โรงเรียนบ้านครัว(ซิเมนต์ไทยสงเคราะห์)
โรงเรียนบ้านครัว(ซิเมนต์ไทยสงเคราะห์) บ้านหมอ สระบุรี

“บวก ลบ คูณ หาร เป็นพื้นฐานของวิชาคณิตศาสตร์”


ผู้เรียนบวก ลบ คูณและหารเลขได้คล่องแล้ว การเรียนเนื้อหาอื่นๆจะมีปัญหาน้อยลง ผู้เรียน เรียนไปกับเพื่อนที่เก่งกว่าได้ ผู้เรียนจะเรียนอย่างมีความสุข เรียนได้ทันเพื่อน

บวก ลบ คูณ หาร เป็นพื้นฐานของวิชาคณิตศาสตร์

                จากการปฏิบัติหน้าที่ครูวิชาการ และครูผู้สอนวิชาคณิตสาสตร์มากกว่า 30 ปี การสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้ได้ผลดี ครูจะต้องสำรวจสภาพปัญหาและพื้นฐานของผู้เรียนก่อน โดยเฉพาะพื้นฐานการบวก ลบ คูณ และหาร ทั้งนี้ผู้เรียนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องท่องแม่สูตรคูณได้ หลังจากนั้นครูต้องกำหนดจุดเน้นและกำหนดเป้าหมายของแต่ละวิชาที่สอน

                พอทราบปัญหาของผู้เรียน ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเห็นทุกปีที่ผู้เรียนเลื่อนชั้นขึ้นมามักจะคูณและหารไม่ถูกต้อง ท่องสูตรคูณไม่ได้ ได้แก้ปัญหาให้ผู้เรียนมาท่องสูตรคูณให้ฟังทุกวัน พร้อมทั้งสอนเรื่องการคูณ การหารตามลำดับ โดยให้รู้จักความหมายของการคูณและการหาร(ให้ผู้เรียนทำเรื่องคูณก่อนจนคล่องแล้วจึงทำเรื่องการหาร) แล้วให้ตัวอย่างการคูณวันละ 1 2 ตัวอย่าง ให้ผู้เรียนฝึกทำบนกระดานดำบ้าง ทำลงในสมุดบ้าง ให้เป็นการบ้านบ้าง ประมาณวันละ 2 3 ข้อ พอไม่ให้ผู้เรียนเบื่อ โดยเริ่มจากง่ายๆ ไปหายาก บางครั้งให้ช่วยกันคิด (คิดใครคิดมัน) แล้วเปรียบเทียบคำตอบกับ ถ้าได้คำตอบที่แตกต่างกันให้ช่วยกันตรวจสอบทีละตัวคูณและตัวหาร ว่าของใครเกิดการผิดพลาดแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้มาถามครูหรือเพื่อนที่เรียนดีกว่าเรา ทำเช่นนี้บ่อยๆ จนผู้เรียนคูณ หาร คล่อง แล้วจึงเพิ่มเนื้อหาให้มีความยากมากขึ้นสลับซับซ้อนมากขึ้นไปจนถึงการแก้โจทย์ปัญหา ถึงแม้ว่าต้องใช้เวลานานก็ตาม ดีกว่าปล่อยให้ผู้เรียนมาเรียนโดยไม่ได้อะไรเลย

ผลที่ได้รับ

1.       ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข

2.       ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

3.       ผู้เรียนมีความตั้งใจและขยันมาโรงเรียน ไม่ขาดเรียน

4.    ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

นายสุรชาติ     เดชผดุง
ครู คศ.3
โรงเรียนบ้านครัว(ซิเมนต์ไทยสงเคราะห์)
สำนักเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1

 

หมายเลขบันทึก: 279729เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จะทดลองทำบ้างค่ะ

ขอบคุณแนวคิดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท