ความสำเร็จการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือ
โดย
ดร.พวงเพ็ญ
ชั้นประเสริฐ
เป็นเรื่องเล่าจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายส่งเสริมสุขภาพครั้งที่
2 ในวันที่ 22 มีนาคม 2549 เวลา 13.30
– 16.00 น. ณ ห้องประชุมกลุ่มอนามัยวัยทำงาน
สำนักส่งเสริมสุขภาพ ชั้น 5
มีเนื้อหาพอสังเขปดังนี้
จากการไปติดตามงานเรื่องเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านมา
จะพบว่าการดำเนินงานของแต่ละภาคไม่เหมือนกันภาคที่มีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง
คือ ภาคเหนือ การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ
จะมีสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยเป็นหลัก
และแต่ละภาคจะมีประธานสาขาสภาผู้สูงอายุ ภาค
, จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการบำนาญ
มีการทำงานที่เข้มแข็งมาก มีการสร้างระบบช่วยเหลือกัน
เช่น ชมรมพี่ดูแลชมรมน้อง
มีการมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน
มีกิจกรรมที่สร้างรายได้ เข้ากลุ่ม เช่น
ทำดอกไม้จันทน์ขาย จึงทำให้ไม่ต้องเก็บเงิน
ค่าสมาชิก
มีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
และส่งเสริมให้มีชมรมผู้สูงอายุในทุกหมู่บ้าน ในเขตภาคเหนือ
การตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านจะอยู่กันเป็นกลุ่ม
ทำให้การรวมตัวกันทำกิจกรรมทำได้ง่ายสถานที่ทำกิจกรรมส่วนมากจะใช้พื้นที่ของวัด
การดำเนินงานจะให้ชมรมที่เข้มแข็งแล้วเป็นพี่เลี้ยงให้ชมรมที่ตั้งใหม่ สภาชมรมผู้สูงอายุจะประสานของบประมาณสนับสนุนจาก
สสส. มาให้ชมรมในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม
โดยมีเงื่อนไขว่าชมรมผู้สูงอายุที่จะของบฯ
สนับสนุนจากสภาผู้สูงอายุจะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้สูงอายุ ทำให้
จังหวัดเชียงใหม่มีชมรมผู้สูงอายุจำนวนมากปัจจุบัน
มีชมรมผู้สูงอายุประมาณ 1,400 แห่ง
ปัจจัยความสำเร็จ
1. การมีส่วนร่วมกับเครือข่ายในการทำกิจกรรม
2. มีเครือข่ายครอบคลุมและมีกิจกรรมต่อเนื่อง
3. ประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่ดีเป็นพื้นฐาน
4. การบริหารเครือข่ายมีรูปธรรมที่ชัดเจน
5.
การสนับสนุนภายในระบบเครือข่ายและประสาน
ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง
กองทันตสาธารณสุขก็ได้ไปเสวนากลุ่มกับผู้สูงอายุ เหมือนกัน เมื่อประมาณเดือน มีค.49 กลุ่มที่มาคุยด้วยก็คือ อ.สันทราย และ อ.สารภี เชียงใหม่ และ กลุ่มของจังหวัดลำปาง ทางเชียงใหม่เขาค่อนข้างจะเข้ากลุ่มกันทำบุญ ฟังธรรม นั่งสมาธิ ก็มีการออกกำลังกาย การส่งเสริมอาชีพด้านต่างๆ รวมทั้งตรวจสุขภาพผู้สูงอายุด้วย ซึ่งทันตฯ เราทำโครงการเรื่องส่งเสริมสุขภาพช่องปากค่ะ เรากำลังจะไปตามดูอีกครั้งว่า ชมรมผู้สูงอายุจะทำกิจกรรมอะไรบ้างในเรื่องของสุขภาพช่องปาก คาดว่าประมาณเดือน มิย. นี้ละค่ะ
ที่น่าชื่นชมก็คือ บรรยากาศของทางภาคเหนือ มีท่านผู้เฒ่าผู้แก่ ทั้งหลายที่รู้สึกว่า ท่านอารมณ์ดี คุยสนุก ... และผู้ที่เป็นผู้นำท้องถิ่น (ประธานชมรมผู้สูงอายุ) ของ อ.สันทราย มีท่านหนึ่งที่ได้รับเลือกก็เพราะว่า ท่านมีอัธยาศัยดีมาก ทั้งๆ ที่ท่านก็ไม่ได้จบการศึกษาสูงแต่อย่างใด แต่ท่านเป็นคนที่เอาใจใส่คนอื่นจริงๆ รู้จักคนไปหมด จนคนส่วนใหญ่บอกว่า ถ้าท่านไม่เป็นก็จะไม่เข้าชมรมละค่ะ
ความสำเร็จของการดำเนินการผู้สูงอายุในภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเพราะผู้บริหารในระดับจังหวัดให้ความสำคัญ มีการประสานเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดบุคคลสำคัญหรือเป็นที่เคารพนับถือเข้ามามีส่วนผลักดันให้การดูแลผู้สูงอายุประสบผลสำเร็จ มีการทำงานครอบคลุมทั้งจังหวัด ทุกๆปีจะมีการจัดประชุมเวทีผู้สูงอายุเป็นงานใหญ่ ที่หอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีผู้สูงอายุจากพื้นที่ต่างๆในจังหวัดเหมารถมาพบกันในวันนั้นเต็มหอประชุมใหญ่ กะคร่าวๆคงไม่ตำกว่า 4หรือ 5 พันคน มีกิจกรรมของผู้สูงอายุต่างๆ
ความสำเร็จนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลงานของศูนย์อนามัยที่ 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยนายแพทย์ชัย กฤติยานุรักษ์เป็นผู้อำนวยการศูนย์เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ท่านให้ความสำคัญและเป็นหนึ่งในแกนการริเริ่มงานผู้สูงอายุนี้
อีกท่านหนึ่งที่อยู่ในระดับพื้นที่ที่คลุกคลีกับประชาชนและดำเนินงานในชุมชนอย่างได้ผลคือ นายแพทย์ไกร ดาบธรรม ท่านได้ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ พัฒนาการดำเนินงานดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ กลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยตนเองไม่ได้ จะมีเครือข่ายผู้สุงอายุออกไปติดตามเยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือ มีการสร้างงานให้กับผู้สูงอายุโดยการที่โรงพยาบาลรับซื้อผลิตภัณฑ์ผักปลอดสารพิษและข้าวซ้อมมือจากชมรมผู้สูงอายุทั้งหมด
ได้ข่าวว่าสำนักส่งเสริมไปทำKM.กับกลุ่มวัยต่างๆอีกหลายกลุ่ม ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยนะค่ะ