กิจกรรม บำบัด สุขภาพจิต จริงหรือ?


ขอให้ทุกท่านหยุดคิดซักนิด ในการหากิจกรรมยามว่างเพื่อพัฒนาจิตใจ และลดความเหนื่อยล้าทางใจของตนเองและคนที่คุณรัก “Balancing of Mental Leisure for Releasing Mental Fatigue”

 

จิตใจมนุษย์นั่นยากแท้หยั่งถึง…..ตนเท่านั้นแลพึงรักษาจิตใจของตน

 

ลองสังเกตความรู้สึกลึกๆของตนเอง ขณะกำลังทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองชอบมากๆที่สุด ดูซิครับ แล้วพยายามระลึกถึงวันเวลาที่ผ่านมาของคุณ ว่าเคยมีความรู้สึกดีๆเหล่านั้นที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และกับใครบ้าง

 

สาเหตุที่ผมให้ทุกท่านลองสังเกตความรู้สึกดังกล่าว ก็เพื่อให้ทุกท่านได้ลองเรียนรู้ความรู้สึกของตนเองในแต่ละวัน แล้วพยายามค้นหากิจกรรมยามว่าง เน้นผ่อนคลายความเหนื่อยล้าทางใจของตนเองให้มากที่สุด

 

ผู้ป่วยหลายรายที่ไม่สามารถสังเกตความรู้สึกของตนเอง (Low self-perception/image) และขาดทักษะการแก้ไขปัญหาของตนเอง (Poor self-coping skill) อันเนื่องมาจากภาวะตึงเครียดจากคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนภายในจิตใจของตนเอง (Mind Instability)

 

เมื่อใดก็ตามที่คนเราไม่ลองหยุดนิ่งและมองข้อบกพร่องของตนเอง  เราก็ไม่มีเวลาทำกิจกรรมยามว่างเพื่อผ่อนคลายความล้าทางใจของตนเอง ไม่มีดุลยภาพของการแบ่งเวลาการทำกิจกรรมดูแลตนเอง กิจกรรมยามว่าง และการทำงาน หากแต่ได้รับการสะสมความเครียดและปัญหาต่างๆจากการทำงานมากจนเกินไป

 

ตัวอย่างของกิจกรรมยามว่างเพื่อพัฒนาจิตใจ และลดความเหนื่อยล้าทางใจของตนเอง เช่น การนั่ง/นอนเล่นอยู่คนเดียว การไหว้พระนั่งสมาธิ การเขียนบันทึกประจำวัน การได้ทำอาหารให้คนที่รักทาน  การผ่อนคลายด้วยการฟังเพลง/ดูทีวีในระยะเวลาที่ไม่มากจนเกิดความรู้สึกเกียจคร้าน  การเล่น/เกมหมากรุกเพื่อผ่อนคลายมากกว่าการแข่งขัน

 

จะเห็นว่าการปรับเปลี่ยนกิจกรรมต่างๆ เพื่อมุ่งหมายพัฒนาความผ่อนคลายให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ (Mental leisure) มากกว่าพัฒนาความรู้สึกนึกคิดและเชาว์ปัญญา (Intellectual leisure) ซึ่งอาจเกิดความล้าทางจิตใจได้

 

ลองฝึกจิตใจของตนเองดูนะครับ เมื่อใดที่ทำกิจกรรมใดๆแล้วไม่ได้อยู่กับความคิดของตนเองมากจนเกินไป (social isolation) แต่ต้องให้เกิดรู้สึกจิตใจที่ผ่อนคลายและสบายอย่างต่อเนื่อง (Progressive mental relaxation) นั่นละครับคือกิจกรรมยามว่างที่เรากำลังต้องการและค้นหาอยู่ เพื่อความมีสุขภาพจิตที่แข็งแรง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28533เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นการเตือนสติที่ดีมากค่ะ บางครั้งเรามักจะจริงจังกับเรื่องทุกเรื่องมากไป อย่างนี้ถ้าเราทำงานประจำวันแต่ทำด้วยใจผ่อนคลายและรักที่จะทำ ก็น่าจะช่วยให้จิตใจไม่ทำงานหนักเกินไปได้เหมือนกันสิใช่ไหมคะ

 

 

Many thanks krab P'Owe....also thank you for sending me a wristband and a postcard donated for our King.

Miss you and your family, always krab

สำรวจรู้"ตน"ทุกขณะ"จิต"...ทั้งอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก

ในทุกอิริยบท...ก็ทำให้เราตาม"รู้"ทัน...ตน

หากเมื่อใดเรารู้เท่าทัน...สภาพเราที่เกิดขึ้น...

โกรธ..รู้ว่าโกรธ

เศร้า..รู้ว่าเศร้า

เสียใจ...รู้ว่าเสียใจ

ดีใจ...รู้ว่าดีใจ

...

เฝ้าติดตามอย่างรู้เท่าทัน...

ปัญหาทาง"จิต"...ย่อมป้องกันและติดตามได้

many thanks krab Dr. Ka-poom...

Exporation of feeling as you mentioned is definitely true, but self-expression while participating mental activities is needed to be concern.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท