทำให้ยา 3 เม็ดรวมอยู่ในเม็ดเดียว จากต้องทาน วันละ 6 เม็ด เหลือเพียง 2 เม็ดเท่านั้น
รัฐบาลไทย สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ จาก 1,000คน เพิ่มเป็น 10,000 คนค่ายา จาก คนละ 20,000 เหลือ 1,200 บาท
ปี 2545 ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อจะไปช่วยเหลือทางแอฟริกาใต้อย่างเต็มตัว (เห็นว่า เมืองไทย เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ) ไม่มีใคร(รวมทั้งรัฐมนตรี)ยอมเซ็นใบอนุมัติการลาออกให้ มีการยื่นข้อเสนอ ให้เปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้น และการเอายาของเราไปขายที่แอฟริกาแทน แต่ไม่เอาด้วยเหตุผล ต้องการให้พวกเขาทำเองให้พึ่งตนเอง เชื่อว่า ถ้าเขาอยากกินปลา เราก็ควรสอนเขาตกปลาเอง ไมใช่ว่าเอาปลาไปให้เขากิน เพราะไม่อย่างนั้น เขาจะไม่มีวันพึ่งตัวเองได้ เมืองไทยไปจำหน่ายได้ มันจะมีประโยชน์อะไร เพราะมันไม่มีความยั่งยืน(ไม่สนเงินเข้ากระเป๋า ว่างั้น)
เดินทางไปคองโก ไปบุกเบิกใหม่หมด วาดแปลนโรงงาน ที่จะผลิตยา ใช้เวลา 3 ปี โรงงานดังกล่าว ผลิต ยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR เหมือนเมืองไทยทุกอย่าง ได้สำเร็จ ปี 2546 ผลิตยาที่ทวีปแอฟริกา ที่ดังมาก และขายดีที่สุดในประเทศแทนซาเนีย คือ ยามาลาเรีย (THAI-TANZUNATE) ยาราคาถูก จาก 360 บาท ผลิตได้ ในราคา 36 บาทเท่านั้น
ประเทศด้อยพัฒนาในแอฟริกายากจนมาก สมมติว่าโรงพยาบาลหนึ่งมีเตียง 150 เตียงแต่มีคนไข้ที่มาแอดมิด 450 คน นั่นหมายถึง ใน 1 เตียง มีคนไข้ 3 คน นอนบนเตียงเดียวกัน 2 คน นอนกลับหัวกลับหางกัน และนอนใต้เตียงอีก 1 คนเวลาอยู่ที่แอฟริกา ก็ร่อนเร่ไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีหลักแหล่ง บางทีก็มีคนช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายการเดินทาง บางทีออกเอง เพราะประเทศเขายากจน ไม่มีตังค์ให้หรอก
อุปสรรคชีวิตโลดโผน 
เจอเครื่องบินดีเลย์ ไป 24 ชม.บางที เครื่องบินก็พาไปลงผิดประเทศ เสื้อผ้า ต้องมีติดกระเป๋าสะพายตลอดอย่างน้อย 3 ชุด เพราะชุดในกระเป๋าเดินทางที่โหลดไว้ใต้ท้องเครื่องอาจมาช้า ไม่ก็หายไปเลย คองโก นอนอยู่ดีๆ ก็มีแสงสว่างวาบๆขึ้นมา ก็คิดในใจว่า ทำไมถึงสว่างเร็วจัง ปรากฏว่าไม่ใช่แต่เป็น ระเบิดที่เขายิงมา โดยมีเป้าหมายที่บ้านพักของดิฉัน แต่เขากะพลาดไปหน่อย เลยไปตกข้างๆบ้านแทน คิดว่า คงเป็นฝีมือของพวกที่เขาคิดว่าดิฉันเป็นศัตรูนั่นแหล่ะค่ะ
ตอนไปช่วยเหลือที่ ไนจีเรีย ต้องเดินทางตอนตี 1 จากสนามบิน เข้าสู่ที่พัก คนเดียว ไม่มีคนมารับ นั่งแท๊กซี่ไป ถูกคนเอาปืนมาจี้ 5 ครั้ง ในคืนเดียว รอดมาได้หมดทุกครั้ง และไม่มีใครเอาทรัพย์สินไปเลยสักคนเดียว ด้วยเหตุผล " ฉันมาช่วยคนในประเทศเธอน่ะ อยากได้อะไรก็เอาไปเลย" เลยไม่มีคนจี้ต่อ แต่เสียเวลาไป 4 ชั่วโมง กับการเดินทาง 20 กม. เพราะมัวแต่โดนจี้ ไป 5 ครั้ง สื่อของฝรั่งเศสและเยอรมนี ชื่นชมการทำงานมาก นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ จนได้รับรางวัลจาก เทศกาลหนังเมืองคานส์ 3 รางวัล

 

 

เรื่องหนังสารคดี
A Right to Live – Aidsmedication for Millions
A film by ARTE / WDR, 2006 
45 min. documentary 
Directed by: Birgit Schulz 
http://www.imdb.com/name/nm1663523/

 

ลิงค์รายละเอียดละคร Cocktail http://www.swinepalace.org/explore.cfm/20062007season/cocktail/ 

 

บื้องหลังการซ้อมละครและบทสัมภาษณ์ผู้กำกับและผู้เขียนบท http://www.lpb.org/programs/swi/streaming.cfm 
click ที่ SWI 3032 - Swine Palace 's Cocktail 13-Apr-07

ย่อบทความส่วนหนึ่งจาก OKเนชั่น

หมายเลขบันทึก: 287092เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท