แลกเปลี่ยน และ เรียนรู้ เรื่องเล่าชมรมฯ ภาคใต้ (3) ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ


 

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานชมรมผู้สูงอายภาคใต้ในครั้งนี้ ท่านผู้อำนวยการกองทันตสาธารณสุข ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย มาเปิดประชุม และได้บรรยาย ในเรื่องยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ขอนำประเด็นดีดีมาเล่าสู่กันฟังต่อค่ะ

ผมเคยไปที่อุตรดิตถ์ ก็พบว่า มีผู้สูงอายุอายุเกินร้อยปี อยู่จำนวนหนึ่ง ท่านผู้ว่าฯ จึงมีโครงการให้รถเข็นกับผู้สูงอายุที่ไปไหนมาไหนลำบาก โดยใช้เงินของท้องถิ่น และรับบริจาคส่วนหนึ่ง จัดตั้งเป็นกองทุนสำหรับผู้สูงอายุ ... ในหมู่บ้านไหนที่มีผู้สูงอายุที่เดินเหินลำบาก จะให้ใช้รถเข็น จนเสียชีวิตก็นำกลับมาที่กลุ่ม และมอบให้ในรายต่อไป ... นี่ก็เป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ในการที่จะทำงานกับผู้สูงอายุ ... ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับมุมมองว่า เราต้องการจะเกื้อหนุน และเอื้อเฟื้อกับผู้สูงอายุอย่างไร

ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ Aging Society ... เขาบอกว่า ยิ่งสูงอายุยืนเท่าไร โรคที่เราไม่เคยเจอ ก็จะเจอ ... เพราะว่าเมื่อก่อนผู้สูงอายุมีกระดูกหักน้อย ก็เพราะว่า ท่านเสียชีวิตไปก่อนที่จะเป็นนั่นเอง และเรื่องโรคในช่องปาก ปัจจุบันคนที่มีฟันในช่องปากมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็จะพบว่า ฟันก็จะสึกไปเรื่อยๆ ตัวความสูงของฟันตามแนวดิ่ง (VD) ก็จะลดลงๆ การเคี้ยวก็จะ swing ไปมา ทำให้มีโอกาสเคี้ยวข้างแก้ม ริมฝีปาก เกิดแผลในปากมากขึ้น เป็นอาการที่เสื่อมไป เพราะฉะนั้น ถ้าเราได้รู้ภาวะตรงนี้แล้ว เราควรที่จะกระทำการอย่างไรที่จะมาช่วยผู้สูงอายุได้บ้าง

ทางร่างกาย ที่เกี่ยวกับทันตสาธารณสุข ก็คือ ตา หู ความจำ กล้ามเนื้อมือถดถอย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมือส่งผลโดยตรงต่อ Oral Hygiene ถ้ากล้ามเนื้อมือแข็ง ทำอะไรไม่ได้ ผู้สูงอายุกำมือไม่ได้ ก็จะต้องมีการคิดเครื่องมือที่จะช่วยผู้สูงอายุแปรงฟันได้ เช่น การทำด้ามแปรงสีฟันให้ใหญ่ขึ้น ... ตรงนี้ ถ้าเรารู้ภาวะร่างกาย เราก็จะช่วยเขาได้ บางคนอายุมากๆ กล้ามเนื้อเหยียด ก็จะเปลี่ยนไป ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่แปรงฟันด้วย

เรื่องของสุขภาพจิต ... ทันตสาธารณสุขเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุหลายด้าน ผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอย เช่น พอไม่มีฟัน ทำให้พูดไม่ชัด ทำให้การเข้าสังคมแย่ ลูกหลานเวลาเข้าไปคุยกับ ปู่ย่าตายาย ก็อาจคุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะว่า เขาพูดไม่ชัด

ตอนนี้จะพบว่า ผู้สูงอายุในแต่ละจังหวัดมีการรวมตัวกันเป็นชมรมผู้สูงอายุ เมื่อประมาณปี 2536 กระทรวงมหาดไทยได้ไปเริ่มจัดตั้งเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุขึ้น อย่างเป็นทางการ บางพื้นที่ก็จะคงอยู่ บางพื้นที่ก็จะหายไป ... ที่อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ผมได้พบประธานชมรมผู้สูงอายุ เขาบอกว่าเขาเพิ่งจัดตั้งคณะกรรมการชมรมฯ ใหม่ เพราะว่าเขาเคยมี แต่หายไป พอทางทันตฯ เข้าไปคุยกับเขาว่าจะมาทำเรื่องชมรมผู้สูงอายุเรื่องการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ประธานจังได้ไปโน้มน้าวให้ชาวบ้านมารวมตัวกันขึ้นใหม่

เป้าหมายของการดูแลผู้สูงอายุ เราคงไม่อยากให้แค่การรักษา ... เราอยากให้กลุ่มผู้สูงอายุที่มี 3 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วย สัดส่วนจะมีต่างๆ กัน

เรื่ององค์รวม เราสามารถทำได้ในเรื่องของการส่งเสริมป้องกัน ทำอย่างไรให้เขาพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด หรือช่วยเหลือกันให้ได้มากที่สุด นั่นก็คือ ที่เราจะช่วยกันพูดคุยกัน ว่าจะไปกระตุ้นชุมชน ให้เขาได้ช่วยเหลือตนเอง ให้ผู้สูงอายุได้พึ่งพาตัวเองมากที่สุดได้อย่างไร เพื่อนำไปสู่เรื่องของคุณภาพชีวิต

เรื่องของทันตสุขภาพ ในหลวงฯ ท่านดำรัสไว้ตั้งแต่ปี 2547 ว่า "เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง" ... 5 ประโยคนี้ เป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตล้วนๆ เป็นเรื่องที่เราทำต่อเนื่องมา เป็นเรื่องที่เป็นความจริง ที่เราทำเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตตรงนี้

เรื่องของการเคี้ยว ... คนจะชอบเคี้ยวถั่ว ชอบเคี้ยวเม็ดมะขามคั่ว ... เขาบอกว่า การเคี้ยวเป็นเรื่องของความสุข การเคี้ยวแต่ละครั้ง มันจะมีการไปกระตุ้นฐานสมองความสุข หลายๆ ท่าน พอเครียดก็จะเคี้ยวก็มี ... นี่ก็เป็นเรื่องของคุณภาพชีวิต

ปัจจุบัน เราพยายามทำเรื่องลดการสูญเสียฟัน หรือคนที่ไม่มีฟันก็ใส่ฟันเทียม โดยทำกิจกรรมในเรื่องของระบบบริการ มีการส่งเสริมป้องกัน การทำ Prophylaxis หรือ Supportive periodontitis ขึ้น ... ส่วนกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มใหญ่ ที่ไม่ได้มาที่โรงพยาบาล ยังอยู่ในชุมชนนั้น ก็คือ ทำอย่างไรให้เขาดูแลตนเองได้ นี่คือ เป้าหมายสุดยอดของเรา

ยุทธศาสตร์ หรือ กลยุทธ์ในการทำงาน เราอิง Ottawa charter, Bangkok charter ในเรื่องของการทำชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น เพิ่มศักยภาพของประชาชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี และการปรับเปลี่ยนระบบเรื่องของโรงพยาบาล

เป้าหมายของเราคือ ทำอย่างไรให้เคี้ยวได้ หลักๆ ก็คือ การให้บริการ การป้องกัน และการส่งเสริม ในชมรมผู้สูงอายุ เพราะว่าเราต้องหา Entry point ... ถ้าเข้าชุมชน ไปหาจุดที่จะติดตาม มีกลุ่มที่ชัดเจน ผู้สูงอายุก็จะได้เข้าถึงบริการ ไม่ใช่มาที่โรงพยาบาล แต่การที่เราออกไปทำกิจกรรม ก็ถือว่าเข้าถึง บริการใกล้บ้าน และทำอย่างไร ให้ดูแลทั้งทันตฯ ทั้งทางร่างกาย และสุขภาพจิต รวมกันไป ... และทำอย่างไรจะให้การดูแลต่อเนื่อง เชิงบุคคล ครอบครัว ชุมชน จะทำกันอย่างไร จะช่วยกันอย่างไร

เรื่องของชมรมผู้สูงอายุภาคใต้ เมื่อปี 2551 เราเริ่มที่ 8 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สงขลา และสตูล พบว่า มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ในรูปแบบ

  • ผู้สูงอายุการดำเนินการเอง ในเรื่อง การแปรงฟันก่อนการละหมาด การเปลี่ยนขนมหวานเป็นผลไม้ การทำเมนูชูสุขภาพในวันพระ เพื่อลดอาหารเนื้อสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับบริบท วัฒนธรรม ของทางศาสนาด้วย ... เขาเกิดสื่อความรู้เกิดขึ้น เกิดการช่วยเหลือในชุมชน และเกิดนวัตกรรม
  • ในส่วนที่บุคลากรเข้าไปดำเนินการ จะมีเชิงวิชาการเกิดขึ้น ก็คือ การคัดกรอง การป้องกัน แกนนำเรื่องสุขภาพ การจัดฐานความรู้ เรื่อง walk rally ประกวดผู้สูงวัย

และปี 2554 จะมีการเฉลิมพระเกียรติฯ โดยตั้งเป้าหมายให้มีชมรมผู้สูงอายุที่ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 1 อำเภอ 1 ชมรม และก่อนที่จะไปถึงปี 2554 ท่านรองฯ บอกว่า เราจะต้องตั้งเป้าฯ 1 จังหวัด 1 ชมรม ก่อน ในปี 2553

รวมเรื่อง แลกเปลี่ยน และ เรียนรู้ เรื่องเล่าชมรมฯ ภาคใต้

  

หมายเลขบันทึก: 285118เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แอบมาหา
  • ความจริงต้องเรียกว่า  ย่องมาหา
  • เพราะดึกแล้ว
  • ดีใจด้วย  แม่ลูก มีตราแปะหัว(บล็อก) พร้อมๆกัน  อิอิ
  • หลับฝันดีนะ  จุ๊บๆ

คุณมนัญญาแอบมาหา ส่วนดิฉันมาหัวรุ่ง ปลุกให้ตื่นค่ะ

  • P
  • เขาเรียกว่า แม่ลูก กันจริง ค่ะ
  • ลูกไปทาง แม่ไปทาง ถ้าไม่ได้นัด ไม่เจอกันสักที ... ครั้งที่แล้ว พาลูกมาก่อกวนกรมอนามัยไว้ จนท่านอธิบดีน่าจะจำได้ เพราะว่า เธอมาแต่เช้า ก็เจอท่านอธิบฯ ไปกินข้าวก็เจออีก ... หลานชายเจ๊ เป็นคงดังไปแล้วละจ้า
  • ... แต่ขายยังไม่ออกซักที อิอิ
  • P
  • หนูไก่ ตื่นเช้าจริง
  • ภารกิจต่อไป ทำอะไรอีกคะเนี่ยะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท