ตัวอย่างผลงานวิจัยประเภทต่าง ๆ(18-19 ก.ค.52)


งานวิจัยมีหลายประเภท มีจุดมุ่งหมายและคำถามวิจัยที่แตกต่างกัน

        เมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2552 ได้ไปทำหน้าที่อาจารย์ในการสัมมนาเสริมนักศึกษาปริญญาโทที่เรียนวิชา 24701 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา ที่ มสธ. เมืองทอง นนทบุรี  ในการนี้ นักศึกษาที่เข้าร่วมสัมมนาได้นำผลงานวิจัยมานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เห็นว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วไป จึงได้นำเสนอไว้ในที่นี้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 

กลุ่ม พัฒนาสื่อประกอบการสอน

1.   การพัฒนาแบบฝึกทักษะหลักเกณฑ์ทางภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ปริศนา  พลหาญ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,2549)

2.   การสร้างนวัตกรรมสื่อภาพนูนประกอบกิจกรรมทางกายในการเรียนการสอนพลศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น(ทองย้อย เชียงทอง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551)

3.   การพัฒนาแบบวัดคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดจันทบุรี(เทวินทร์ พิศวง,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547)

4.   การสร้างแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(จรัญ  ไชยศักดิ์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540)

5.   การพัฒนาแบบประเมินคุณภาพภายนอกด้านกระบวนการ ตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(อนงนาฏ ใบแสง   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,2545)

6.   การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ วิชาลูกเสือ เรื่อง การผูกเงื่อนและระเบียบแถว สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (สัณหกช สัมมาชีพ, มศว., 2549)

กลุ่ม พัฒนารูปแบบ/ระบบ/กระบวนการปฏิบัติงาน  กระบวนการสอน/วิธีสอน

1.   การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์(บังอร  ภานุสี,ม.ขอนแก่น, 2543)

2.   การพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพมหาบัณฑิต วิชาเอกการประเมินการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(ญาดา มุมบ้านเซ่า,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546)

3.   การพันขาเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำหลังฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยสูงอายุที่รับการผ่าตัดบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์(วิริยา ถิ่นชีลองและคณะ, ม.ขอนแก่น  2546)

4.   การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง(ปารมี สัมฤทธิ์สุทธิ์  มศว,2551)

5.   การใช้จิตบำบัดกลุ่มในการส่งเสริมความหวังขอผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี(ชลธิดา  สิมะวงศ์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545)

6.   การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย แบบกระบวนการกลุ่มร่วมมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะและแผนที่ความคิด เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(ชาลิสา พรหมหรรษ์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,  2548)

กลุ่ม  การศึกษาเชิงบรรยาย การสำรวจ

1.   Autonomous Reading in a Foreign  Language Classroom(Wattana  klinchoo  ;  Victoria University of Wellington,1996)   : ศึกษาระดับความมุ่งมั่นสู่เป้าหมายในโครงการอ่านด้วยตนเองอย่างอิสระ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของไทย

2.   Attitude and Knowledge of Physicians and Nurses  Toward Cancer Pain Management in Khon Kaen Hospital ( ปานใจ  อินพุ่ม และ มลิวัลย์ ภักดีนวล   โรงพยาบาลขอนแก่น  , 2008)

3.   การศึกษาปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด(มณฑา จำปาเหลือง, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2546)

4.   การศึกษาปฏิสัมพันธ์ภายในห้องเรียน  กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุพรรณบุรี(Chayanan Kohkaew;2004)    มุ่งศึกษาปฏิสัมพันธ์ภายในห้องเรียนตามแนวคิดของ Flander (Flander Interaction Analysis System)

 

กลุ่ม ศึกษาเชิงสหสัมพันธ์  พัฒนาตัวชี้วัด  ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพงาน

1.   A Study of Selected Factors  Affecting Perceived Science Classroom Climate  of Secondary School Student in Thailand(Ravewan  Sovajusstogul;  University of Missouri-Columbia;1979)

2.   ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษาวิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษาในภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย(ปรียาพร ชูเอียด,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,2550)

3.   การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการถอดท่อหายใจ หลังการผ่าตัดสมอง ในโรงพยาบาลศิริราช(วรรณา ศรีโรจนกุล และ คณะ, มหาวิทยาลัยมหิดล , 2551)

4.   การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง(ปาริชาติ  ตุลาพันธ์,  มสธ.,  2550)

 

กลุ่ม การวิจัยเชิงประเมิน  ศึกษาผล ปฏิกิริยาตอบสนองในเรื่องใด ๆ

1.   การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย( สุพัตรา สุขสันต์,  มสธ. , 2546)

2.   The Classroom as a learning Community?  Voices from  Postgraduate  Students at a New Zealand University( Chunying (Diane) Huang  ;    AUT  University)

 

   ขอขอบคุณนักศึกษาที่เข้าร่วมสัมมนา ที่นำผลงานวิจัยเหล่านี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย คุณเกรียงศักดิ์ จูเลิศตระกูล   คุณสุธน  แท่นทรัพย์   รอ.หญิง วินิตา กุลสุขทวี   คุณสิริพร ประสานแก้ว   คุณศุภชัย สระพรหม  คุณสุนันทา นาคจู   คุณ ภัทิภา สุขโสภี  คุณสุภิญญา  ติวิรัช    คุณสุคนธรส เทียนวรรณ์   และ คุณจิรนันท์  นุ่นชูคัน

 

หมายเลขบันทึก: 279811เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท