รำวงมาตรฐาน


การรำที่มีท่ารำเป็นแบบแผนแน่นอน

เรื่อง รำวงมาตรฐาน

 

วิวัฒนาการมาจาก  "รำโทน" 

รำโทน  เป็นศิลปะการละเล่นพื้นเมือง  โดยผู้เล่นเดินเป็นวง  อาจยืนอยู่กับที่ หรือเดินตามกันเป็นวง  เป็นการรำคู่  ระหว่างชายกับหญิง  มีดนตรีหรือร้องเพลงประกอบการรำ  ดนตรีที่ใช้ประกอบการร้อง คือ

ฉิ่ง  กรับ  โทน  เสียงโทนจะดังเร้าใจ  สนุกสนาน  จึงเรียกการรำตามเสียงดนตรีที่ใช้ประกอบการรำว่า

"รำโทน"

"รำโทน" นิยมเล่นในฤดูเทศกาลต่างๆ เฉพาะท้องถิ่นในบางจังหวัด ต่อมาได้มีผู้นำไปเล่นในท้องถิ่นอื่นอย่างกว้างขวาง  เล่นทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริง  บทร้องส่วนใหญ่มีความหมายเชิงหยอกเย้า ชมโฉม  รำพันรัก ระหว่างหนุ่มสาว และบทลาจากกัน บทร้องไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสนัก ในช่วงระยะเวลาที่รำโทนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย  ก็มีบทเพลงใหม่ๆ และทำนองแปลกๆ  เกิดขึ้นเรื่อยๆ 

บทเพลงเหล่านี้ขาดการบันทึกเป็นหลักฐาน  จึงไม่ทราบว่าผู้ใดแต่งบทเพลงและประดิษฐ์ท่ารำขึ้น  บทเพลงเก่าบางบทเพลงเสื่อมความนิยมลง  บทเพลงใดที่มีความไพเราะกินใจ  ก็ยังจดจำกันต่อมา และยังนิยมร้องกันอยู่ เช่น  เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด  ยวนยาเหล  ช่อมาลี  ตามองตา  หล่อจริงนะดารา  เป็นต้น

                รูปแบบของท่ารำโทนหรือรำวงนี้  ไม่มีท่ารำที่มีแบบแผนแน่นอน  ลักษณะท่าทางการรำขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้รำและอารมณ์ที่สนุกสนานในขณะนั้น (พ.ศ. 2484 - 2488 )  ประชาชนในกรุงเทพมหานคร (พระนคร และธนบุรี) พากันนิยมเล่นรำโทนกันอยู่ทั่วไป

                ต่อมา กรมศิลปากรได้รับมอบหมายจากรัฐบาล (สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ให้ปรับปรุงการเล่นรำโทนเสียใหม่  ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามแบบนาฏศิลป์ไทย

                ปีพุทธศักราช 2487 กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ จหมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม  เศวตนันท์) เป็นผู้ประพันธ์คำร้องขึ้นใหม่ 4 เพลง  คือ งามแสงเดือน  ชาวไทย  รำซิมารำ  คืนเดือนหงาย  พร้อมทั้งประดิษฐ์ท่ารำตามแบบนาฏศิลป์ขึ้นใช้เฉพาะเพลง

            ต่อมา  ท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องขึ้นมาอีก  6  เพลง  คือ  เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ  ดอกไม้ของชาติ  หญิงไทยใจงาม  ดวงจันทร์ขวัญฟ้า  ยอดชายใจหาญ  บูชานักรบ   เพลงต่างๆดังกล่าวนี้ กรมศิลปากร และกรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมกันปรับปรุงทำนอง โดยมีนางศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก (หม่อมต่วน)  นางมัลลี  คงประภัศร์  และนางละมุน  ยมะคุปต์  ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำตามแนวทางแบบนาฏศิลป์ไทยขึ้น  ซึ่งเราเรียกรำวงที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ว่า "รำวงมาตรฐาน"

รำวงมาตรฐาน ในปัจจุบันนี้เป็นศิลปะแห่งการรำวงที่งดงาม ซึ่งในสมัยก่อนยังมิได้มีคำว่า "มาตรฐาน" จะเรียกกันเพียงว่า "รำวง" เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่บ่อบอกถึงความสนุกสนาน การเล่นรำวงนั้นสืบเนื่องมาจากการเล่นรำโทน นั้นเพราะในสมัยก่อนเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ประกอบจังหวะก็คือ โทน ฉิ่ง และกรับ โดยจังหวะการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกกันว่า "รำโทน" ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด ตามลักษณะของเพลงพื้นบ้าน เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่ การเกี้ยวพาราสีหยอกล้อของหนุ่มสาว การเชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาว เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของเครื่องแต่งกายในสมัยก่อนก็ไม่เน้นถึงความพิถีพิถันมากนัก เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2488 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุความนิยม เป็นอย่างมากนี้เองจึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้อง และทำนองขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม ส่วนเนื้อร้องใดที่นิยมก็จะร้องกันอยู่ได้นาน เพลงใดเนื้อร้องไม่เป็นที่นิยมก็จะไม่นำมาร้องเท่าใดนักและก็จะเป็นที่ลืมเลือนไปในที่สุด จากนั้นก็จะมีเนื้อเพลงใหม่ ๆ ขึ้นมาแทนที่

ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่

ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่างๆ ในแผ่นดินไทยลำเรียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่

ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศโดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิต และทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น

เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไป คืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทย ได้รับความเดือนร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียด ความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั้นก็คือ "การเล่นรำโทน" คำร้อง ทำนอง และการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่ายเน้นความสะดวกสบาย สนุกสนาน เช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่ เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล เป็นต้น

ต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นศิลปะพื้นบ้านอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลายควรที่จะเชิดชูให้มีระเบียบแบบแผนตามแบบนาฏศิลป์ไทย เพราะหากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่าศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงาม ประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม จึงได้มอบให้ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ (รำโทน) ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบ แบบแผน มีความงดงามมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเครื่องแต่งกาย

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่ 4 บทคือ " เพลงงามแสงเดือน" "เพลงชาวไทย" "เพลงรำซิมารำ" "เพลงคืนเดือนหงาย" ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 บท คือ " เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ" "เพลงดอกไม้ของชาติ" "เพลงหญิงไทยใจงาม" "เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า" "เพลงยอดชายในหาญ" "เพลงบูชานักรบ" ในด้านทำนองนั้นรับผิดชอบโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนท่ารำนั้นนาฏศิลปินอาวุโสของกรมศิลปากร คือ จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) และนางลมุล ยมะคุปต์ ร่วมกันคิดท่ารำขึ้นประกอบการรำโดยนำท่ารำมาจากการรำ "แม่บท" และต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกการ "รำโทน" เป็น "รำวง" ตามลักษณะของการเล่น ซึ่งวิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวไทยก็ยังคงให้ความนิยมการเล่นรำวง สืบมาจนถึงปัจจุบัน และชาวต่างชาติก็นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานเต้นรำต่าง ๆ จนกระทั้งมีนักประพันธ์ผู้หนึ่งเป็นชาวอเมริกัน ที่ชื่อว่า Foubion Bowers ที่ได้มาพบเห็นศิลปะการรำวงของไทย และนำไปกล่าวไว้ในหนังสือ Theatre in the East ซึ่งมีสำเนียงการเรียก "รำวง" เพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเป็น "รำบอง" (Rombong)

( อมรา กล่ำเจริญ , 2531 : 111) แต่อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของกรมศิลปากร ในการปรับปรุงศิลปะการรำวงทั้งหมด 10 เพลง ก็เพื่อเป็นศิลปะการรำวงที่มีระเรียบแบบแผน ทั้งคำร้อง ทำนอง ท่ารำ ตลอดจนการแต่งกายให้เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สะดวกในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทย และสืบสานต่อไป ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงเรียก "รำวง" ที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับมาตรฐาน ว่า "รำวงมาตรฐาน" สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

              รำวงมาตรฐาน  เป็นศิลปะเนื่องมาจากการรำโทน  ซึ่งเป็นการเล่น พื้นเมืองของชาวไทยที่นิยมเล่นกันเฉพาะท้องถิ่นของบางจังหวัดเท่านั้น  สำหรับเครื่องดนตรี ที่เป็นจังหวะประกอบการรำนั้นก็มี ฉิ่ง  กรับ  โทน  โดยที่การรำใช้จังหวะโทนเป็นหลักสำคัญ จึงนิยมเรียกการรำวงแบบนี้ว่า  "รำโทน"

                ต่อมาราว พ.ศ.2483 มีผู้นำรำโทนนี้ไปเล่นในที่ต่าง ๆ ทำให้มี ผู้นิยมอย่างแพร่หลายในระหว่างที่การรำโทนเป็นที่นิยมอยู่นี้  ก็มีผู้คิดแต่งบทร้อง และ ทำนองขึ้นใหม่หลายบท เช่น  หล่อจริงนะดารา   ตามองตา  ใกล้เข้าไปอีกนิด  เป็นต้น

        ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2484 - 2488) ประชาชนในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี  พากันนิยมเล่นรำโทนเพื่อช่วยกันเชิดชูศิลปะการ เล่นพื้นเมืองให้เป็นแบบนาฏศิลป์ไทย  กรมศิลปากรได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้พิจารณาปรับปรุงการเล่นรำโทนเสียใหม่ ดังนั้นใน พ.ศ.2487  กรมศิลปากรจึงสร้างบทร้องขึ้นใหม่ 4 บท คือ  งามแสงเดือน  ชาวไทย  รำมาซิมารำ

คืนเดือนหงาย  โดยปรับปรุงใหม่ทั้งทำนองเพลง และเครื่องดนตรี พร้อมทั้งแต่งท่ารำ ให้ถูกต้องงดงามตามแบบฉบับนาฏศิลป์ไทยอีกด้วย โดยนำท่าสอดสร้อยมาลา มาใช้กับเพลงงามแสงเดือน  ท่าชักแป้งผัดหน้า

มาใช้กับเพลงคืนเดือนหงาย  และในการปรับปรุงครั้งนี้ได้เปลี่ยนชื่อจากการรำโทนมาเป็น  รำวง   เพราะ

ผู้เล่นจะรำเคลื่อนที่เวียนไปเป็นวง

                ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลสงคราม ได้แต่งบทร้องใหม่เพิ่มขึ้นอีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ  หญิงไทยใจงาม  ดวงจันทร์ขวัญฟ้า  บูชานักรบ  ดอกไม้ของชาติ  ยอดชายใจหาญ  กรมศิลปากรประสงค์จะรักษาศิลปะการรำวงตาม แบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ให้เป็นแบบฉบับที่มีมาตรฐาน  จึงกำหนดท่ารำของเพลงต่าง ๆ  ในชุดรำวงมาตรฐานนี้  ซึ่งมีอยู่ 10 เพลง รวม 14 ท่ารำ  ใช้เป็นท่าประจำอยู่แล้ว

 

ความหมายของรำวงมาตรฐาน

รำวง (น.) หมายถึง การรำโดยมีผู้เล่นจับคู่รำตามกันเป็นวง แต่เดิมใช้โทนและร้องเพลงปรบมือให้จังหวะเรียกว่ารำโทนต่อมาภายหลังเพิ่มดนตรีประกอบด้วย

มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไปสิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

ที่มา : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 กรุงเทพฯ นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น,2546 ครั้งที่ 1

รำวง (ก) หมายถึง รำโดยมีผู้เล่นเป็นวง มีดนตรีหรือร้องเพลงประอบ จะรำเรียงตามกันไปเป็นวงหรือรำเป็นคู่ ๆ ระหว่างชายหรือหญิงก็ได้

มาตรฐาน ( น) สิ่งที่ถือเอาเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนด

ที่มา : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 สำนักพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์ กรุงเทพฯ 2531

สรุป รำวงมาตรฐาน  คือ  การรำที่มีท่ารำเป็นแบบแผนแน่นอน

 

 

เรื่อง องค์ประกอบในการแสดงรำวงมาตรฐาน

 

ท่ารำ

คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก คุณครูมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ทั้งหมด 14 แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด 10 เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม

เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

คำร้อง
        จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น 4 เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย

คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ 6 เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ

เพลงดอกไม้ของชาติ   เพลงหญิงไทยใจงาม   เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า    เพลงยอดชายใจหาญ

และเพลงบูชานักรบ

ทำนอง
        อาจารย์มนตรี   ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ 6 เพลง คือ

เพลงงามแสงเดือน  เพลงชาวไทย   เพลงรำซิมารำ    เพลงคืนเดือนหงาย   เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ

เพลงดอกไม้ของชาติ
        ครูเอื้อ   สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ 4 เพลง คือ

เพลงหญิงไทยใจงาม    เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า     เพลงยอดชายใจหาญ    และเพลงบูชานักรบ

การแต่งกาย

การแต่งกายรำวงมาตรฐานแต่งได้ 3 แบบ คือ

  • 1. แบบพื้นเมือง

ชาย         นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว

หญิง       นุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบอัดจีบ คาดเข็มขัด

  • 2. แบบไทยพระราชนิยม

ชาย         (แบบที่ 1) สวมกางเกงขายาว ใส่เสื้อพระราชทาน (แขนยาวหรือสั้นก็ได้) สวมรองเท้า

ชาย         (แบบที่ 2) นุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อราชประแตน สวมรองเท้า ถุงเท้ายาว

หญิง       แต่งชุดไทยเรือนต้น และชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 5 สวมรองเท้า

  • 3. แบบสากลนิยม

ชาย         แต่งชุดสูทสากล สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกเนคไท สวมรองเท้า

หญิง       ชุดไทย สวมรองเท้า

เครื่องดนตรี
        เดิมนั้น รำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้ด้วย โดยมีวงปี่พาทย์เครื่องห้าในการบรรเลง และมีวงดนตรีสากลในการบรรเลง

เพลงรำวงขั้นพื้นฐาน

หมายเลขบันทึก: 286910เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกคะ

อนุลักษณ์วัฒนธรรมไทย

อนุรักษ์ ครับไม่ใช่ อนุลักษณ์

ถ้าจะอนุรักษ์วัฒนธรรมก็ต้องอนุรักษ์ภาษาด้วยครับ

สุดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ยอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ไปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปป

เลยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

โนะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะ

ขอขอบคุณทุกๆ คำชม นะค่ะ

ถ้าต้องการข้อมูลในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์ บอกมาได้นะค่ะ จะหามาให้ค่ะ

ขออนุญาตบอกต่อเป็นประโยชน์สำหรับเด็ก ๆ ครับ

เคยเป็นตัวแทนโรงเรียน แสดงรำวงมาตรฐาน เมื่อ20กว่าปีก่อน นึกถึงครั้งใด อยาก"รำมาซิมารำ "เลยเกิน อิอิ

น่ารักกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก5555555555555555

ทิทททททททททททททำระรภ้ะย3ต032เค65ตั้เถต-3ย2ด้ค2ย-3ดย้2จ-ท52325323222

เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ...........

ขอขอบคุณมาก นะค่ะ!

ที่ทำให้การบ้านเสร็จซักที

:)

รำโทนในจังหวัดระยอง พอหาที่มาได้ไหมครับ

ผมอยากรู้เรื่องลักษณรำวงมาตรฐานหน่อยอะคับ

้่ าย่ืะฟวนา ทืเาสวะผฝ 

ขอบคุณคะมีงานส่งครูแล้ว

ขอภาพด้วยได้ไหมคะ เช่น ภาพการแต่งกาย ภาพท่ารำ นะคะ

เจริญรัตน์ เวียงย่างกุ้ง

รัก

สวด..........................

ยอด...เลย...คร๊...

และ

ขอบคุนมากนะคร๊

ขอประโยชน์เกี่ยวกับรำวงมาตราฐานได้ป่ะ

จัดให้ได้ป่ะล่ะ

เย้มีงานส่งครูแล้ว

อรจิรา วงพัวพันธ์

เออ___ดีเลยกามรังจะรำาวงมาตรฐานจเท่เชียงรายเลยเว้ย

และเมงานส่งครูด้วยเย็ยู้ฮู้ ม่ายเครีด

จะมีท่ารำ17ท่าไหมคะจะทำรายงายส่งวันที่12กันยายน2554นี้น่ะค่ะ ยังหาไม่ได้เลย ช่วยหน่อยนะค่ะ

แว่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ดีมากค่ะ กำลังเริ่มงานมหกรรมการแข่งขันศิลปหัตกรรมนักเรียนระดับ จว. ภาค และประเทศ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท