ที่มาของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์


ที่มาของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

 

   

  

    บทประพันธ์เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์  นี้ว่าด้วยกษัตริย์ลิจฉวี  กรุงเวสาลี  แห่งแคว้นวัชชี  ถูกวัสสการพราหมณ์  มหาอำมาตย์ของพระเจ้าอชาตศัตรู  กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ  เข้าไปบ่อนทำลายความสามัคคีจนเสียเมือง  เรื่องนี้มีมาในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังควิลาสินี  นายชิต  บุรทัต  ได้อาศัยเค้าคำแปลเรื่องนี้เป็นโครงร่างในการประพันธ์  ได้ต่อเติมเสริมความตามลีลาแห่งฉันท์เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๕๗ 

          ในครั้งพุทธกาลแคว้นมคธมีกรุงราชคฤห์เป็นเมืองหลวง  เป็นมหาอาณาจักรบนลุ่มแม่น้ำคงคา  พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช  มีพระราชโอรสองค์ใหญ่

ทรงพระนามว่า  อชาตศัตรู  เจ้าชายอชาตศัตรูนี้นับถือศาสนาเชน  มิได้นับถือพุทธศาสนาเหมือนพระราชบิดา  จึงถูกพระเทวทัตยุให้กบฏชิงราชสมบัติ  อยู่มาวันหนึ่งเจ้าชายเหน็บกริชลอบเข้าไปหมายจะสังหารพระราชบิดา  เมื่อถูกจับได้ก็สารภาพว่าจะสังหารเพื่อให้ได้ราชสมบัติ  พระเจ้าพิมพิสารได้พระราชทานอภัยโทษและยกราชสมบัติให้พระราชโอรสเมื่อก่อนพุทธปรินิพพาน  ปี หรือก่อน พ.ศ.  ปี  แต่ทว่าพระเจ้าอชาตศัตรูหวาดระแวงว่าพระราชบิดาจะเปลี่ยนพระทัย  จึงสั่งให้อำมาตย์จับพระราชบิดาไปขังไว้บนภูเขาคิชฌกูฎและทรมานจนสวรรคต 

           แคว้นวัชชีเป็นสหพันธรัฐตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคันธกะ   แควหนึ่งแห่งแม่น้ำคงคา  มีกรุงเวสาลีเป็นเมืองหลวง  และมีพรมแดนติดต่อกับแคว้นมคธ  กษัตริย์ลิจฉวีผลัดเปลี่ยนกันปกครองโดยระบอบสามัคคีธรรม  มีรัฐสภาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  และมีวัฒนธรรมประจำชาติซึ่งยึดถือปฏิบัติอย่างมั่นคง    ประการ  เรียกว่า  อปริหานิยธรรม  ฉะนั้นแม้แคว้นวัชชีจะเล็กกว่าแคว้นมคธ  ก็มีความเจริญรุ่งเรืองและสามัคคีกันไม่น้อยกว่าแคว้นมคธ 

       พระเจ้าอชาตศัตรูมีกรณีพิพาทเป็นประจำกับกษัตริย์ลิจฉวี  เรื่องแย่งเครื่องเทศอันมีค่าที่เชิงภูเขา พรมแดนห่างจากแม่น้ำคงคาประมาณ  โยชน์  พระองค์จึงทรงวางแผนสงครามโดยใช้ให้มหาอำมาตย์สุนิธะกับปุโรหิตผู้เฉลียวฉลาดนามว่าวัสสการพราหมณ์ให้ไปสร้างบ้านปาฏลิคามขึ้นเป็นเมือง  ริมฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้ปากน้ำคันธกะ  ทางเข้าสู่แคว้นวัชชี  เมืองนี้เพียบพร้อมด้วยค่ายคูประตูหอรบ  เพื่อใช้เป็นฐานทัพเข้าโจมตีแคว้นวัชชี  แต่ถึงอย่างไรก็ดีพระเจ้าอชาตศัตรูก็ยังไม่กล้าจะหักหาญ  เพราะเกรงอิทธิพลของกษัตริย์ลิจฉวีอยู่ 

           เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเสวยราชย์ได้  ปี หรือ ก่อนพุทธปรินิพพาน  ปี ทรงใช้วัสสการพราหมณ์ให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแทนพระองค์บนเขาคิชฌกูฎ  ให้ทูลถามถึงความทุกข์สุขก่อน  แล้วให้กราบทูลถึงพระราชดำริของพระองค์ที่จะโจมตีแคว้นวัชชี  และเมื่อพระพุทธองค์รับสั่งอย่างไร  ก็ให้จำมากราบทูลอย่างนั้น

       วัสสการพราหมณ์ไปเฝ้ากราบทูลตามพระราชบัญชา  พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามพระอานนท์ว่าชาววัชชียังประพฤติวัฒนธรรม (อปริหานิยธรรม) ๗  ประการอยู่หรือ  พระอานนท์ก็กราบทูลว่า  ได้ยินว่าเขายังประพฤติกันอยู่  พระพุทธองค์จึงตรัสต่อไปว่า ได้ทรงแสดงธรรมทั้ง ๗ นี้แก่กษัตริย์ลิจฉวีครั้งหนึ่ง  เมื่อเสด็จไปประทับที่สารันทเจดีย์  กรุงเวสาลี  ว่าเป็นความเจริญฝ่ายเดียว  ไม่มีความเสื่อม 

 

          วัสสการพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า  แม้เพียงข้อเดียวเท่านั้นก็มีความเจริญฝ่ายเดียวไม่มีความเสื่อมเลย  ไม่ต้องกล่าวถึง  ข้อ  เพราะฉะนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูจึงไม่ควรทำการรบกับพวกวัชชี  นอกเสียจากการรอมชอม หรือการทำลายสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวีเสียก่อน  เมื่อกราบทูลความคิดเห็นอย่างนี้แล้วก็ทูลลากลับไป 

       เมื่อวัสสการพราหมณ์กลับไปแล้ว  พระพุทธองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์แสดงภิกขุอปริหานิยธรรมสูตร ซึ่งมีลักษณะคล้ายวัชชีอปริหานิยธรรมสูตร  เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎเป็นเวลาพอสมควรแล้ว  จึงเสด็จผ่านบ้านปาฏลิคามที่สร้างขึ้นเป็นเมืองปาฏลีบุตรแล้ว  รอนแรมไปโดยลำดับจนถึงกรุงเวสาลี  ประทับจำพรรษาสุดท้ายที่นั่น  ต่อจากนั้นก็เสด็จไปปรินิพพานที่อุทยานสาลวัน  แขวงกรุงกุสินารา  แคว้นมัลละ

       พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงทราบดังนั้นจึงไม่กล้าโจมตีแคว้นวัชชี  แต่ทรงปรึกษากับวัสสการพราหมณ์ออกอุบายทำลายความสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวี  โดยแกล้งลงโทษวัสสการพราหมณ์แล้วเนรเทศให้ไปอยู่แคว้นวัชชี  วัสสการรพราหมณ์ดำเนินการบ่อนทำลายความสามัคคีอยู่  ปี จึงเป็นผลสำเร็จ  

 

       พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงทราบแล้วก็กรีธาทัพเข้าไปยึดครองแคว้นวัชชีโดยไม่มีการสู้รบ  ภายหลังพุทธปรินิพพาน ๒ ปี หรือก่อน พ.ศ. ๓ แคว้นวัชชีก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอชาตศัตรู


ขอบคุณที่ติดตามเข้ามาอ่านเรื่องราว สามัคคีเภทคำฉันท์  ซึ่งการสืบค้นเนื้อเรื่อง ดำเนินการเพื่อประกอบการจัดทำหนังสือประกอบการเรียนวรรณคคี ของครูแป๊วค่ะ..
หากนักเรียนเข้ามาอ่าน และไม่เข้าใจ เขียนถามไว้หรือ มาปรึกษากับครูแป๊วได้..โดยตรงค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 283751เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาเบิ่ง...แว้วจ้า

วันนี้เรียนในหนังสือ

แล้วเข้ามาอ่านทำให้เข้าใจมากขึ้น

ขอบคุณอาจารย์มากคะ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหา....good

กราบขอบพระคุนจารย์อีกครั้งครับผม สำหรับ 20 คะแนน ภาษาไทย ใน มิดเทอมเทส ของกระผม ละเอียดแบบนี้ กระผมคงได้เต็มชัวร์ครับ กราบขอบพระคุนอีกครั้งครับ หวัดดีปีใหม่ จารย์ ด้วยนะฮะ

สวัสดีนะจ๊ะ นู๋จอร์จจี้

  เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบวัดผลปลายภาคด้วยล่ะ  อย่ามัวร่าเริงใจอยู่

คือหนูกำลังทำโครงงานเรื่องนี้อยู่พอดีค่ะหนูอยากทราบเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์เนื้อเรื่องไม่ย่อนะค่ะคืออาจารย์หนูเข้มมากๆ

หนูเข้ามาชมแล้วก้ดีมากๆค่ะอาจารย์ค่ะได้โปรดนะค่ะช่วยตอบหนูหน่อยนะค่ะตอบทางอีเมลนะค่ะหนูขอร้อง

  สวัสดีค่ะ parawee

เนื้อเรื่องทั้งหมดของวรรณคดีคำฉันท์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์นั้นครูได้บันทึกลงใน "ศึกษาวรรณคดี  สามัคคีเภทคำฉันท์" แล้วค่ะ  ทั้งที่เป็นคำฉันท์ และที่เป็นบทถอดความเป็นร้อยแก้ว  มีทั้งหมด ๔๐ บันทึก ลองอ่านในบันทึกทั้งหมดนะคะ

กลุ้มมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยคะคุณครูให้เเปลสามัคคีเภทคำฉันท์ในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ ม.6มีหลายหน้าคะ ช่วยหน่อยนะคะ

สวัสดีค่ะ กวินธิดา

   งานที่คุณครูสั่งคงไม่ยากจนเกินความสามารถของนักเรียนหรอกค่ะ  ใจเย็น ๆ ไม่ต้องกลุ้มใจขนาดนั้นนะคะ

เด็กเรียนไม่ค่อยเก่ง

ช่วยถอดความให้หน่อย

๏ พร้อมเบญจางคประดิษฐ์สฤษติตษฎี

กายจิตร์วจีไตร ทวาร

๏ กราบไหว้คุณพระสุคตอนาวรณญาณ

ยอดศาสดาจารย์ มุนี

๏ อีกคุณสุนทรธรรมะคัมภิรวิธี

พุทธ์พจน์ประชุมตรี ปิฎก

๏ ทั้งคุณสงฆะพิสุทธิศาสนะดิลก

สัมพุทธสาวก นิกร

๏ นอบน้อมคุณพระคเณศวิเศษศิลปธร

เวทางคบวร กะวี

๏ เปนเจ้าแห่งวิทยาวราภรณะศรี

สุนทรสุวาท วิธาน

๏ สรวมชีพหัดถประณามประนตพระบทมาลย์

บพิตระสมภาร พระองค์

๏ สมเด็จอรรคะมหาจุฑาธิปะพระมง

กุฎเกล้าพิศิฏฐ์พงศ์ กระษัตริย์

๏ บานบำเทองพรััเถลิงถวัลยอธิปัติ์

ที่หกดลกรัฏฐ์ ประชา

๏ ชุ่มชื่นมณฑละภูมิ์นิพัทธ์วัฒนะปรา

กฎเพียงพระรามา วตาร

๏ ปางไวกูณฐประกอบประกาศกิติอุฬาร

เลิศมากประมาณคือ พระองค์

๏ สรวมศรีไตรรตนาธิคุณอดุละมง

คลเหตุพิเศษทรง ประสิทธิ์

๏ เสริมซึ่งโสตถิบวรพระพรจตรพิธ

ขอพึงสฤษดิ์นิจ นิรันดร์

๏ จุ่งไท้เทียรฆพระชนมะดลลุสตพรรษ์

ภัทร์เพิ่มพระศุขวรร ณพล

๏ อันใดสรรพะกะลีและนีรผละมล

ทินไกลยุคลบาท ลออง

๏ เพียรเพ็ญูในมนะข้าพเจ้านิยมะจอง

เจตน์คิดลิขิตปอง ประพันธ์

๏ สามัคคีภิทะโทษนิทานะคติธรรม์

โดยพิศดารอัน แสดง

๏ เชิงบรรพ์ฉันทะลเบงชเลงพจนะแปลง

บรรจงพจีแจง ประโยชน์

๏ บูชาศาสนะพากย์สุภาสิตะวิโรจน์

เริงปรีดิปราโมทย์ ประมวญ

๏ ใดบทบาทผิวะคลาศและผิดนิติขบวน

โกวิทกะวีควร อภัย

วสันตดิดก ฉันท์ ๑๔

๏ โบราณะกาลบรมะขัต ติยรัชชเกรียงไกร

ท้าวทรงพระนามะอภิไธ ยะอชาตะศัตรู

๏ ครอบครองมไหยศุริยเอก อภิเศกประสิทธิ์ภูว์

อาณาปวัตติบริบู รณะบรรพประเพณี

๏ แว่นแคว้นมคธนคระรา ชคฤห์ราชบูรี

ทรงราชวัตร์วิธะทวี ทศธรรมะจรรยา

๏ แหล่งหล้ามหาอุดมะลาภ คุณะภาพพระเมตตา

แผ่เพียงชนกกรุณะอา ทระบุตร์ธิดาตน

๏ โปร่งปรีดิปราศอริริปู ภพะภูมิมณฑล

เปรมโสตถิ์ประสบวัฒนะผล ศุขะต้วยพระเดชา

๏ อำพนพระมณฑิรพระราช ะนิวาศน์วโรฬาร์

อัพกันตร์ก็ไพจิตระพา หิรภาคก็พึงชม

๏ เช่นหลั่งชลอดุสิตะเท วสถานพิมานพรหม

มารังสฤษดิ์ศิริอุตม ผิวะเทียบก็เทียมทัน

๏ สามยอดยะเยี่ยมยละระยับ วะวะวับสลับพรรณ์

ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร

๏ บราลีพิลาศศุภจรูญู นพศูลประกัศร

หางหงส์ผจงพิจิตระงอน ดุจะกวักนภาลัย

๏ รอบด้านตระหง่านจตุรมุข พิศะสุกอร่ามใส

กาญจน์แกมมณีกนกะไพ ฑุริย์พร่างพะแพรวพราย

๏ บานบัฏพระบัญชระสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย

เพดาลก็ดารกะประกาย ระกะดาดประดิษฐ์ดี

๏ เพ่งภาพตลอดตละผนัง ก็มะลังมะเลืองสี

ยิ่งดูก็เด่นประดุจะมี ชิวะแม้นกมลครอง

๏ ภาพเทพพนมวิจิตระยิ่ง นรสิงหะลำยอง

ครุฑยุตภุชงค์วิยะผยอง และเผยอขยับผัน

๏ ลวดลายระบายระบุกระหนาบ กระแหนภาพกระหนกพัน

แผ่เกี่ยวผกาบุษปะวัล ลิและวางระหว่างเนือง

๏ ภายใต้เศวตร์ฉัตระรัต นะจรัศจรูญเรือง

ตั้งราชอาศนะประเทีอง วรมัญจบรรจ์ฐรณ์

๏ ห้อยย้อยประทีปอุบะประทิน รศกลิ่นชเอมอร

อาบอบตระหลบนิจะขจร ดุจะทิพย์สุมาลัย

๏ คัณนาอเนกคณะอนงค์ ศิริทรงเจริญูใจ

สรรพางคะพรรณพิศะประไพ กละพิมพอับศร

๏ เรียงรายจรูงรมยะบาท บริจาริกากร

ปันเวรพิทักษ์อธิบวร ทิวรัตติ์นิวัทธ์วาร

๏ โดยรอบมหานคระเล่ หะสิเนรุปราการ

มั่นคงอรินทระจะราญ ก็ระย่อและท้อหนี

๏ แถวถัมภะโดรณะสล้าง ระยะนางจรัลมี

ชลคูประตูวรบุรี ณ ระหว่างพระภารา

๏ เรียงป้อมและปักธวัชะราย ยละค่ายก็แน่นหนา

เสาธงสถิตยะธุชะมา ลุตะโบกสบัดปลาย

๏ หอรบอรินทรจะรอ รณะท้อหทัยหมาย

มุ่งยุทธะย่อมชิวะมลาย ก็ประลาศน์มิอาจทาน

๏ พร้อมพรั่งพฤนท์พหละรณ พยุห์พลทหารหาญ

อำมาตย์และราชบริวาร วุฒิเสวกากร

๏ เนืองแน่นขนัดอัศวะพา หนะชาติกุญชร

ชาญศึกสมรรถะณสมร ชยะเพิกริปูภินท์

๏ ความศุขก็แสนบรมศุข และสนุกสนานยิน

ดีในผไทรัฐะบุริน ทรรัตน์จรูญเรือง

๏ กลางวันอนันตคณนา นรคลาคระไลเนือง

กลางคืนมหุศวะประเทือง ดุริย์ศัพทะดีดสี

๏ บรรสานผสมสรนินาท พิณะพาทย์และดนตรี

แซ่โสตร์สดับเสนาะฤดี อุระเพลินเจริญใจ

๏ เมืองท้าวและเทียบพิพยโลก ภพะแหล่งสุราลัย

เมืองท้าวและสมบุรณไพ บุละทุกประการมาน

ฉบงง ๑๖

๏ อันอรรคปุโรหิตอาจารย์ พราหมณ์นามวัสสการ

ฉลาดเฉลียวเชี่ยวชิน

๏ กลเวทโกวิทจิตร์จินต์่ ประจักษ์แจ้งศิล

ปศาสตร์ก็จบสบสรรพ์

๏ เปนมหาอำมาตย์ราชวัล ลภใครไป่ทัน

ฤเทียมฤเทียบเปรียบปาน

๏ สมัยหนึ่งจึ่งจอมภูมิบาล ท้าวจินตนาการ

จะแผ่อำนาจอาณา

๏ ให้ราบปราบปรามเพื่อปรา กฎไผทไพศา

ละจวบจังหวัดวัชชี

๏ หวังพระหฤทัยใคร่กรี ฑาทัพโยธี

กระทำประยุทธ์เอาไชย

๏ ครั้นทรงดำริห์ตริไป กลับยั้งหยั่งใน

มนัศมิแน่แปรเกรง

๏ หากหักจักได้ไชยเชวง ฤๅแพ้แลเลง

พะว้าพะวังลังเล

๏ ไป่อาจสามารถทุ่มเท ทำศึกรวนเร

พระราชหทัยโช่เบา

๏ ต้วยเหตุพระองค์ทรงเสา วนะศัพท์สำเนา

ระเบงระบีอลือชา

๏ ว่ากษัตริย์วัชชีบรรดา ครองรัชชสีมา

กเษตร์ประเทศทุกองค์

๏ อปริหานิยะธรรมธำรง ทั้งนั้นมั่นคง

มิโกรธมิกร้าวร้าวฉาน

๏ เพึ่อธรรมดำเนินเจริญูการณ์ ใช่เหตุแห่งหานิ์

เจ็ดข้อจะคัดจัดไข

๏ หนึ่ง.เมื่อมีราชกิจใด ปฤกษากันไป

บวายบหน่ายชุมนุม

๏ สอง.ย่อมพร้อมเลิกพร้อมประชุม พร้อมพรักพรรคคุม

ประกอบณกิจควรทำ

๏ สาม.นั้นถือมั่นในสัม มะจารีตจำ

ประพฤติ์มิตัดดัดแปลง

๏ สี่.ใครเปนใหญชะจง โอวาทศาสน์แสดง

ก็ยอมและน้อมบูชา

๏ ห้า.นั้นอันบุตริ์ภิริยา ผู้อื่นก็หา

ประทุษฐ์กระทำข่มเหง

๏ หก.ที่เจดีย์ชนเกรง เคารพยำเยง

ก็เส้นก็บวงสรวงพลี

๏ เจ็ด.พระอรหันต์อันมี โนรัฏฐ์วัชชี

ก็คุ้มก็ครองปัองกัน

๏ พร้อมสรรพสัปดพิธนิจนิรันตร์ สามัคคีธรรม์

ณหมู่กระษัตริย์ลิจฉวี

๏ อชาตศัตรูภูมี ทรงทราบโดยคดี

ดั่งนั้นก็ครั่นคร้ามขาม

๏ ศึกใหญ่หากจะพยายาม หาญหัก อาตาม

กำลังก็หนักนักหนา

๏ จำจักหักด้วยปัญญา รอก่อนผ่อนหา

อุบายทำลายมูลความ

อุปชาติฉันท์ ๑๑

๏ บรมกระษัตริย์ปรา รภะการะปราบปราม

กับวัสสการพราหม ะณพฤฒิอาจารย์

๏ ปฤกษาอุบายดำ ริหะทำไฉนการ

จะสมนิยมภาร ธุระปราถนาเรา

๏ สมัคคิ์สมานมิตร์ คณะลิจฉวีเขา

มั่นคงจะคิดเอา ชนะด้วยประการใด

๏ ท่านวัสสการผู้ ทิชะครูฉลาดใน

อุบายคนึงไป ก็ประจักษ์กระจ่างจินตน์

๏ เสนอสนองทูล กละมูลยุบลรบิล

แต่องคภูมิน ทอชาตศัตรู

๏ ตกลงและทรงนัด แนะกะวัสสการครู

ตริเพื่อเผต็จมู ละสมัคคไมตรี

๏ สมัยเสด็จว่า กิจะราชะการี

เสนาธิบดี มุขะมวญูอมาตย์ผอง

๏ โดยศักดิฐานัน คระชั้นอนันต์นอง

ณท้องพระโรงทอง ขณะเฝ้าพระบทมาลย์

๏ สดับปกาสิต วระกิจวโรงการ

จึ่งราชะสมภาร พจนาตถ์ประภาษไป

๏ เราคิดจะใคร่ยก พยุห์พลสกลไกร

ประชุมประชิดไชย รณะรัฏฐวัชชี

๏ ฉนี้แหละเสนา ปติฐานะมนตรี

คอใครจะใคร่มี พจะคานประการไร

๏ ฝ่ายพราหมณ์ก็กราบทูล อติศูริย์ณทันใด

นยาธิบายไข วจนัตถทัดทาน

๏ พระราชปรารม ภนิยมมิควรการณ์

ขอองคภูบาล พิเคราะห์เหตุจงดี

๏ อันซึ่งจะกรีฑา พละทัพและไปดี

กระษัตริย์ณวัชชี ชนบทสมหมาย

๏ มิแผกมิผิดพา กยะข้าพระองค์ทาย

ไป่ได้สดวกตาย และจะแพ้เพราะไพรี

๏ พวกลิจฉวีขัต ติยรัชชวัชชี

ละองค์ละองค์มี มิตระพันธะมั่นคง

๏ และแสนจะสามารถ พละอาจกระทำสง

ครามยุทธยรรยง มิระย่อมิเยงใคร

๏ เราน้อยจะย่อยยับ ดละอัปราไชย

ฉนี้แหละแน่ใน มนะข้าพยากรณ์

๏ และอีกประการเล่า ผิวะเขาสิคิดคลอน

แคลนพาลระราญรอน ทุจริตผจญเรา

๏ เป็นก่อนกระนั้นชอบ ทุษะตอบก็ทำเนา

มิมีคดีเอา ธุระเห็นบเปนธรรม

๏ และโลกจะล่วงวา ทะติว่าพระองค์จำ

นงเจตนาดำ ริห์วิรุธประทุษฐ์เขา

๏ กระนี้พระจุ่งปรา รภะภาระแบ่งเบา

เพื่อกล่อมถนอมเกลา มิตระภาพสงบงาม

อีทิสังฉันท์ ๒๐

๏ ภูบดินทร์สตับอุปายะตาม

ณวาทะวัสสการะพราหมณ์ และบังอาจ

๏ เกินประมาณเพราะการละเมิดประมาท

มิควรจะขัตบรมราช ชโยงการ

๏ ท้าวก็ทรงแสดงพระองคะปาน

ประหนึ่งพระราชหทัยธดาล พิโรธจึง

๏ ผันพระกายกระทีบพระบาทและอึง

พระศัพทะสีหนาทะพึง สยองภัย

๏ เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร

ทุทาษสถุลฉนี้ไฉน ก็มาเปน

๏ ศึกบถึงและมึงก็ยังมิเห็น

จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด

๏ อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ

ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู

๏ เล่หะกากะหวาดขมังธนู

บห่อนจะเห็นธวัชริปู ก็ท้อถอย

๏ พ่ายเพราะไภยะตัวสิกลัวจะพลอย

พินาศชิพิตร์ประดิษฐ์ประดอย ประเด็นขัด

๏ กูก็เอกอุดมบรมกษัตริย์

วิจาระถ้วนบควรจะทัด จะทานคำ

๏ นี่ก็เห็นเพราะเปนอมาตย์กระทำ

พระราชการะมาฉนำ สมัยนาน

๏ ใช่กระนั้นละไซร้จะให้ประหาร

ชิวาตม์และหัวจะเสียบประจาน ณทันที

๏ นัคราภิบาลสภาบดี

และราชบุรุษฮะเฮ้ยจะรี จะรอไย

๏ ฉุดกระชากกะลีอปรีชะไป

บพักจะต้องกะรุณอะไร กะคนคด

๏ ลงพระราชอาชะญา ณ บท

พระอัยการพิพากษะกฎ และโกนผม

๏ ไล่มิให้สถิตย์ณคามนิคม

นครมหาสิมานิยม บุรีใด

๏ มันสมรรคสวามิภักดิใน

อมิตตะลิจฉวีก็ไป บห้ามกัน

๏ เสร็จประกาศพระราชธูระสรรพ์

เสด็จนิวัติศุขาภิมัณฑ์ มหาคาร

อินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑

๏ ควรสุดจะสมเพช จิตระเวทนาการ

ที่ท่านพฤฒาจารย์ พะกระทบประสบทัณฑ์

๏ โตยเต็มกตัญูญู กตเวทิตาอัน

ใหญ่ยิ่งและยากครัน ขรการณ์จะทานทน

๏ ยินดีนิยมเพี่อ สละเนี้อและเลีอดตน

ยอมรับอดูรผล จะพะพ้องพะพานกาย

๏ ไป่เห็นกะเจ็บแสบ ชีวะแทบจะทำลาย

มอบสัตย์สมรรถหมาย มนะมั่นมิหวั่นไหว

๏ หวังการ ณ แผ่นดิน จะสดวกเพราะฉันใต

ให้กิจในฤทธิ์ไป บมิเลี่ยงฤเบี่ยงเบือน

๏ เหลือที่จะมีใคร ทมะในหทัยเหมีอน

กัดฟันบฟั่นเฟีอน สติอดสกดเอา

๏ พวกราชมัลล์โดย พละโบยมิใช่เบา

สุดหัตถะแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว

๏ ยลเนื้อก็เนื้อเต้น พิศะเส้นก็สั่นรัว

ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไป

๏ แลหลังก็หลั่งโล หิตโอ้เลอะลามไหล

พ่งผาดอนาถใจ ตละล้วนระรอยหวาย

๏ เนี่องนับอเนกแนว ระยะแถวตลอดลาย

เฆี่ยนครบสยบกาย ศิระพับพะกับคา

๏ ทั้งหลายสหายมิต ตะอมัจจะเสนา

ทัศน์เหตุทุเรศสา หศะแสนสลดใจ

๏ สุดที่จะกลั้นโท มนะโศกะอาลัย

ถ้วนหน้ามิว่าใคร ขณะเห็นบเว้นคน

๏ แก้ไขและได้คืน สติฟื้นประทังตน

จึ่งราชบุรุษกล ปกกรณ์ก็โกนหัว

๏ เสื่อมศีศะผมเผ้า พิศะเปล่าประจานตัว

เปนเยี่ยงประหยัดกลัว ผิมะลักจะหลาบจำ

๏ เสร็จอาชะญาทัณฑ์ กิจะพลันประกาศทำ

ปัพพาชนีย์กรรม ดุจะราชโองการ

๏ บรรดาประชาชน ขณะยลทิชาจารย์

สุดแสนจะสงสาร สรแซ่ประสาสันทน์

๏ บางคนกมลอ่อน อุระข้อนพิไรพรรณน์

บางเหล่าวิสัยอัน กุธะเกลียดก็เสียดสี

๏ บางพวกก็เปนกลาง ยละข้างพิจารณ์ดี

บางหมู่กะรุณมี ณหทัยก็ให้ของ

๏ พราหมณ์วัสสการเส กละเล่หะทำนอง

ท่าทางละอย่างผอง นระสิ้นบสงสัย

๏ ออกจากนครรา ชะคฤห์รีบจรัลไป

สู่เทศสถานไกล บุระรัฏฐัวัชชี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท