เปิดกลุ่มใหม่


คุณธรรม 5 ประการที่สมาชิกรวมทั้งคณะกรรมการพึงยึดถือ ปฏิบัติ

                   ขณะนี้ผู้วิจัยอยู่ที่ที่ทำการองค์กรออมทรัพย์ชุมชนบ้านดอนไชย อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง การเดินทางมาที่เถินในวันนี้ก็เพื่อมาร่วมสังเกตการณ์การเปิดกลุ่มใหม่ที่ตำบลแม่วะ โดยมีน้องเอ ซึ่งทำงานที่ กศน. อำเภอเถิน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ผู้วิจัยกับอาจารย์พิมพ์เดินทางมาถึงประมาณ 10.30 น. พอมาถึงก็เห็นคุณกู้กิจ ซึ่งเป็นประธานองค์กรออมทรัพย์ชุมชนบ้านดอนไชยกำลังอธิบายรายละเอียดต่างๆให้ชาวบ้านที่สนใจฟังอยู่ มีผู้สนใจมานั่งฟังบริเวณศาลาประชาคมของหมู่บ้านประมาณ 20 คน สาเหตุที่มีคนมาฟังน้อย ผู้วิจัยได้รับทราบว่าเป็นเพราะกำนันไม่ยอมประกาศเสียงตามสายให้ เพิ่งมาประกาศตอนเช้า ทำให้ชาวบ้านไม่ได้เตรียมตัวที่จะมาฟัง เนื่องจาก เป็นวันหยุด หลายครอบครัวไม่อยู่บ้าน ในขณะที่อีกหลายครอบครัว (จำนวนมาก) ออกไปทำไร่ทำนากันหมด สำหรับสาเหตุที่ทำให้กำนันไม่ยอมประกาศเสียงตามสายแจ้งให้ชาวบ้านทราบนั้น ผู้วิจัยได้รับการบอกเล่าว่าเป็นเพราะกำนันไม่ค่อยเห็นด้วย ถึงกับบอกว่าเป็นกลุ่มเถื่อน ตรงนี้เป็นอะไรที่น่าเห็นใจชาวบ้านและคณะกรรมการมากค่ะ หลายกลุ่มก็ประสบปัญหาอย่างนี้ทำให้ไม่สามารถขยายสมาชิกได้เต็มที่

                    วันนี้มีคณะกรรมการจากกลุ่มบ้านดอนไชยมาช่วยเปิดกลุ่มใหม่ 4 คน ประกอบด้วย

                    1.คุณกู้กิจ นันติชัย

                    2.คุณฐิติพร สุภากุล

                    3.คุณสุวิมล ตาแล

                    4.คุณศิริรัตน์ อินว่าน

                   โดยคณะกรรมการบ้านดอนไชยได้เตรียมอุปกรณ์ไปเปิดกลุ่มมากมาย เช่น แผ่นพับประชาสัมพันธ์ ชุดรับสมัคร กระดาษบรู๊ฟสำหรับการเขียนอธิบาย เป็นต้น ในเบื้องต้นที่ได้มีการตกลงกัน ช่วงแรกสมาชิกของตำบลแม่วะ (ขณะนี้ไปเปิดที่บ้านเด่นชัยเป็นแห่งแรก) จะนำไปสมทบกับสมาชิกของบ้านดอนไชยก่อน จนกว่าจะสามารถหาสมาชิกได้เพิ่มมากขึ้น (ประมาณ 100 คนขึ้นไป) ก็จะให้คณะกรรมการตำบลแม่วะไปดูแล ในวันนี้มีผู้มาสมัครเป็นสมาชิกทั้งสิ้น 11 คน แต่คาดว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นแน่นอน เนื่องจาก ก่อนหน้านี้มีผู้สนใจลงชื่อที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกแน่นอนแล้วกว่า 50 คน แต่วันนี้ไม่ได้มาสมัคร ส่วนผู้ที่มาสมัครก็ไม่ได้ลงชื่อเอาไว้ตั้งแต่แรก

                   กลุ่มได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนเป็นวันออม ในช่วง 1-3 เดือนแรก บ้านดอนไชยจะส่งคณะกรรมการมาช่วยในเรื่องการรับสมัครและการเก็บเงินออม ส่วนผู้วิจัยกับอาจารย์พิมพ์จะช่วยในเรื่องการผลิตแผ่นพับประชาสัมพันธ์เพื่อแจกให้กับทุกบ้าน (อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ที่กลุ่ม) นอกจากนี้แล้วคงจะให้กลุ่มบ้านดอนไชยช่วยประสานในเรื่องวิทยุชุมชนเพื่อที่จะได้ประชาสัมพันธ์การเปิดกลุ่มในครั้งนี้ทางวิทยุชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

                    สำหรับข้อมูล ความรู้ต่างๆที่คุณกู้กิจ ได้อธิบายให้กับชาวบ้านฟังนั้น สามารถสรุปออกได้เป็น 4 เรื่องใหญ่ๆ คือ

                  1.ประวัติความเป็นมาของกลุ่ม เพื่อให้ผู้สนใจทราบว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนของจังหวัดลำปางและของอำเภอเถินมีความเป็นมาอย่างไร มีสมาชิกเท่าไหร่ สำหรับในส่วนของโซนอำเภอทางใต้ ซึ่งประกอบด้วย อำเภอแม่พริกและอำเภอเถิน นั้น ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 4,005 คน แบ่งเป็น

                     อำเภอเถิน

                     - องค์กรออมทรัพย์ชุมชนบ้านดอนไชย 2,297 คน

องค์กรออมทรัพย์ชุมชนบ้านดอนไชย 2,297 คน

                            - องค์กรออมทรัพย์ชุมชนบ้านเหล่า 700 คน

                     อำเภอแม่พริก

                     - องค์กรออมทรัพย์ชุมชนตำบลแม่พริก 808 คน

องค์กรออมทรัพย์ชุมชนตำบลแม่พริก 808 คน

                            - องค์กรออมทรัพย์ชุมชนตำบลพระบาทวังตวง 200 คน

                   ผู้วิจัยเห็นว่าการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของกองทุนเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง เพราะ อย่างน้อยก็เป็นการให้ความมั่นใจกับผู้ที่ต้องการที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ว่า พวกเขาไม่ได้เข้ามาเพียงลำพัง แต่ยังคงมีเพื่อร่วมกลุ่มหรือร่วมอุดมการณ์อีกเป็นจำนวนมาก

                    2.คุณธรรม 5 ประการที่สมาชิกรวมทั้งคณะกรรมการพึงยึดถือ ปฏิบัติ ได้แก่

  •  

  • ความซื่อสัตย์
  •  

     

  • ความเสียสละ
  •  

     

  • ความตั้งใจ
  •  

     

  • ความโปร่งใส
  •  

     

  • ความรับผิดชอบ

                     การปลูกฝังเรื่องคุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก  ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกและคณะกรรมการมองกองทุนสวัสดิการชุมชนในฐานะกองทุนของชุมชนที่ทุกฝ่ายจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ  การคิก  การทำ  การปฏิบัติ  โดยวางอยู่บนหลักคุณธรรมที่ยึดถือร่วมกัน  ไม่ได้มองกองทุนสวัสดิการชุมชนว่าเป็นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือมองในมิติด้าการเงินเพียงอย่างเดียว

 

                    3.การออมเงินของสมาชิก เป็นการชี้แจงให้สมาชิกทราบว่าในการที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะได้รับสวัสดิการอะไรบ้าง

                     ค่าใช้จ่าย

                            - ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 50 บาท (จ่ายเพียงครั้งเดียวเมื่อแรกสมัครเป็นสมาชิก)

                            - ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 50 บาท (จ่ายเพียงครั้งเดียวเมื่อแรกสมัครเป็นสมาชิก)

                            - เงินออมสำหรับคนทำงาน (สวัสดิการคนทำงาน) เป็นการออมสมทบรายปีเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับคณะกรรมการและคนทำงานปีละ 50 บาท

                            - เงินออมวันละ 1 บาท จะเก็บเป็นเดือน ตามจำนวนวันในเดือนนั้นๆ (เก็บทุกเสาร์แรกของเดือน)

                     สวัสดิการที่ได้รับ

                            - คลอดบุตร

                            - คลอดบุตร

                            - เบิกค่าเยี่ยมไข้

                            - ผู้สูงอายุ

                            - ตาย

                            - ผู้ติดเชื้อ/ผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส

                            - ทุนการศึกษา

                     4.การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นการอธิบายให้สมาชิก รวมทั้งคณะกรรมการทราบว่าเมื่อเก็บเงินต่างๆจากสมาชิกแล้ว คณะกรรมการจะนำมาบริหารจัดการอย่างไร ในส่วนนี้เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงสูตรในการบริหารจัดการเงินเล็กน้อย กล่าวคือ

                     สูตรเดิม

  เงินออมสวัสดิการ 100% แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

  •  

  • เงินจัดสวัสดิการ 40% (อยู่ที่กลุ่มและเครือข่ายฯ โดยในส่วนของการจ่ายสวัสดิการคลอดบุตร ค่า
  •  

เยี่ยมไข้ ผู้ติดเชื้อ/ผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเป็นผู้จัดการ ส่วนการตาย กลุ่มจะนำเงินส่วนนี้ไปจ่ายเป็นค่าเฉลี่ยศพ ส่งไปที่เครือข่ายฯ)

  •  

  • เงินกองทุนเพื่อการศึกษา 5% (อยู่ที่เครือข่ายฯ)
  •  

     

  • เงินกองทุนเพื่อการชราภาพ 5% (อยู่ที่เครือข่ายฯ)
  •  

     

  • เงินกองทุนกลาง 20% (อยู่ที่เครือข่ายฯ)
  •  

     

  • เงินกองทุนธุรกิจชุมชน 30% (อยู่ที่กลุ่ม)
                            สูตรใหม่

  เงินออมสวัสดิการ 100% แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

  •  

  • เงินจัดสวัสดิการ 50% (อยู่ที่กลุ่ม นำมาจัดสวัสดิการคลอดบุตร ค่าเยี่ยมไข้ ตาย ผู้ติดเชื้อ/ผู้พิการ/ผู้
  •  

ด้อยโอกาส)

  •  

  • เงินกองทุนเพื่อการศึกษา 5% (อยู่ที่กลุ่ม)
  •  

     

  • เงินกองทุนเพื่อการชราภาพ 5% (อยู่ที่กลุ่ม)
  •  

     

  • เงินกองทุนกลาง 10% (อยู่ที่เครือข่ายฯ โดยเครือข่ายฯนี้เป็นเครือข่ายฯใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ตั้งชื่อ
  •  

เรียกกันเล่นๆว่าโซนใต้)

  •  

  • เงินกองทุนธุรกิจชุมชน 30% (อยู่ที่กลุ่ม)
  •  

เป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่น่าศึกษาเป็นอย่างมากว่าผลจะเป็นอย่างไรค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28604เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
น่าสนใจมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท