บทคัดย่องานวิจัยด้านสาธารณสุข


การทบทวนงานวิจัย เรื่อง ความล่าช้าในการรักษาวัณโรคปอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ปี 2530 ถึง 2550

นงลักษณ์  เทศนา  พ.บ.* 

อารี  บุตรสอน  ศศ.ม.**

*สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

* *นักศึกษาปริญญาเอก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ:

ผลการศึกษา : การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้าในการค้นหา และรักษาวัณโรคปอด วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนเกี่ยวกับระยะเวลา ความล่าช้าของผู้ป่วย (Patient’s delay)  ความล่าช้าของระบบสาธารณสุข( Health system’s delay) และความล่าช้าโดยรวม ( Total delay) รวมทั้งทบทวนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในความล่าช้าแต่ละชนิด โดยการค้นคว้าผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ฐานข้อมูล Sciencedirect.com, Pubmed.com, Google scholar, Cochrane Library, and Scopus.com ช่วง ค.ศ.1978- 2007 ได้วรรณกรรมที่คัดเลือกมาทบทวนจำนวน 39 เรื่อง ผลการทบทวนพบว่า มัธยฐานของระยะเวลาความล่าช้าของผู้ป่วย 24.5 วัน ความล่าช้าของระบบสาธารณสุข 26.5 วัน และความล่าช้าโดยรวม 62 วัน ระยะเวลาความล่าช้าในผู้ป่วยที่สั้นที่สุด 0.3 สัปดาห์ จากการศึกษาที่ประเทศแกมเบีย และยาวที่สุดที่ประเทศแทนซาเนีย 120 วัน ส่วนความล่าช้าของระบบสาธารณสุขสั้นที่สุดเป็นเวลา 2 วัน จากการศึกษาที่ประเทศจีน ยาวที่สุด 75 วัน จากการศึกษาที่ประเทศอิหร่าน  ความล่าช้าทั้งหมดสั้นที่สุดคือ 19 วัน จากประเทศเอสโตเนียยาวที่สุดจากประเทศแทนซาเนีย 136 วัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้าทั้งหมดคือ พฤติกรรมแสวงหาการรักษาจากหมอพื้นเมือง ร้านขายยา คลินิกพื้นบ้าน คลินิกแพทย์เอกชน จำนวนครั้งของการแสวงหาบริการ 26 ครั้ง ระยะทางไกล (โดยการเดินเท้านานกว่า 30 นาที) ความไม่แน่ใจว่าจะไปรักษาที่ไหน ความกังวลว่าจะต้องจ่ายค่ารักษาแพง การรอคอยนาน คิวนัดยาว กลัวจะถูกจับได้จากการตรวจคนเข้าเมือง ตกงาน ในส่วนปัจจัยเสี่ยงด้านข้อมูลพื้นฐานประชากร คือ อายุมาก เพศหญิง การศึกษาต่ำ สูบบุหรี่ ศาสนา ประวัติการรักษาโรคติดต่อจากเพศสัมพันธ์ ภายใน 3 ปี สุขอนามัยส่วนตนไม่ดี ความเชื่อเรื่องการรักษาด้วยตนเองและตราบาป ส่วนอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้า คืออาการไอ ไม่มีเสมหะปนเลือดและน้ำหนักลดปัจจัยในด้านขั้นตอนการวินิจฉัย ที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้า คือผลเสมหะไม่พบเชื้อ หรือพบเชื้อน้อย ไม่มีผลภาพถ่ายรังสีปอด และไม่มีแผลโพรงในภาพถ่ายรังสีปอด การศึกษาทั้งหมดที่นำมาทบทวนได้แนะนำกลวิธีเพื่อลดความล่าช้าในการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคปอด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการค้นหาวัณโรคให้ได้ร้อยละ 70 โดยการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนัก ถึงความรุนแรงของวัณโรค การให้บริการค้นหาและรักษาฟรีและเข้าถึงกลุ่มที่ด้อยโอกาส  การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทาง การแพทย์  การพัฒนาระบบส่งต่อ และการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 

หมายเลขบันทึก: 282694เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีครับ

แต่เนื้อหาควรมากกว่านี้หน่อย

รายละเอียดน้อยจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท