บันทึกการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย : กลุ่มนักจิตวิทยา


การรับรู้ของเด็กนั้นเริ่มจาก “เห็น” แล้วสมองจึงจัดการให้เกิดการ “จดจำ” และก่อให้เกิดกระบวนการ โดยหากแยกเป็นวัยแล้วในช่วงอายุ ๑๓ ปีนั้นเป็นวัยที่ ชีววิทยาแรงมาก คือมีการเปลี่ยนทางฮอโมนสูง การแสดงออกทางอารมณ์มากกว่าการใช้สมองส่วนใคร่ครวญ โดยสมองส่วนอารมณ์ จะเติบโตเต็มที่แล้วเมื่อเด็กมีอายุ ๑๓[1] ปี แต่สมองส่วนสติยั้งคิด หรือเหตุผลจะเจริญเติบโตในวัย ๒๐ ปี ดังนั้น จะ พบว่าเด็กกลุ่มที่ต่ำกว่า ๒๐ นั้นยังคงมีการแสดงทางอารมณ์ที่รุนแรงอย่างเห็นได้ชัด

บันทึกการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย : กลุ่มนักจิตวิทยา

โครงการวิจัยและพัฒนาเกณฑ์การปรากฏตัวภาพบุหรี่ในสื่อภาพยนตร์

ตามระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์

ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒  วันจันทร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ ห้องประชุม ๔๐๖ ชั้น ๔  เวลา ๑๓.๓๐- ๑๖.๐๐น.

คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม     :           คุณ สุรวดี รักดี ผู้ดำเนินการสัมภาษณ์

:           คุณอารยา ชินวรโกมล

 


รายชื่อเข้าร่วมกิจกรรม   กลุ่มนักจิตวิทยา โครงการวิทยาการเสพติด  ม.มหิดล

1.      ดร. ประภาพรรณ จูเจริญ

2.      กันต์ อัสมันยี

3.      ดวงใจ บรรทัพ

4.      ทองคำ เหล่างาม

5.      ธนพล มากแสงเสรี

 

ระบวนการทำกิจกรรมสัมภาษณ์กลุ่มย่อย

ขั้นตอนการชมภาพยนตร์

คัดเลือกภาพยนตร์ตามระดับความเหมาะสมโดยเป็นภาพยนตร์ไทย ๓ เรื่อง ภาพยนตร์ระดับความเหมาะสม น.๑๓ คือเรื่อง หมอเจ็บ ภาพยนตร์ระดับความเหมาะสม น.๑๕ คือเรื่อง รักแห่งสยาม ภาพยนตร์ระดับความเหมาะสม น.๑๘ คือเรื่อง เจ็ดประจัญบาน ภาค ๒ และนำภาพยนตร์ต่างประเทศหนึ่งเรื่องมาให้ชม คือ เรื่อง คอนเสตนติน โดยส่งภาพยนตร์ให้แต่ละท่านชมทั้ง ๔ เรื่องข้างต้น ภายใน ๒ สัปดาห์ และนัดหมายวันเพื่อสัมภาษณ์ต่อไป

   

ขั้นตอนการสัมภาษณ์

·       เริ่มต้นจากการแนะนำโครงการและวัตถุประสงค์ของการทำงาน

·       ภูมิหลังของเรื่องการสูบบุหรี่

พูดคุยถึงเรื่องภูมิหลังของแต่ละท่านไม่มีคนสูบบุหรี่ แต่ก็มีคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ เช่น คุณพ่อ อาจารย์ และมีความจดจำเรื่องการสูบบุหรี่ของบุคคลเหล่านั้นได้ชัดเจน เช่น จำได้ว่าอาจารย์สูบบุหรี่ไป อีกมือหนึ่งก็เขียนกระดานไป  พอเขียนเสร็จก็ไปยืนสูบฆ่าเวลาหน้าประตูห้องเรียน ซึ่งนักเรียนก็ยังคงอยู่กันเต็มห้อง เป็นต้น

·       ทัศนคติต่อการสูบของคนในครอบครัว หรือ เพื่อนที่สูบ

ทุกท่านล้วนแล้วแต่คิดบุหรี่ไม่มีประโยชน์โดยสิ้นเชิง ทั้งต่อร่างกาย ต่อการแสดงบุคคลิกความเป็นตัวตน รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องจำเป็น  แต่สำหรับคนที่สูบก็เพียงแต่ชินมาทั้งแต่เด็กๆ

คุณธนพล         บอกว่าในโรงเรียนตอนมัธยม ก็เห็นเพื่อนสูบกันในห้องน้ำก็ทำๆธุระของตัวเองให้เสร็จไปแล้วก็ไม่ได้สนใจ

ดร. ประภาพรรณ กรณีที่คุณพ่อเป็นคนสูบก็จะไม่รู้สึกดี แต่เพียงขอให้ระวังไม่ให้เด็กเล็กในบ้านเห็นมากกว่า ซึ่งก็ทำไม่สามารถควบคุมได้อยู่ดี เด็กเล็กก็มีการทำตาม เลียนแบบท่าทางอยู่ดี เช่น เอากูลิโกะมาคาบทำเป็นบุหรี่

หลักการของการสมองตามช่วงวัย

ดร. ประภาพรรณ ชี้แจงว่าการรับรู้ของเด็กนั้นเริ่มจาก “เห็น” แล้วสมองจึงจัดการให้เกิดการ “จดจำ” และก่อให้เกิดกระบวนการ โดยหากแยกเป็นวัยแล้วในช่วงอายุ ๑๓ ปีนั้นเป็นวัยที่ ชีววิทยาแรงมาก คือมีการเปลี่ยนทางฮอโมนสูง การแสดงออกทางอารมณ์มากกว่าการใช้สมองส่วนใคร่ครวญ โดยสมองส่วนอารมณ์ จะเติบโตเต็มที่แล้วเมื่อเด็กมีอายุ ๑๓[1] ปี แต่สมองส่วนสติยั้งคิด หรือเหตุผลจะเจริญเติบโตในวัย ๒๐ ปี ดังนั้น จะ พบว่าเด็กกลุ่มที่ต่ำกว่า ๒๐ นั้นยังคงมีการแสดงทางอารมณ์ที่รุนแรงอย่างเห็นได้ชัด

คุณดวงใจ โดยเฉพาะในวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการให้เพศตรงข้ามให้ความสนใจ ดังนั้นการแสดงออกใดๆที่ทำให้เพศตรงหันมาสนใจก็จะเห็นได้ในเด็กวัยนี้มากเป็นพิเศษ เช่น ผู้หญิงก็จะแต่งตัวจัด แก่แดด ผู้ชายก็แสดงท่าทางกวนๆ  เป็นต้น



[1] ( Common knowledge) การเจริญเติบโตของสมองดังกล่าวนี้เป็นการยอมรับกันแล้วในเชิงวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในทุกชาติพันธุ์

 อ่านต่อที่นี่

หมายเลขบันทึก: 285960เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท