บทสรุปงานวิจัย


การใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการสังเกต การจำแนก และการสื่อความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

               วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ  เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนผลผลิตต่างๆที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงานล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ  ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมากในทางกลับกันเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ในส่วนของการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ระบุให้สถานศึกษาดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวดังกล่าวจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอนทั้งของครูและนักเรียนกล่าวคือ  ลดบทบาทของครูผู้สอนจากการเป็นผู้บอกเล่า บรรยาย สาธิต  เป็นการวางแผนจัดกิจกรรมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้กิจกรรมต่างๆจะต้องเน้นที่บทบาทของนักเรียนตั้งแต่เริ่มคือร่วมวางแผนการเรียนการวัดผลการประเมินผลและต้องคำนึงว่ากิจกรรมการเรียนนั้นเน้นการพัฒนากระบวนการคิด  วางแผน  ลงมือปฏิบัติ  ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆจากแหล่งเรียนรู้หลากหลาย  ตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล  การแก้ปัญหา  การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  การสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่สืบค้นได้เพื่อนำไปสู่คำตอบของปัญหาหรือคำถามต่างๆ   ในที่สุดการสร้างองค์ความรู้ทั้งนี้กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวต้องพัฒนานักเรียนให้เจริญทั้งร่างกาย  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา                                 การจัดการเรียนการสอนวิธีการใดที่จะทำให้นักเรียนเข้าใจง่ายและทำได้ เรียนแล้วอยากเรียน อาจทดลองรูปแบบและมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้เรียน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1,  2549) จากการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และต้องจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยได้พบปัญหาที่เกี่ยวกับความสามารถในการวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาซึ่งเป็นเรื่องที่จัดการเรียนการสอนค่อนข้างยาก  ผู้วิจัยจึงได้ศึกษา ค้นคว้าและพบว่าวิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้ได้ผล โดยการให้นักเรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติในชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมายมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2549  ปีการศึกษา 2550และได้ปรับปรุงพัฒนาจนถึงปีการศึกษา 2551 ซึ่งผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น  โดยต้องการให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการใช้ชุดฝึกด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในด้านการสังเกต  ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมายต่อผู้เรียน ผลจากการศึกษาครั้งนี้จะสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและความสามารถพื้นฐานในการศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

               1. เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาความสามารถในการสังเกต   การจำแนก  และการสื่อความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1     โรงเรียนคลองห้า  อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

               2.  เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดฝึกด้านทักษะความสามารถทางด้านการสังเกต  การจำแนก  และการสื่อความหมาย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนคลองห้า   อำเภอคลองหลวง   จังหวัดปทุมธานี

               3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วิธีดำเนินการวิจัย

            ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 1   ปีการศึกษา  2551   โรงเรียนคลองห้า  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1  ห้องเรียน รวมนักเรียนจำนวน  33 คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย        เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยการพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ประกอบด้วย

               1.  ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้แก่ทักษะการสังเกต ทักษะ

การจำแนก และทักษะการสื่อความหมาย

               2.  แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมาย

               3.  แผนการจัดการสอนที่มีชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

               4.แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน

            การเก็บรวบรวมข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้สอนได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

               1. ทดสอบนักเรียนก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมาย

               2. จัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้แก่ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมายเป็นเวลา 24 ชั่วโมง            ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551

   3. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างที่นักเรียนฝึกปฏิบัติชุดฝึกทักษะกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้แก่ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมาย

   4. ประเมินผลการเรียนหลังจากใช้แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก

 และทักษะการสื่อความหมายในแต่ละชุดฝึก

               5. นำผลที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน  ก่อน ระหว่าง และหลังการใช้ชุดฝึกมาวิเคราะห์ตามขั้นตอนทางสถิติ

            การวิเคราะห์ข้อมูล

                   1. หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมาย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 โดย

                    1.1      หาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งกลุ่มที่ทำชุดฝึกระหว่างเรียนได้ถูกต้อง หลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมาย เพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80 ตัวแรก

                     1.2     หาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งกลุ่มที่ทำชุดฝึกหลังเรียนได้ถูกต้อง หลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อความหมาย เพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80 ตัวหลัง 

                   2.   วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนซึ่งเป็นแบบสอบถามปลายเปิด โดยการวิเคราะห์ความถี่และร้อยละ

ผลการวิจัย

  • 1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็น 94.46 / 86.76

เมื่อเทียบกับเกณฑ์ คือ 80/80 อยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

  • 2. ผลการใช้ชุดฝึกด้านทักษะความสามารถทางด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อ

ความหมายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนคลองห้า   อำเภอคลองหลวง   จังหวัดปทุมธานี ผลปรากฏว่า                                     

                   2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองห้าคะแนนหลังการใช้ชุดฝึกทักษะฯมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกโดยหลังการใช้ชุดฝึกมีคะแนนเฉลี่ย  26.09 คะแนนโดยที่เฉลี่ยก่อนการใช้ชุดฝึก 11.78

2.2 คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต

พืชในท้องถิ่นและสัตว์ในท้องถิ่น ก่อนการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 4.00 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 40 ของคะแนนเต็ม    คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบวัดทักษะการสังเกตหลังการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 9.21 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 92.21  นักเรียนจำนวน 33 คน มีคะแนนทำแบบทดสอบวัดทักษะการสังเกตสูงขึ้น 31 คน

  • 2.3 คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต

พืชในท้องถิ่นและสัตว์ในท้องถิ่น ก่อนการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 4.15 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 40.15ของคะแนนเต็ม    คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบวัดทักษะการจำแนกหลังการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 8.60 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 86.00  นักเรียนจำนวน 33 คนมีคะแนนทำแบบทดสอบวัดทักษะการจำแนกสูงขึ้นทุกคน

  • 2.4 คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหมาย เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับ

สิ่งไม่มีชีวิต  พืชในท้องถิ่นและสัตว์ในท้องถิ่น ก่อนการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 3.63 คะแนนคิดเป็น ร้อยละ 36.30 ของคะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหายหลังการใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 8.27 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 82.70  นักเรียนจำนวน 33 คน มีคะแนนทำแบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหมายสูงขึ้นทุกคน

  • 3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ ทำการศึกษาจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากขึ้นไป

 

 

 

ข้อเสนอแนะ

               1. ก่อนที่จะให้นักเรียนได้ทำชุดฝึก ครูควรเตรียมการสอน เอกสาร อุปกรณ์ต่าง ๆ        ให้พร้อมและทำความเข้าใจ โดยชี้แจงทำความเข้าใจ แนะนำนักเรียนให้มีความรู้  ทักษะพื้นฐานในการสังเกต การจำแนก และการสื่อความหมาย

               2. ควรมีการนำเอาผลงานของนักเรียนที่ได้จากการทำชุดฝึกมาติดที่ป้ายนิเทศโดยติดผลงานของนักเรียนทุกคนเพื่อให้นักเรียนได้เปรียบเทียบผลงานของตนเอง

               3. ควรเน้นหรือเพิ่มทักษะการอ่าน การเขียนสื่อความ โดยพัฒนาการเขียนข้อความสั้น ๆ ได้

 

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.  (2544).  คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้

            วิทยาศาสตร์.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). 

ชัยยันต์  ปาริยพันธ์.  (2535).  ผลการสอนโดยเน้นกระบวนการที่สอดแทรกกิจกรรมฝึกทักษะ

            กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทาง

            วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.  วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

               (ศึกษาศาสตร์-การสอน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ผุสดี  ตามไท.  (2527).  การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์  กลุ่มสร้างเสริม
            ประสบการณ์ชีวิตระดับประถมศึกษา
.  ข่าวสาร สสวท. 12 (เมษายน- มิถุนายน 2527) หน้า 30.

เรียม  เทศสบาย.  (2538). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อ

            ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม และความสามารถในการ

            แก้ปัญหาเชิง  วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพนมดงรักวิทยา.

               วิทยานิพนธ์  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์-การสอน) บัณฑิตวิทยาลัย   

               มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุ่งระวี    ศิริกิตติศัพท์.  (2549).   ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการ

            สังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย.  วิทยานิพนธ์ คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณทิพา  รอดแรงค้า  และคณะ.  (2548).   สาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.1.  กรุงเทพฯ :

               สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

หมายเลขบันทึก: 281771เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท