หลักสูตรการเรียนรู้เรื่องไข้เลือดออกสำหรับนักเรียน ( 2 )


หลักสูตรไข้เลือดออก

บทที่ 3 การกำจัดยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยวิธีต่าง ๆ

สาระสำคัญ          

                การจะป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ได้ผล ประการสำคัญคือต้องกำจัดยุงลายไม่ให้มีปริมาณมากหรือต้องไม่พบลูกน้ำยุงภายในบ้านเรือนแม้แต่ตัวเดียว ส่วนการกำจัดยุงลายนั้นมีหลายวิธีทั้งวิธีที่ใช้สำหรับกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย, วิธีกำจัดตัวอ่อนของยุงลาย ( ลูกน้ำ ) รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ยุงลายมีโอกาสวางไข่แพร่พันธุ์ในบริเวณที่พักอาศัย

จุดประสงค์

1.       บอกวิธีการต่าง ๆ ในการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยได้

2.       บอกวิธีการต่าง ๆ ในการกำจัดลูกน้ำยุงได้

3.       บอกวิธีการต่าง ๆ ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงหรือการป้องกันยุงวางไข่ในภาชนะ

4.       ตัดสินใจใช้วิธีการที่เหมาะสมในการกำจัดลูกน้ำยุงภายในบ้านเรือนได้

5.       ตัดสินใจใช้วิธีการที่เหมาะสมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงหรือวิธีการป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้

เวลา ( นาที )

สื่อ

1. ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ( Participatory Learning )โดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ( Experiential Learning ) ซึ่งใช้การบวนการกลุ่ม ( Group process )

  1.1 ผู้สอนบรรยายเรื่องการกำจัดยุงด้วยวิธีการต่าง ๆ

1.2    ผู้สอนสอบถามประสบการณ์ที่นักเรียนเคยรู้และเคยใช้วิธีการกำจัดยุงหรือกำจัดลูกน้ำแบบต่าง ๆ 

1.3    ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 - 5 คน ปฏิบัติกิจกรรมตามใบงาน

1.4    ผู้สอนให้กลุ่มทั้งหมดอภิปรายหน้าชั้นเรียน

1.5    ผู้สอนร่วมกับผู้เรียนสรุปความคิดเห็น และผู้สอนเพิ่มเติมความรู้ตามหัวข้อเรื่องที่อภิปราย

 

 

 

10

 

5

 

10

10

 

10

 

 

 

- อุปกรณ์และสารเคมีกำจัดยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ผงซักฟอก เกลือแกง ทรายทีมีฟอส เครื่องพ่นหมอกควัน

- ใบงานที่ 1 - 2

 

 

การประเมินผล

6.       สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มและการรายงาน

7.       ตรวจผลงาน

 

ใบงานที่ 1

ประสบการณ์ในการกำจัดยุงและลูกน้ำยุง

คำชี้แจง                 ให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.       เข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน

2.       เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม

3.       ร่วมอภิปราย บันทึกผลการอภิปรายตามประเด็นต่อไปนี้

3.1    วิธีการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย

3.2    วิธีการกำจัดลูกน้ำยุง

4.       ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลอภิปรายกลุ่ม

 

ใบงานที่ 2

วิธีการกำจัดลูกน้ำในบ้านเรือน

คำชี้แจง                 ให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.       เข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน

2.       เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม

3.       ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์จากที่บ้าน ดังนี้

3.1    ขวดชนิดใสใส่น้ำและตักลูกน้ำใส่ไว้ 5  ตัว จำนวน 2 ขวด

4.       ใส่ทรายทีมีฟอส ( ทรายอะเบท ) ในขวดที่ 1 และใส่ปลาหางนกยูงจำนวน 1 – 2 ตัวลงในขวดที่ 2

5.       สังเกตความเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล

6.       ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการสังเกต

 

บทที่ 4 การฝึกปฏิบัติการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชน

สาระสำคัญ          

                การจะป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ได้ผล ประการสำคัญคือต้องกำจัดยุงลายไม่ให้มีปริมาณมากหรือต้องไม่พบลูกน้ำยุงภายในบ้านเรือนแม้แต่ตัวเดียว ส่วนการกำจัดยุงลายนั้นมีหลายวิธีทั้งวิธีที่ใช้สำหรับกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย, วิธีกำจัดตัวอ่อนของยุงลาย ( ลูกน้ำ ) รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ยุงลายมีโอกาสวางไข่แพร่พันธุ์ในบริเวณที่พักอาศัย วิธีที่นับว่าเป็นการป้องกันและกำจัดปัญหาที่ต้นตอคือลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้น้อยที่สุดและกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นภาชนะไม่ใช้ประโยชน์และมีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กะลามะพร้าว ขยะถุงพลาสติก เป็นต้น

จุดประสงค์

1.       สามารถปฏิบัติการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงโดยวิธีที่เหมาะสมในบ้านเรือนได้

2.       สามารถสำรวจและบันทึกค่าความชุกลูกน้ำยุงได้

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้

เวลา ( นาที )

สื่อ

1. ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ( Participatory Learning )โดยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ( Experiential Learning ) ซึ่งใช้การบวนการกลุ่ม ( Group process )

  1.1 ผู้สอนบรรยายเรื่องการสำรวจและกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงด้วยวิธีการต่าง ๆ

1.2    ผู้สอนสอบถามประสบการณ์ที่นักเรียนเคยรู้และเคยใช้วิธีการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงแบบต่าง ๆ  

1.3    ผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 - 5 คน ปฏิบัติกิจกรรมตามใบงาน

1.4    ผู้สอนให้กลุ่มทั้งหมดอภิปรายหน้าชั้นเรียน

1.5    ผู้สอนร่วมกับผู้เรียนสรุปความคิดเห็น และผู้สอนเพิ่มเติมความรู้ตามหัวข้อเรื่องที่อภิปราย

 

 

 

10

 

5

 

 

20

10

 

10

 

 

 

- แบบสำรวจค่าความชุกลูกน้ำ

 

 

 

- ใบงานที่ 1

 

 

การประเมินผล

1.       สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มและการรายงาน

2. ตรวจผลงาน

 

 

ใบงานที่ 1

วิธีการสำรวจค่าความชุกลูกน้ำยุงและการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

 

คำชี้แจง                 ให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.       เข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน

2.       เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม

3.       เดินสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านเรือนและชุมชนพร้อมทั้งบันทึกผลการสำรวจลงในแบบสำรวจ

4.       กำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเมื่อพบแหล่งเพาะพันธุ์

5.       ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการดำเนินงาน

 

หมายเลขบันทึก: 281281เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาดูบ้าน...และแวะมาบอกว่ากลับไปเยี่ยมโรงเรียนแล้วหรือยัง...ไปเที่ยวนี้ต้องหลบๆหน่อยนะคะหน้าโรงเรียนรถเพียบ

สวัสดีค่ะน้องซูเปอร์แมน

งานยุ่งหลายหรือคะ แวะมาเยี่ยมบ้าน เอาจักรยานไปปั่น

ปล่อยมือ ปล่อยใจ สบายๆ ฟังเพลงนี้ มีความสุขมากๆ นะคะ

...

....  กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง นอนกางมุ้ง ไข้เลือดออกไม่กล้ายุ่ง ...

มีความสุขกับการงาน เสมอ เช่นเคย ... จ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท