นวัตกรรมการอ่านออกเสียงโดยใช้แบบฝึก ป.2


นวัตกรรมการอ่านออกเสียง

ชื่อนวัตกรรมพัฒนาส่งเสริมการอ่านออกเสียงโดยใช้แบบฝึก

 ของนายพุฒิพงษ์  ปะสังติโย  โรงเรียนบ้านหนองแกวิทยา    อำเภอวาปีปทุม   จังหวัดมหาสารคาม
                การอ่านเป็นทักษะทางภาษาด้านการรับรู้ที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ด้านการแสวงหาความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ การติดตามข้อมูลข่าวสารทางสังคม  ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความบันเทิงใจได้อีกทางหนึ่ง  สำหรับในด้านการศึกษาในทุกระดับต้องอาศัยทักษะการอ่าน ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของวิชาการต่างๆเพื่อให้ได้ความรู้และประสบการณ์ เพื่อที่จะสามารถนำๆไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  แม้ว่าเราจะแสวงหาความรู้ภายในห้องเรียนได้จากครูผู้สอนโดยตรง  แต่ผู้เรียนก็จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากการอ่านด้วยตนเองเพิ่มเติมจากสิ่งพิมพ์ ต่างๆ ซึ่งการอ่านในลักษณะนี้สามารถทำได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่อันจะก่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  และมีทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ อย่างขวางขวางยิ่งขึ้น      ผู้สร้างนวัตกรรมจึงได้คิดนวัตกรรมส่งเสริมการอ่านออกเสียงโดยใช้แบบฝึกขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

                 1. เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะการอ่านคำบทความได้ถูกต้อง
                 2.  เพื่อปลูกฝังนักเรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน

 วิธีดำเนินการ / ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
 1.ครูในแต่ละชั้นจัดทำสื่อการอ่านโดยใช้แบบฝึกการอ่านออกเสียงและสร้างแบบประเมินการอ่าน

 2.  เริ่มดำเนินการอ่านในช่วงเช้าหลังทำกิจกรรมหน้าเสาธง ใช้เวลา 10 นาที  ก่อนเข้าเรียน

3.  ประเมินการอ่าน  โดยใช้แบบประเมินการอ่านออกเสียง  จะประเมิน  เดือนละ 1 ครั้ง

ประโยชน์/คุณค่าของนวัตกรรม และการพัฒนาต่อยอด
                         นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงได้ถูกต้องคล่องแคล่ว ดีขึ้น เป็นที่น่าพอใจ นักเรียนตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องของการอ่านและมีความภูมิใจในการอ่าน ส่งผลให้ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน  สามารถอ่านหนังสือได้หลายประเภท และอ่านได้จำนวนมาก    
                          การอ่านออกเสียงถูกต้องคล่องแคล่ว ฝึกให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและนำไปบุรณาการการอ่านได้ทุกกลุ่มสาระ
                          จากการใช้แบบฝึกอ่านออกเสียงได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่าน ทางโรงเรียนได้ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านหนังสือ บทความ สารคดี นิทาน และอื่นๆ   ตามระดับ  ความสามารถของเด็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานประสบการณ์ ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตนเอง สามารถใช้ภาษาสื่อความหมายตามบริบทของสังคมต่างๆได้

                                                               ขอขอบคุณ

หมายเลขบันทึก: 286434เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมากค่ะ สู้ ๆ

จะขอนำมาใช้บ้าง คงไม่ว่านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท