เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ตอน 5


การบริหารจัดการองค์กรและการจัดการความรู้ (30)

มหาวิทยาลัยมหิดล  โดย รศ.นพ.อภิชาติ  ศิวยาธร  รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพงาน  คณะแพทยศาสตร์  ศิริราชพยาบาลขณะนั้น  ได้ใช้การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพองค์กรมาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน  การแสวงหา Best Practice สามารถสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติได้อย่างเข้มแข็ง  ปัจจุบันได้ขยายผลไปในทุกคณะ/หน่วยงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง R2R (Routine to Research) ที่เรียกว่าโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย  พันธกิจขององค์กรและสังคม  โดยมีการสนับสนุนและการบริหารจัดการที่เหมาะสม  เกิดการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรในการบริการสุขภาพและการวิจัย  และเกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการบริการสุขภาพ  ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพต่างๆ ให้สามารถพัฒนางานประจำของตนเองสู่งานวิจัยในระดับบุคคล  ในระดับวิจัยสถาบัน  และขยายผลสู่ระดับชาติต่อไปได้เป็นอย่างดี  ในระยะแรกมุ่งเน้นที่กลุ่มเป้าหมาย  3  กลุ่ม  คือ  กลุ่ม Care team เพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล  กลุ่มภาควิชา  เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน  และกลุ่มเฉพาะเจาะจงเพื่อสนับสนุนกลุ่มนักวิจัย  ด้วยระบบสนับสนุนที่มีที่ปรึกษากลุ่ม  การจัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการวิจัย  การเผยแพร่ความรู้และจัดเวทีกิจกรรมเป็นระยะ  ขณะนี้ถือได้ว่าคณะแพทยศาสตร์  ศิริราชพยาบาล  ใช้หลักการจัดการความรู้ในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยได้เป็นอย่างดี  เกิดชุมชนนักปฏิบัติขึ้นอย่างมากมาย  เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปัจจุบันการจัดการความรู้ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในคณะและหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะแพทยศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี  คณะสาธารณสุขศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์  และสำนักหอสมุด  ภายใต้ความรับผิดชอบของ ศ.นพ.ประสิทธิ์  วัฒนาภา  รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและทรัพยากรบุคคล  ในฐานะ  "คุณเอื้อ"  ในปัจจุบัน  ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลสู่การเรียนรู้ขององค์กรด้วยการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย  เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยในระดับ TOP 100 ของโลก  โดยมีสำนักพัฒนาคุณภาพเป็นแม่งานสนับสนุนที่สำคัญ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ริเริ่มนำการจัดการความรู้ใช้ในกระบวนการพัฒนาองค์กรได้อย่างชาญฉลาดโดยรองศาสตราจารย์สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์  รองอธิการบดีฝ่ายบริหารในขณะนั้น  โดยมุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นหลักธรรมาภิบาล  ซึ่งต้องอาศัยการสร้างทีมและมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งด้วยการจัดการอบรมอาจารย์และพนักงานให้เข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้  จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่แนวทางการปฏิบัติงานที่ดีเป็นรุ่นอย่างต่อเนื่อง  เพื่อสร้างค่านิยมหรือความเชื่อที่มีต่อการจัดการความรู้ว่าจะสามารถนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้เป็นประโชยน์ต่อการพัฒนาศักยภาพให้เกิดขึ้นในองค์กร  เพื่อที่จะนำไปขยายผลในหลากหลายหน่วยงานและหลากหลายหน้าที่ตามกลุ่มต่างๆ  เช่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานดี  โดยเริ่มจากพนักงานสายสนับุสนุนก่อนขยายผลไปยังสายวิชาการ  สนับสนุนให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติและเสริมสร้างเครือข่ายซึ่งกันและกัน  เช่น  ชุมชนคน e-office  ชุมชน Healthy Workplace ชุมชนเครือข่ายงานบุคคล  และชุมชนคนพัสดุ  เป็นต้น  อาศัยที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบุคลากรประกอบด้วยคนรุ่นใหม่จำนวนมาก  เช่น  คุณนิรันดร์  จินดานาค  จากหน่วยพัฒนาองค์กร  เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และมีภาวะผู้นำ  เป็นวิทยากรกระบวนการ KM ที่ดี  มีความมุ่งมั่นและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว  สามารถคิดนวัตกรรมในการป้องกัน  ส่งเสริม  และพัฒนานักศึกษาได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้สำหรับในสายวิชาการยังได้  ผศ.ดร.วัลลา  ตันตะโยทัย  คณบดีสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์  ที่ชำนาญเรื่องการจัดการความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมาเป็นพลังช่วยขับเคลื่อนอีกแรงหนึ่ง  ปัจจุบัน ดร.กีร์รัตน์  สงวนไทร  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา  ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าใจ KM เป็นอย่างดีเข้ามารับผิดชอบแทน  ก็ยังสนับสนุนการใช้ KM ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างเต็มที่เช่นเดิม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดย รศ.ดร.พิศมัย  ศรีอำไพ  "คุณเอื้อ"  ในขณะนั้นสนับสนุนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน  พัฒนางาน  พัฒนาฐานความรู้ของมหาวิทยาลัยไปสู่องค์แห่งการเรียนรู้และองค์กรนวัตกรรม  โดยเริ่มใช้ในระบบประกันคุณภาพเช่นเดียวกัน  โดยใช้ "โมเดลปลาทู"  เป็นกรอบแนวทาง  จัดตั้งทีมงานและชี้แจงทำความเข้าใจขยายผลไปยังคณะหน่วยงานต่างๆ ต่อมายิ่งมีการนำการจัดการความรู้มาใช้งานที่เข้มข้นขึ้นภายหลังจาก รศ.นพ.จิตเจริญ  ไชยาคำ  จากคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาช่วยงานที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เนื่องจากเป็นผู้ที่ชำนาญและเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เนื่องจากเป็นผู้ที่ชำนาญและเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เนื่องจากเป็นผู้ที่ชำนาญและเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยผู้หนึ่ง  ในวงการเรียกว่า "JJW  ภายใต้หลักการ MSU-ABC Square Model  ที่ดำเนินการผ่านระบบประกันคุณภาพ (Assurance) เพื่อก้าวสู่ TQA  ในอนาคต  ทีมงานจัดการความรู้ (Backup) และเรียนรู้จาก Best Practice และส่งเสริมความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน (Collaboration) เพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) การส่งเสริมสมรรถนะ (Competency) และค่านิยมหลัก (Core Value) ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบประกันคุณภาพควบคู่กับการจัดการความรู้ให้แก่หน่วยงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง  ทั้งในระดับคณาจารย์  ผู้ปฏิบัติงาน  ตลอดจนนักศึกษา  นอกจานี้ยังมีความพยายามสร้างเครือข่ายในรูปแบบ Mini-UKM  กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยนครพนม  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  และมหาวิทยาลัยพายัพ  เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มเติม

มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม  โดยอาจารย์ ดร.ทองม้วน  นาเสงี่ยม  "คุณเอื้อ" แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพียงแห่งเดียวที่เป็นสมาชิกใน UKM พยายามนำการจัดการความรู้มาใช้ในระบบประกันคุณภาพและกิจกรรมหลายๆ อย่างของมหาวิทยาลัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคณาจารย์รุ่นใหม่  แม้ว่าจะมีข้อจำกัดหลายๆ ของมหาวิทยาลัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคณาจารย์รุ่นใหม่  แม้ว่าจะมีข้อจำกัดหลายประการ  แต่ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่น  จะสามารถใช้การจัดการความรู้ก่อให้เกิดประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน

ในการประชุมคณะกรรมการที่เรียกว่า Business Meeting นั้น  มีการวิพากษ์วิจารณ์ให้ข้อคิดเห็น  และให้ข้อเสนอแนะต่อการจัดงาน UKM ไว้อย่างน่าสนใจว่า รูปแบบการจัด UKM ที่ดีควรเป็นอย่างไร  การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องความสำเร็จที่ดีควรเตรียมตัวอย่างไร  สิ่งที่ชาว UKM จัดแล้วสามารถนำไปปรับใช้กับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งได้จริงหรือไม่  หรือเป็นเพียงแต่พิธีการที่ต้องมาพบกันทุก 3 เดือนเท่านั้น  ผู้ได้รับประโยชน์คือ ผู้มาประชุม  ผลของการประชุมในแต่ละครั้งนำไปสู่การปรับปรุงรูปแบบเพื่อไม่ให้มีกฎเกณฑ์ตายตัวเสมอไป  มหาวิทยาลัยควรเตรียมตัวและชี้แจงแก่สมาชิกที่จะเข้าร่วมงานก่อนที่เรียกว่า  BAR (Before Action Learning) เพื่อทำความเข้าใจและซักซ้อมสิ่งที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนต่างมหาวิทยาลัยภายใต้เวลาที่กำหนด  และเมื่อเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว  ควรจัดกิจกรรมที่เรียกว่า  AAR (After Action Review) ว่าสิ่งที่ได้รับประโยชน์เป็นไปตามความคาดหมายมากน้อยแค่ไหน  และจะสามารถปรับใช้กับตนเองและหน่วยงานได้อย่างไร  ผลของการประชุมที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือ การจัดกิจกรรมในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน  เช่น ในปี พ.ศ. 2551  กำหนดในเรื่อง  การวิจัยเพื่อพัฒนางานเป็นตัวนำ  ดังนั้นการประชุมครั้งที่ 12 ประชุมเรื่อง R2R  ครั้งที่  13  ประชุมเรื่อง  การนำการวิจัยไปใช้ประโยชน์  และร่างการประชุมครั้งที่ 14 ประชุมเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น

การบริหารจัดการองค์กรและการจัดการความรู้ (รวมบท)

เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย  ตอน 1  ตอน 2  ตอน 3  ตอน 4  ตอน 5  ตอน 6

หมายเลขบันทึก: 280634เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2009 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท