โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

การตรวจขั้นที่ 5 วิชาผู้กำกับลูกเสือ »»» ครูสุภาภรณ์


การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ

        การตรวจขั้นที่ 5 

ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล

การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ

 

         วันที่  16  กรกฎาคม  2552  คณะครูโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)   รับการตรวจขั้นที่ 5            ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล   การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ   ผลการประเมินผ่านทุกท่านค่ะ 

ต้องขอแสดงความยินดีด้วย  (ซึ่งก่อนหน้านั้นคณะครู ท. 4 เราได้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับ

ลูกเสือสามัญ  ขั้นความรู้ชั้นสูง  เมื่อวันที่  10-16  ตุลาคม  2551 ณ ค่ายลูกเสือซับประดู่  

จ.นครราชสีมา) 

 ภาพบรรยากาศการฝึกอบรม  เมื่อ  10-16 ตุลาคม  2551

 

การตรวจขั้นที่ 5 

ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล  การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ

 16  กรกฎาคม  2552

คำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง

 

ข้าสัญญาว่า

ข้อ ๑   ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ข้อ ๒   ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง และบำเพ็ญประโยชน์

          ต่อผู้อื่นทุกวัน

 

กฎของลูกเสือสำรอง

 

ข้อ ๑    ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่

ข้อ ๒   ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง

 

คำปฏิญาณของลูกเสือสามัญ

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ

 

ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า

ข้อ      ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ข้อ      ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ

ข้อ      ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

 

กฎของลูกเสือสามัญ

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ

 

ข้อ      ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้

ข้อ      ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรง

            ต่อผู้มีพระคุณ

ข้อ      ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น

ข้อ      ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคน และเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่ทั่วโลก

ข้อ      ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย

ข้อ      ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์

ข้อ      ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ

ข้อ     ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

ข้อ      ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์

ข้อ ๑๐   ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

 

วันลูกเสือแห่งชาติ
๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๔
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย

๏ ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ
ขอน้อมนบบาทบงสุ์พระทรงศรี
พระบาทมงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี
ทรงปรานีก่อเกื้อลูกเสือมา

๏ ทรงอุตส่าห์อบรมบ่มนิสัย
ให้มีใจรักชาติศาสนา
ทรงสั่งสอนสรรพกิจวิทยา
เป็นอาภาผ่องพุทธิ์วุฒิไกร

๏ ดังดวงจันทราทิตย์ประสิทธิ์แสง
กระจ่างแจ้งแจ่มภพสบสมัย
พระคุณนี้จะสถิตสนิทใน
ดวงหทัยทวยราษฎร์ไม่คลาดเอย

*** ราชสดุดี : เพลงลูกเสือ.

• ประวัติลูกเสือโลก
ลูกเสือมาจากคำว่า SCOUT ซึ่งมีความหมายดังนี้
- S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
- C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
- O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
- U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี

- T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

          ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) ชาวอังกฤษ                          ( เกิด ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๐ ) ในวัยเด็กชอบท่องเที่ยวพักแรม จึงรักธรรมชาติ ชอบร้องเพลง และมีความรู้ในการใช้แผนที่เป็นอย่างดี เมื่ออายุ ๑๙ ปี ได้รับราชการทหารเป็นร้อยตรี ไปประจำการ ณ ประเทศอินเดียและแอฟริกา ท่านเป็นทหาร มีเงินเดือนน้อยนัก จึงรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เข้มแข็งและอดทน

         หลังจากปลดประจำการแล้ว ได้นำประสบการณ์ตอนเป็นทหาร เช่น การฝึกสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าว และเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ มาพัฒนาแนวคิดเป็นขบวนการลูกเสือ โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ท่านได้รวบรวมเด็ก ๒๐ คน ให้ไปอยู่กับท่านที่เกาะบราวน์ซี ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการพักแรมครั้งแรกของลูกเสือ และต่อมาได้มีการก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นอย่างจริงจัง

        ท่านลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ( บี.พี. ) ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่เคนยา แอฟริกา ในช่วงอายุ ๘๐ ปี และถึงแก่กรรม เมื่อ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่เคนยา แอฟริกานั้นเอง

• ประวัติลูกเสือไทย
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   รัชกาลที่ ๖   ทรงมี   พระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นก่อน เมื่อวันที่  ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยฝีกอบรมพวกผู้ใหญ่ เช่นข้าราชการพลเรือน ให้เรียนรู้วิชาการด้านทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองในยามมีศึกสงคราม และเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนในยามสงบ เช่น  ช่วยปราบปรามโจรผู้ร้ายเป็นต้น

         จากนั้นอีกสองเดือนต่อมา คือ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย นับเป็นประเทศที่ ๓ ของโลก ที่จัดตั้งกอง

ลูกเสือขึ้น ต่อจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยมีพระราชประสงค์ปลูกฝังให้เยาวชน รักชาติบ้านเมือง รักความสามัคคี มีความมานะอดทน และเสียสละเพื่อส่วนรวม

ค.ศ. 1907 - มีการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือเป็นครั้งแรก ที่เกาะบราวซี

ค.ศ. 1908 - หนังสือ Scoutting for Boys ตีพิมพ์ และเริ่มกำเนิดกองลูกเสือขึ้นในหลายประเทศ

ค.ศ. 1909 - จัดตั้งสำนักงานลูกเสืออังกฤษ และมีการชุมนุมลูกเสืออังกฤษเป็นครั้งแรก

ค.ศ. 1910 - จัดตั้งกองลูกเสือหญิง (Birl Guide) โดยมีแอกนีส น้องสาวของ บี.พี.

เป็นหัวหน้า

ค.ศ. 1911 - จัดตั้งกองลูกเสือสมุทร

ค.ศ. 1912 - บี.พี. เดินทางไปเยี่ยมลูกเสือในประเทศต่าง ๆ รอบโลก

ค.ศ. 1914 - เกิดสงครามโลกครั้งแรก บี.พี. มอบลูกเสือให้ทำหน้าที่ช่วยทหาร เช่น รักษาสะพาน และสายโทรศัพท์ ทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว ช่วยงานในโรงพยาบาล

ค.ศ. 1916 - จัดตั้งกองลูกเสือสำรอง

ค.ศ. 1918 - จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout)

ค.ศ. 1919 - ตั้งกิลเวลล์ปาร์ด (Gilwell Park) และเริ่มดำเนินการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นวูดแบดจ์

ค.ศ. 1920 - มีการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ บี.พี.

ได้รับเลือกให้เป็นประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World)

ค.ศ. 1922 - บี.พี. เขียนหนังสือ "Rovering to Success" หรือ "การท่องเที่ยวสู่ความสำเร็จ" ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับลูกเสือวิสามัญ

ค.ศ. 1926 - จัดตั้งกองลูกเสือพิการ

ค.ศ. 1937 - บี.พี. ได้รับพระราชธานบรรดาศักดิ์เป็น Lord Baden Powell of Gilwell

ค.ศ. 1941 - บี.พี. ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.scoutthailand.org/main/show_pagein.php?auto_id=13&TopicPk=19

 

http://www.geocities.com/lekpage/scout.htm

 

http://www.tcc-roverden.com/History/index.php

 

 

                                         

หมายเลขบันทึก: 281128เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 01:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของครูเทศบาล 4 (เพาะชำ) ทุกคนค่ะ ที่ได้รับการตรวจขั้นที่ 5 วิชาผู้กำกับลูกเสือ ในครั้งนี้ ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รับความรู้และสามารถนำมาสอนลูก ๆ ของเราให้เป็นลูกเสือที่สำบูรณ์แบบค่ะ

ต้องบอกว่าเยี่ยมมากครับ ต่อไปโรงเรียนของเราจะมีผู้กำกับลูกเสือที่มีความสามารถสูง และเชื่อมั่นว่ากิจการลูกเสือโรงเรียนของเราจะเยี่ยมยอด นักเรียนมีวินัย รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นพลเมืองที่ดีอย่างแน่นอน ขอแสดงความยินดีกับผู้กำกับที่สอบผ่านทุกคนครับ

ผอ.ศักดิ์เดช

ขอแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้นะครับ ปีหน้าเข้าค่าย อย่าไปจ้างค่ายเอกชยเขาจัดให้นะครับ เพราะเป็นหน้าที่เรา ครูลูกเสือ แต่ที่สังเกตดูภาพการตั้งขบวนสวนสนามผิดนะครับ แถบโคราชรู้สึกว่าเป็นแบบนี้เกือบทั้งหมด ไม่ทราบใครเป็น ผอ.ฝึก หรือรับผิดชอบวิชานี้ครับ เห็นแล้วผิดรูปแถวขบวนสวนสนามที่เขากำหนดไว้นะครับ (ภาพการตรวจขั้นที่ 5 ภาพที่ 1 ขบวนสวนสนาม) (มิน่าครับ ครูชำนาญการพิเศษ ลูกเสือถึงได้ตกกันมาก) เขาเรียงจาก ผู้ถือป้าย ผู้ถือธง ผู้กำกับ รองผู้กำกับ แล้วก็ลูกเสือ ครับ ห่างกัน 5 - 5 - 5 - 3 ก้าวครับ (พึ่งเข้ามาเห็นครับขออภัย)

หากมีปัญหาอะไรสงสัยสอบถาม หรือจะขอเอกสาร ซีดี เกี่ยวกับระเบียบแถว หรือลูกเสือ ก็ยินดีจัดให้นะครับ ในฐานนะที่เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือด้วยกัน เท่าที่พอจะบริการกันได้ (ฟรีครับ)

จาก ผอ. ไชยา วิญญาสุข L.T. (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ลูกเสือจังหวัดมหาสารคาม)

โทร. 0896231925

เยี่ยมมากค๊ ดูทกคนมีความสุข คิดถึงครูวันเพ็ญนะค๊ะ  ♥♥♥♥♥

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท