วิธีเซ็นรับรองสำเนาเอกสารสำคัญ


          เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดี  นำเอาเอกสารสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาเอกสารสำคัญอื่นๆ จากการเซ็นรับรองของเราไปทำประโยชน์ส่วนตน และสร้างหนี้ที่เราไม่ได้ก่อ ดังนั้นหากท่านต้องเซ็นเอกสารรับรองสำเนาเมื่อใด..........โปรด

อย่าลืม ... และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้นะคะ...

  1. ทุกครั้งหลังจากเซ็นชื่อ และเขียนรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว ต้องเขียนรายละเอียดกำกับไว้ด้วยว่า..เอกสารฉบับนั้นใช้สำหรับทำอะไร เช่น "ใช้เฉพาะสมัครงานเท่านั้น"
  2. นอกจากกำกับรายละเอียดการใช้แล้ว ยังต้องกำกับ วัน/เดือน/ปี เขียนลงบนสำเนาที่ใช้ด้วยนะคะ ซึ่งนั่นจะช่วยกำหนดอายุการใช้งานสำเนาของเราได้
  3. ต้องเขียนข้อความทั้งหมดทับลงบนสำเนาส่วนที่เป็นบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาเอกสารอื่นๆ ที่สำคัญ
  4. เซ็นเอกสารด้วย ปากกาหมึกสีดำเท่านั้น ถึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะเครื่องถ่ายเอกสาร บางเครื่อง สามารถถ่ายเอกสารโดยดึงหมึกสีน้ำเงินออก เหลือใช้เฉพาะข้อความของบัตรประชาชน แล้วทำให้มิจฉาชีพ เซ็นเอกสารบัตรประชาชนนั้น แทนเราได้เลย   
หมายเลขบันทึก: 280207เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะ...สำหรับคำแนะนำเรื่องการรับรองสำเนา...ครูนกใช้อยู่บ่อยครั้งแต่ยังไม่รอบคอบตามคำแนะนำเลยค่ะ..ต่อไปจะนำไปใช้ค่ะ

รอบคอบดีมากเลยค่ะ อาจารย์ ขอบคุณมากๆค่ะ เพราะที่ผ่านๆมาไม่เคยทำเลย ต่อไปนี้จะพยายามถือปฏิบัติให้เป็นนิสัย และบอกต่อๆไปด้วยค่ะ บันทึกนี้ทำให้ได้ฉุกคิด เพราะธรรมดาเซ็นชื่อเฉยๆก็รู้สึกขี้เกียจแล้ว ตอนนี้คิดได้แล้วว่า เอกสารพวกนี้เป็นของสำคัญจริงๆ ไม่ใช่เฉพาะในตัวเอกสารอะไรต่างๆ ที่ปกติก็จะไม่เซ็นอะไรโดยไม่ได้อ่านรายละเอียดอยู่แล้ว แต่ลืมคิดถึงความสำคัญของใบสำเนาพวกนี้ไปเลย เหลือเชื่อความคิดตัวเองจังเลยค่ะ ฝากกอดมาแน่นๆแทนคำขอบคุณหนึ่งทีด้วยนะคะ

ขออนุญาตเสริมนิดหนึ่งค่ะ...

1.กรณีบัตรที่มีรูปรวมอยู่ด้วย เช่น บัตรประชาชน เวลาเราจะขีดทับข้อความขอให้ขีดทับรวมรูปไปด้วย เพราะว่า อาจ"เอาหน้าคนอื่นใส่แทนเรา"... (รายการตามล่าหาความจริง เคยนำเสนอการทำเอกสารปลอมในการกู้ยืมเงินประกอบค่ะ)

2.ถ่ายสำเนาอย่างชัดๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างว่า เอกสารชุดเดิมนั้น ไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้นจึงควรขอเอกสารชุดเดิมมาก่อน แล้วทำลายทิ้งด้วยค่ะ

~ ด้วยความเป็นห่วงทุกคนเช่นกัน... เพราะฉะนั้น เราจึงต้องป้องกัน"ความเสี่ยง" ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวเสมอค่ะ ~

    ขอบคุณครับ สำหรับเรื่องที่เป็นประโยชน์ และเรามักมองข้ามจึงเป็นช่องทางให้ผู้ที่คิดไม่ชอบนำเอกสารของเราไปหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ แล้วเราก็จะเสียหายในภายหลัง

 

คิดถึงค่ะ

ข้อความนี้ถึงท่านคณบดีโดยเฉพาะ

(สำเนาถูกต้อง)

น้าอึ่งอ๊อบ

7 สิงหาคม 2552

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ ม.นเรศวร

เป็นความรู้ที่ทำให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท