ตัวถ่วงการศึกษาไทย ผลกระทบจากปัจจัยใด


"เหลือบ"ในแวดวงการศึกษาไทย

     อุปสรรคในการจัดการศึกษาของไทย มาจากหลายๆสาเหตุ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามคือ  การโกงกินหาเศษหาเลย กับงบประมาณในการจัดการศึกษา ที่เป็นตัวถ่วงให้การพัฒนาไปไม่ถึงเป้าหมาย  ซึ่งหลายฝ่ายตั้งฉายาว่า  "เหลือบ" ในแวดวงการศึกษา ดูจะเป็นฉายาที่เหมาะสมที่สุดกับนิยามที่บ่งบอกพฤติกรรมอย่างชัดเจน

     กระทรวงศึกษาธิการถือเป็นกระทรวงทีได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นอันดับต้นๆในทุกปี  ปีงบประมาณนี้ได้รับการจัดสรรเป็นอันดับหนึ่ง  เป็นจำนวน 345665 ล้านบาทคิดเป็น20.3%ของวงเงินงบประมาณ1077 ล้านล้านบาทและในแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็งปี  2553-2555 ยังได้รับการจัดสรรถึง  130579 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 8 แสนล้านบาท  (มติชน 9 สิงหาคม 2552)

    ในวงการศึกษาจะเห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบการนำนโยบายไปใช้  และการจัดสรรงบประมาณลงสู่ผู้รับแนวทางการปฏิบัติเน้นในด้านโครงสร้างและเครื่องไม้เครื่องมือมากกว่าคุณภาพประสิทธิภาพครู นักเรียนเรื่องนี้เป็นปัญหาเรื้อรังยาวนาน

     เมื่อกลับมามองดูการจัดการในเรื่องจัดสรรเพื่อการศึกษานั้นส่วนหนึ่งคือการลงสู่ระบบโครงสร้าง เครื่องไม้เครื่องมือนั้นจึงก่อให้เกิดบรรดาเหลือบในแวดวงทางการศึกษาโดยมีนายหน้ากินค่าหัวคิวหรือโครงการพิเศษของสถาบันต่างๆจนมีคำพูดติดปากว่า "จ่ายครบจบแน่"  การพัฒนาการศึกษาจึงมีผลชะงักงันยกตัวอย่างเช่นนโยบายเรียนฟรี15 ปีของรัฐบาลยังเปิดช่องเรื่องทุจริตการจัดซื้อตำราเรียนหรือชุดนักเรียนให้บริษัทพวกพ้องของตนเองเกือบทุกๆโครงการมักจะมีเหลือบพวกนี้คอยเป็นตัวถ่วงอยู่เสมอ  หรือโครงการนมโรงเรียนบริษัทที่ได้รับการประมูลเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนเชื่อมโยงกับหน่วยงานราชการโดยแอบเข้าหุ้นในบริษัทนมต่างๆที่ประมูลไว้เรียบร้อยแล้วผลที่ได้รับคือความรำรวยของบุคคลในแวดวงการศึกษาและพวกพ้องในทางกลับกันผลที่ได้รับกับนักเรียนคือนมที่ไร้คุณภาพ  ขาดรสชาดของนม รสชาติไม่ต่างจากน้ำ  ถามว่าได้มีการตรวจสอบหรือไม่  แต่ผู้ตรวจสอบก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในแวดวงการศึกษาในระดับ บริหารซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นผู้ควบคุมทุกขั้นตอนกระบวนการพิจารณาจึงไม่สามารถจะทำสิ่งใดให้เป็นรูปธรรมได้เลย  เด็กไทยจึงยังคงขาดสารอาหารต่อไปนโยบายที่มุ่งหวังจะให้เด็กมีร่างกายที่สมบูรณ์ เพื่อสมองที่ฉลาดก็คงเป็นได้แค่ปรัชญาที่ฝันลมๆแล้งๆกันต่อไป

      หรือแม้แต่นโยบายการกระจายอำนาจการศึกษาลงสู่ท้องถิ่นซึ่งดูเหมือนว่าจะดำเนินการไม่ถึงไหนก็คงไม่พ้นรูปแบบเดิมๆคือเผชิญกับเหลือบในแวดวงการศึกษาเช่นกันคือการศึกษาเมื่อลงไปสู่ท้องถิ่นหรือชุมชนให้เป็นผู้ดำเนินการส่วนหนึ่งคืออิทธิพลจากนักการเมืองท้องถิ่นเมื่ออำนาจการจัดการศึกษาอยู่มิอผลประโยชน์มากมายก็ตามมาเนื่องจากไม่ว่าเป็นบริษัทรับเหมาก็เป็นของพวกพ้องตัวเอง  บริษัทจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์  คุรุภัณฑ์ จนกระทั่งถึงการก่อสร้างอาคารต่างๆล้วนแล้วแต่อยู่ในกำมือของบรรดาเหลือบเหล่านี้ทั้งสิ้น  จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมสิ่งของต่างๆของทางราชการจึงไร้คุณภาพทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างรุมทึ้งงบประมาณส่วนนี้กันอย่างสนุกสิ่งที่ยังคงหลงเหลือให้แก่เด็กตาดำๆคือ อาคารเรียนที่แตกร้าว  เครื่องเล่นที่พังก่อนกำหนด  แป้นบาสที่ ไม่คงทนแข็งแรง  เกิดกรณีล้มทับนักเรียนเสียชีวิตหรือพิการ    

      ตราบใดที่วงการศึกษาของไทยยังคงมีฝูงเหลือบที่คอยดูดงบประมาณกันเช่นนี้ต่อให้มีการปฏิรูปการศึกษาก็ไม่สามารถจะพัฒนาตัวจักรสำคัญไปได้คือคุณภาพผู้เรียน  และผู้สอนเพราะต่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงสร้างสิ่งก่อสร้างความทันสมัยด้านเทคโนโลยี่หมายถึงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นและไม่จำเป็นต่อการศึกษางบประมาณที่ถูกใช้ไปอย่างไม่เป็นประโยชน์เท่าที่ควร  ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์   ตราบนั้นก็อย่าหวังเลยว่าการศึกาไทยจะพัฒนาไปสู่ความสำเร็จได้

      ในที่สุดปัญหาการขาดคุณภาพของนักเรียนที่จบการศึกษามาโดยขาดคุณภาพคิดไม่เป็นระบบทั้งนี้เกิดจากการบริหารจัดการที่ผิดพลาดมีเหลือบในแวดวงการศึกษาคอยกัดแทะบ่อนทำลาย   จึงส่งผลในด้านต่างๆ  เช่น  สื่อที่ขาดคุณภาพ  ครูที่ขาดคุณภาพเพราะงบประมาณถูกใช้ไปในเรื่องที่ไม่ถูกต้องทุกฝ่ายมาสรุปผลว่า   นักเรียนและครูคือสาเหตุของการไม่พัฒนา โดยไม่ได้มองย้อนที่การดำเนินนโบบายที่

ผิดพลาดขาดการวิเคราะห์วิจัย  ขาดการบริหารที่ดีเหมือนเหลือบที่คอยแย่งชิงอาหาร และดูดเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงร่างกาย ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือร่างกายที่อ่อนแอมีปัญหาโรคภัยรุมเร้า สภาพไม่ต่างไปจากการศึกษาไทยในขณะนี่

   

หมายเลขบันทึก: 286005เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2009 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท