บ้านเพลงอีแซวในโรงเรียน ตอนที่ 4 จุดรวมพลังคนรุ่นใหม่


บ้านเพลงอีแซวในโรงเรียนเป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ การศึกษาและเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและเป็นที่รวมพลังของคนรักเพลงพื้นบ้าน ได้มาเยี่ยมชม มาเรียนรู้ มาฝึกหัดเพลงอีแซว เพลงฉ่อย ลำตัด เพลงแหล่ และเรียนรู้พิธีทำขวัญนาคของคนรุ่นใหม่

บ้านเพลงอีแซวในโรงเรียน

ตอนที่ 4  จุดรวมพลังคนรุ่นใหม่

โดย ชำเลือง มณีวงษ์

 

แต่สำหรับวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี  ไม่ว่าในอนาคตข้างหน้า นักเรียนเหล่านี้จะไปทำงานหรือดำเนินชีวิตอยู่ที่ไหน แต่เพลงพื้นบ้าน-เพลงอีแซวจะยังคงติดตามตัวเขาไปในทุกหนทุกแห่งจนลมหายใจสุดท้าย เพราะจนถึงวันนี้นักเพลงรุ่นเก่าที่จบการศึกษาไปแล้วยังวนเวียนมาช่วยงานวงเพลงอยู่เสมอ

บ้านเพลงอีแซวในโรงเรียน เป็นสถานที่ต้อนรับผู้มาเยือน จากสถานศึกษาในระดับต่าง ๆ  จากโรงเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา นิสิต นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ครู อาจารย์จากโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดมาศึกษาดูงาน จนถึงมาฝึกปฏิบัติเพลงพื้นบ้านเท่าที่จำได้ก็มี

-      คณะนักเรียนชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนวัดสระศรีเจริญ

-      คณะนักเรียนชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนหนองขุม

-      คณะผู้ดำเนินงานอนุรักษ์สืบสานเพลงอีแซวบางปลาหมอ อ.เมืองสุพรรณฯ

-      คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มาฝึกแสดงลำตัด

-      คณะนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุพรรณบุรี

-      คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสุวรรณภูมิ

-      คณะนักศึกษา ปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

-      คณะนักศึกษา นิสิตนิเทศศาสตร์ (จำนวน 5 คน) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-      คณะนักศึกษา เอกสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

-      คณะนักแสดงชมรมอนุรักษ์เพลงอีแซว บ้านดอนกำยาน อ.เมืองสุพรรณฯ

-      คณะนักแสดงเพลงอีแซว โรงเรียนเลาขวัญราษฎร์บำรุง (ครั้งที่ 1)

-      คณะนักศึกษา ปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

-      โน้ต-อุดม แต้พานิช มาฝึกหัดร้องเพลงแหล่ ด้นกลอนสด ก่อนเดี่ยวไมค์ 7

-      คณะนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

-      คณะนักศึกษา (จำนวน 4 คน) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

-      คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (คณะที่ 1)

-      คณะนักศึกษา (จำนวน 7-8 คน) จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ฝึกหัดเพลงฉ่อย

-      คณะนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (คณะที่ 2)

-      คณะนักศึกษา เอกศิลปะ จากมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

-      คณะนักศึกษา เอกการพัฒนามนุษย์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

-      คณะนักศึกษาจากมกาวิทยาลัยราชมงคลวิทยาเขตสุวรรณภูมิ (ชุดที่ 2)

-      คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (ชุดหทัยกาญจน์ เมืองมูล)

-      คณะนักแสดงเพลงอีแซว โรงเรียนเลาขวัญราษฎร์บำรุง (ครั้งที่ 2)

-      คณะนักเรียน จากโรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม จังหวัดลพบุรี

-      นายกฤษณะ  อิ่มโม มาฝึกเรียนรู้พิธีทำขวัญนาค จากสมุทรสาคร

-      คณะครู อาจารย์ที่มาศึกษาดูงานโรงเรียน เยี่ยมห้องศูนย์การเรียนรู้เพลงอีแซว

 

บ้านเพลงอีแซวในโรงเรียน ยังได้ใช้เป็นสตูดิโอบันทึกเทปโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์หลายรายการ หลายครั้งที่ผู้ดำเนินรายการพิจารณาว่า ห้อง 512 เป็นศูนย์การเรียนรู้เพลงพื้นบ้าน เป็นสถานที่ที่อบอุ่นเหมือนบ้าน  ขอถ่ายทำรายการในห้อง 512 นี้ ได้แก่

-         รายการรอยไทย ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

-         รายการ 9 เกียรติยศ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

-         รายการฟ้าใสน้ำใจงาม ช่อง 5 

-         รายการความดีคู่แผ่นดิน ช่อง 5 (จำนวน 2 ครั้ง)

-         รายการด้วยลำแข้ง ช่อง 7 

-         รายการห้องข่าวสีขาว สทท.11 (จำนวน 4 ครั้ง)

-         รายการข่าวเยาวชน ช่อง ITV (จำนวน 2 ครั้ง)

-         รายการชุมชนสำราญ ช่องโทรทัศน์การศึกษา ETV (จำนวน 3 ครั้ง)

-         รายการศิลปวัฒนธรรมช่อง ทีวีไทย (ไทยPBS) จำนวน 3 ครั้ง

-         รายการศิลปะพื้นบ้าน โทรทัศน์ดาวเทียม ช่องเท็นทีวี (2 ครั้ง)

-         รายการเพลงพื้นบ้าน ช่องโชว์ ช่องที่คุณจะไม่ลืมความเป็นไทย (2 วัน)

-         รายการศิลปะพื้นบ้าน เคเบิลทีวี ช่อง 10 บันทึกรายการเพลงพื้นบ้านผสมผสานกับการแสดงศิลปะป้องกันตัว

-         เป็นสถานที่นัดพบของนักเพลงเยาวชนรุ่นเก่า มาเยี่ยมเยือนรุ่นน้อง

 

               

         บ้านเพลงอีแซวในโรงเรียน ของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 จึงกลายเป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ การศึกษาและเผยแพร่วัฒนธรรมไทยด้านเพลงพื้นบ้านโดยแท้ และเป็นที่รวมพลังของคนรักเพลงพื้นบ้าน ได้มาเยี่ยมชม มาเรียนรู้ มาฝึกหัดเพลงอีแซว เพลงฉ่อย ลำตัด เพลงแหล่ และเรียนรู้พิธีทำขวัญนาคของคนรุ่นใหม่อย่างไม่ขาดสาย

 

(ติดตาม บ้านเพลงอีแซวในโรงเรียน ตอนที่ 5  ที่พักพิงเมื่อยามเหนื่อยใจ)

หมายเลขบันทึก: 280691เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2009 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท