beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สังเวชนียสถาน (ไทย) ๔ : ตำบลตรัสรู้


อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประดิษฐานหินสัญลักษณ์รูปโพธิบัลลังก์ เป็นรูปสามเหลี่ยมทรงรี แกะสลักจากหินแกรนิต จำนวน 4 ก้อน รวมกัน

     สังเวชนียสถานตำบลต่อมา ที่ผมและคุณบอยไปเยี่ยมชมและนมัสการ คือ ตำบลตรัสรู้ครับ

 
 

   
   

เรามาชมภาพตำบลตรัสรู้กันก่อนนะครับ  เป็นภาพที่มองจากถนนที่รถของเราวิ่งผ่านครับ

   

ตำบลตรัสรู้

    มีพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประดิษฐานหินสัญลักษณ์รูปโพธิบัลลังก์ เป็นรูปสามเหลี่ยมทรงรี แกะสลักจากหินแกรนิต จำนวน 4 ก้อน รวมกัน ขนาดฐานช่วงล่างกว้าง 2.70 เมตร ยาว 3.40 เมตร สูง 1.20 เมตร ช่วงบนกว้าง 3.02 เมตร เส้นรอบวง ยาว 10 เมตร

    ช่วงบน แกะสลักนูนเป็นลายบัวคว่ำและบัวหงาย มีรัศมีล้อมรอบ ช่วงล่าง ซึ่งเป็นฐานปัทม์รองรับส่วนบนนั้น แกะสลักเป็นเส้นลวดท้องไม้ ช่างแกะสลักได้แกะสลัก "พระคาถา" แล้วลงรักปิดทองคำเปลว

   

ภาพสัญลักษณ์หิน (แกรนิต) ทำเป็นรูป
ดอกบัว มีคุณบอยเป็นนายแบบ
ภ่ายโดย beeman
คลิกชมภาพใหญ่

ภาพสัญลักษณ์หิน (แกรนิต) รูปดอกบัว
จะเห็นรอยต่อของหินในแนวดิ่ง
มี beeman เป็นนายแบบ
คลิกชมภาพใหญ่

   

ข้อมูลเพิ่มเติม

    ในวันที่พระองค์ตรัสรู้นั้น เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาส (หุงด้วยนม : Ambrosia) มาถวาย  เมื่อพระองค์เสวยเสร็จแล้ว ทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา แล้วทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า
    “ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ”
    ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลง ตรงนาคภพพิมาน แห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้าโดยหาความสงสัยมิได้

    ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนต้นโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย) ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
    1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
    2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องเกิด-ตาย ของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
    3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ ๔

    อาสวักขยญาณที่ทรงได้ ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และ "ปฏิจจสมุปบาท" อันเป็นต้นทางให้เข้าถึงอริยสัจ 4 เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     
สังเวชนียสถาน ๑  สังเวชนียสถาน ๒  สังเวชนียสถาน ๓
สังเวชนียสถาน ๔ สังเวชนียสถาน ๕  
     

ที่มา : http://thaispecial.com/budhamonthon/budhamonthon3.htm

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.learntripitaka.com/History/Buddhist.html

 

หมายเลขบันทึก: 28352เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เหมือนได้ทบทวนพุทธประวัติครับ
  • สนใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท  อธิบายหน่อยสิครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เข้าไปอ่านแล้วครับ น่าสนใจมาก
  • พบของคุณหมอประเวศในหนังสือด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท